ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “มาตรฐานเครื่องมือแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงในธุรกิจ : ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย” มีผู้เข้าร่วมประชุม 150 คน จากบริษัทเครื่องมือแพทย์ และ สวทช. โดยมี รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และคุณณภัทร คุ้มชินโชติ ที่ปรึกษาบริษัท ซัน ลาโบลาโทลี่ จำกัด อยู่ร่วมด้วย ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552
ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีที่บริษัทเอกชน ได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทั่วโลก คิดว่าประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์สูงมาก จนมีคนพูดว่าประเทศไทยน่าจะเป็น Hut ทางการแพทย์ เชื่อว่าการสัมมนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือทางการ แพทย์ และมาตรฐานเครื่องมือทางการแพทย์ของประเทศไทย ปัจจุบันมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการแพทย์นอกจาก ISO 9000 ISO 10400 แล้วยังมียังมี มอก.ที่เป็นตัวเลขเทียบกับ ISO เกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ ได้แก่ 13485 ซึ่งต้องให้ทันกับมาตรฐานสากล เรื่องการแพทย์มีความละเอียดอ่อนและเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ นอกจากนี้ ยังต้องผ่านการรับรองด้านอื่น ๆ เช่น CE และ UL ซึ่งบ่งบอกได้ว่าผู้ประกอบการมีระบบการผลิตที่มีคุณภาพและทำตามมาตรฐานที่ กฎหมายสากลกำหนด การสัมมนาครั้งนี้จะเป็นการพัฒนาการสาธารณสุขของประเทศไทย
รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า สวทช. มีความยินดีที่ภาคเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการผลักดันให้เกิดมาตรฐาน และการสนับสนุนมาตรฐานของเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้ขีดความสามารถเทียบเท่ากับสากล ในการนี้ บริษัท ซัน ลาโบลาโทลี่ จำกัด ซึ่งเป็นผู้เช่าพื้นที่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ได้เป็นผู้ริเริ่มและจัดการสัมมนาในวันนี้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก สวทช.ได้ให้ความสำคัญและตลาดของอุตสาหกรรมมีการขยายตัว มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง ความกังวลเรื่องความปลอดภัยก็มีคู่กันไปด้วย ทำให้มาตรฐานเครื่องมือแพทย์เป็นประเด็นที่มีการควบคุมทั้งในเชิงกฎหมาย และกฎระเบียบต่าง ๆ พอสมควร
ในงานสัมมนานี้ หวังจะให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเหล่านี้ได้แพร่กระจาย โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานซึ่งมีความรู้ความชำนาญในการกำกับดูแล เครื่องมือแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ UL โดยความรู้นี้จะเป็นประโยชน์กับบุคลากรของ สวทช. และผู้ประกอบการที่อยู่ข้างนอกนำไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจต่อไป