
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้จัดแพคเกจของขวัญปีใหม่ตอบสนองในทุกมิติ เริ่มจากการให้บริการ เอาใจเอสเอ็มอีและชุมชน ด้วยการ ลดค่าธรรมเนียมการให้บริการทดสอบ สอบเทียบแบบเบ็ดเสร็จ 20% จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2559 ซึ่งรวมบริการทดสอบ สอบเทียบจากห้องปฏิบัติการของหน่วยงานในสังกัด 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
นอกจากนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้มอบคูปองนวัตกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถของเอสเอ็มอีไทยสู่ประชาคมอาเซียนระยะที่ 2 เพื่อสนับสนุนเงินให้เปล่าเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่า โดยจะมอบคูปองนวัตกรรมไปจนถึงเดือนมีนาคม 2560 อีกทั้งยังได้ระดมบุคลากรเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้บริการแก่ผู้ประกอบการผ่านระบบการสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ โดยนำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ไปใช้ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิตและยกระดับมาตรฐานผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาเทคโนโลยี เชื่อมโยงการบริการด้านการตลาดและการเงินผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการโอท็อป วิสาหกิจชุมชนใน 5 ภูมิภาค โดยการให้บริการดังกล่าวจะมีไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 ขณะเดียวกันกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ยังใช้นวัตกรรมเพิ่มมูลค่ายางพาราในรูปแบบของความงาม โดยเปิดโอกาสผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ามารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและซื้อสารสกัดไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2559 เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล
ดร.พิเชฐ กล่าวอีกว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสำคัญกับการสื่อสารด้วยระบบไอที จึงได้มอบแพลตฟอร์มสื่อสารสำหรับเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่ง (Network Platform for Internet of Everything : NETPIE) ในรูปแบบของ Internet of Thing หรือ IoT เพื่อเพิ่มทักษะการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ผสมผสาน เป็นการสร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมของไทย สร้างชุมชนนักพัฒนาและสร้างบุคลากรที่มีทักษะด้านการพัฒนานวัตกรรม IoT ในประเทศไทย โดยจะเปิดให้บริการฟรีสำหรับนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการศึกษาวิจัย ทำโครงงาน หรือวิทยานิพนธ์ นักพัฒนา นักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://netpie.io นอกจากนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมกบธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ได้มอบนวัตกรรมชุดเลนส์มิวอาย ประกอบด้วยเลนส์มิวอายและฐานรองรับวัตถุแบบประกอบด้วยตัวเอง ให้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์ รุ่นเยาว์ และ โครงการไอทีวัลเล่ย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โรงเรียนและนักเรียนในโครงการไอทีวัลเล่ย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โรงเรียนทั่วประเทศ 135 โรงเรียน 2 โรงเรียนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 13 โรงเรียน โดยเลนส์มิวอายนั้นมีความสามารถในการเพิ่มศักยภาพให้กับกล้องที่ติดมากับอุปกรณ์พกพา เช่น แท็บเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือในการบันทึกภาพของวัตถุขนาดเล็กได้ง่ายขึ้น เปลี่ยนอุปกรณ์พกพาดังกล่าวให้เป็นกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพา ทดแทนกล้องจุลทรรศน์ที่มีจำนวนจำกัด
กระทรวงวิทยาศาสตร์ ยังได้ผลิตสื่อการเรียนรู้เรื่องการผลิตสารกรองสนิมเหล็กในน้ำในการผลิตเครื่องกรองน้ำในชุมชน เพื่อการอุปโภคบริโภค โดยประชาชนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการผลิตเครื่องกรองน้ำและผลิตสารกรองสนิมเหล็กด้วยตนเองสำหรับใช้ในครัวเรือน โดยประสานงานกับองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อมอบสื่อการเรียนรู้ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2559 นอกจากนี้ยังแจกจ่ายสารละลายไคโตซานฉายรังสีให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครนายกจำนวน 2,559 ราย เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและช่วยลดต้นทุนในการเพาะปลูก นอกจากนี้ยังจัดทำแผนที่แหล่งน้ำ แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำเกษตร