29 ธันวาคม 2558 เวลา 18.00 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล / พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานเนื่องในโอกาส ครบ “1 ปี การดำเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม” โดยมี ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีตลอดจนคณะผู้บริหารจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจพร้อมสื่อมวลชน ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมแสดงผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ตลอดจนประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมียอดขายที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาช่องทางธุรกิจ การตลาด การเพิ่มอัตรากำลังการผลิตที่มีผลสำเร็จจากการร่วมงาน “นวัตกรรมและเทคโนโลยีไทยเพื่อ SMEs” เมื่อวันที่ 3-25 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมาอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมงานเพื่อถ่ายภาพร่วมกับนายกรัฐมนตรี และผู้บริหารกระทรวงต่างๆ เป็นที่ระลึกเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ และประชาชนทุกหมู่เหล่าด้วย
![]() |
|
![]() |
![]() |
ตามที่ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่เกษตรกรและผู้ผลิตในท้องถิ่น โดยมีนโยบายจัดโครงการตลาดนัดสินค้าชุมชนข้างทำเนียบรัฐบาล ริมคลองผดุงกรุงเกษมนั้นเพื่อมุ่งให้สินค้าเกษตรและชุมชนได้มีโอกาสในการกระจายสินค้าที่กว้างขวาง พร้อมทั้งช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้มีแหล่งจำหน่ายสินค้าและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมจัดกิจกรรมที่น่าสนใจและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและต่อเนื่องมาโดยตลอด ปัจจุบันการดำเนินงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ได้มีการขยายผลไปสู่การจัดตลาดนัดในลักษณะเดียวกันในภูมิภาคต่างๆ และ 4 มุมเมืองของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามดำรินายกรัฐมนตรี โดยกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีตลาดนัดชุมชน 4 ภาค ภาคเหนือที่จังหวัดตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคใต้ที่จังหวัดกระบี่ และภาคกลางที่จังหวัดราชบุรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรุงเทพ มหานครรับผิดชอบดำเนินการขยายสู่ปริมณฑลรอบกรุงเทพมหานครใน 4 มุมเมือง อีกทั้งในปี 2559 ยังคงมีการดำเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษมอย่างต่อเนื่อง โดยได้กำหนดแผนการดำเนินงาน ระยะ 6 เดือนแรก ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน 2559 โดยมีกระทรวงต่างๆ รับเป็นเจ้าภาพ
![]() |
![]() |
และเมื่อวันที่ 3-25 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการได้ขานรับนโยบายของรัฐบาล โดยมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด เข้าร่วมจัดนิทรรศการภายใต้ชื่อ“นวัตกรรมและเทคโนโลยีไทยเพื่อ SMEs” เพื่อหวังช่วยสนับสนุนพร้อมส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าต่าง ๆ ได้มีช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าโดยตรงไปยังผู้บริโภคมากขึ้น รวมถึงประชาชนทั่วไปและผู้สนใจก็สามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึง โดยการนำศักยภาพที่มีอยู่มาผนวกกับองค์ความรู้ด้าน วทน. ที่เกิดจากงานวิจัยและพัฒนาในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต สินค้า และบริการที่ทันสมัย ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ต่างๆ
![]() |
|
![]() |
![]() |
ทั้งนี้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและสามารถสร้างยอดขายเกินความคาดหมายมากกว่า 1.5 ล้านบาทต่อเดือน และมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 500% คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Zen Cordyreishi สารสกัดจากเห็ดถั่งเช่าสีทอง และเห็ดหลินจือ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย และโรคระบบทางเดินหายใจ บำรุงสุขภาพได้ทั้งชายและหญิง ต้านการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรีย ระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยในเรื่องความตื่นตัวกระปรี้กระเปร่า ต่อต้านความเครียด ทั้งยังมีผลต่อการขยายหลอดเลือด ลดการทำลายของสารอนุมูลอิสระที่ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัวของระบบประสาท มีเกลือแร่สูงและเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ นอกจากนี้ เห็ดถั่งเช่าสีทอง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และอังกฤษ ได้ให้ความสนใจและอยู่ระหว่างการเจรจาการค้าเพื่อส่งออกอีกด้วย
ถัดมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจอีกไม่น้อย คือ กาแฟผสมน้ำตาลโตนด “Deris” เจ้าแรก และเจ้าเดียวที่ใช้ความหวานจากน้ำตาลโตนด ผสมผสานกับกาแฟให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นเพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างจุดเด่นให้กับตัวผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน อย. และ ฮาลาล ที่ผ่านการบ่มเพาะธุรกิจจากอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยกาแฟผสมน้ำตาลโตนด ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากผนวกกับมียอดขายปลีกเพิ่มขึ้นเป็น 30% และมียอดขายส่งเพิ่มขึ้นเป็น 20% นอกจากนี้ ยังมีตัวแทนจำหน่ายที่รับกาแฟไปขายสามารถขยายฐานการผลิตเพิ่มจากเดิม 10,000 ซองต่อวัน เป็น 15,000 ซองต่อวัน เพื่อรองรับลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศรวมถึงส่งออกไปยังประเทศจีน และขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการวางแผนส่งออกไปยังประเทศอินเดีย และประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนอื่นๆ
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
นอกจากนี้ ความสำเร็จของ “ถุงมือผ้าเคลือบยางพารา” ยังจัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถแปรรูปจากยางพาราทำเป็นผลิตภัณฑ์ถุงมือผ้าเคลือบน้ำยางออกขายสู่ตลาดสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่น้ำยางสดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในสภาวะที่ยางพารามีราคาตกต่ำ โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้พัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบและออกแบบบรรจุภัณฑ์ จนได้ถุงมือผ้าเคลือบยางที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางที่บ้านเหนือคลอง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี กลุ่มวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มชาวสวนยางบ้านในสวน 2556” ซึ่งภายหลังที่ได้ร่วมงาน “นวัตกรรมและเทคโนโลยีไทยเพื่อ SMEs” ณ ตลาดคลองผดุงฯ ส่งผลให้ “ถุงมือผ้าเคลือบยางพารา” มียอดขายสูงสุดต่อวันถึง 300 คู่ คิดเป็นรายรับ 10,000 บาทต่อวัน มีลูกค้าให้ความสนใจจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์งานในหลายช่องทาง อีกทั้ง หน่วยงานภาครัฐได้เริ่มเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดต่อกับโรงงานต่างๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดที่หลากหลายต่อไป
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
![]() |
![]() |
ข่าวโดย : นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์
ภาพข่าว : นายรัฐพล หงสไกร และ นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 02-333-3700 ต่อ 3728 – 3732 โทรสาร 02 -333 -3834
E-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313