วางแผนบริหารจัดการน้ำและเพาะปลูกตลอดปีและเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการใช้เครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดด้วยการเป่าลมหายใจ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้มอบเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ในลมหายใจแบบ Screening (SAM-05) ให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อนำไปช่วงเทศกาลปีใหม่ระหว่างวันที่ ธันวาคม 2558 – มกราคม 2559 นอกจากนี้ยังได้มอบสิ่งดี ๆ และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ป่วยที่สูญเสียฟัน โดยจะมอบรากฟันเทียม จำนวน 880 ราก เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 88 พรรษา โดยเสียเฉพาะค่าบริการจำนวน 20,000 บาทต่อซี่ ซึ่งจากราคาปกติที่ทำโดยทั่วไปราคาอยู่ที่ 45,000 บาท โดยไม่รวมค่าปลูกกระดูกและCT Scan โดยให้บริการที่ ศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง (ADTEC) รมว.วิทยาศาสตร์ กล่าว
ดร.พิเชฐ กล่าวอีกว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กหันมาสนใจวิทยาศาสตร์ฯมากขึ้น ในช่วงปีใหม่นี้ มีหลายโครงการที่จะคืนความสุขเป็นของขวัญ เริ่มตั้งแต่การมอบวามสุขให้เด็กด้วยการจัดงานวันเด็กอย่างยิ่งใหญ่ 5 สถานที่พร้อมกันได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตรืฯ ซ.โยธี ภายใต้ชื่อ ถนนสายวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำเนียบรัฐบาล สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกรมทรัพยากรธรณี พร้อมทั้งเชิญชวนคนไทย ตะลุยอวกาศ เปิดโอกาสให้กับประชาชนได้รับความรู้ และประสบการณ์แปลกใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพ ความรู้ ความสามารถและความเข้าใจ ซึ่งเป็นพลังสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนา เทคโนโลยีอวกาศของประเทศ ประชาชนทั่วไป 9 ม.ค. – 9 เม.ย. 59 ฟรี ณ Space Inspirium ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดนิทรรศการเพื่อมอบความสุขปีใหม่ให้ประชาชน เด็ก เยาวชน ได้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ในช่วงเดือนธันวาคม 2558 วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี - มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จ.สระแก้ว ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จ.ร้อยเอ็ดนอกจากนี้ยังเปิดให้เที่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฟรีพร้อมมอบของที่ระลึกสำหรับผู้เข้าชม ณ.พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ จามจุรี และยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องดาราศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมตั้งแต่การมอบกล้องโทรทรรศน์และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ให้แก่โรงเรียนต่างๆ รวมทั้งการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่ครูผู้สอน โรงเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ที่ขาดโอกาสในการศึกษา วิชาดาราศาสตร์ในจังหวัดต่างๆ จำนวน 100 โรงเรียน.อีกทั้งยังจัดมุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน เพื่อสนับสนุนชุดเรียนรู้ดาราศาสตร์พื้นฐานให้ห้องสมุดโรงเรียนทั่วประเทศเสริมสร้างทักษะ กระตุ้นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กระจายโอกาสแก่นักเรียนจำนวน 100 โรงเรียน โดยทั้งสองกิจกรรมีไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2559 และยังมีกิจกรรมเเปิดฟ้าตามหาดาวสำหรับประชาชน จัดกิจกรรมด้านดาราศาสตร์ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยการให้เข้าศึกษาดาราศาสตร์ในท้องฟ้าจำลอง การบรรยายด้านดาราศาสตร์ กิจกรรมดูดาว การตั้งกล้องสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในช่วงกลางคืน เป็นต้น นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ จ.นครราชสีมา และฉะเชิงเทรา
.jpg) |
.jpg) |
ส่งท้ายด้วยกิจกรรม ทางเดินสีเขียว “ย่านนวัตกรรมโยธี” โดยการสร้างทางเดินเชื่อมมีหลังคา “ย่านนวัตกรรมโยธี” เป็นการผสม ผสานและเชื่อมโยงความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนที่อยู่อาศัยในย่านโยธี โดยใช้อาคารอุทยานนวัตกรรมเป็นศูนย์ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ “ศูนย์นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (IOT Smart City Center)” ประชาชนที่อยู่อาศัยในย่านโยธีและราชวิถี จะเริ่มเห็นภาพช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 จะเห็นการสร้างทางเดินเชื่อมมีหลังคา เพื่อความสะดวกของประชาชนย่านนวัตกรรมต้นแบบ ที่สามารถขยายผลไปสู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้อย่างเป็นระบบ
ประสานงานได้ที่ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 02-333-3700 ต่อ 3727 – 3732 โทรสาร 02 -333 -3834
Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313