กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน วศ./ก.วิทย์ หนุนผู้ประกอบการ OTOP ภาคใต้ สู่ความสำเร็จด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วศ./ก.วิทย์ หนุนผู้ประกอบการ OTOP ภาคใต้ สู่ความสำเร็จด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พิมพ์ PDF

 

           

         24 พฤศจิกายน 2558 - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ  จัดสัมมนาเชิง  ปฏิบัติการโครงการเสริมสร้าง ผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ก้าวไกลสู่ระดับสากลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง “สร้างคุณภาพสินค้า OTOP เพื่อรายได้ที่ ยั่งยืน” ครั้งที่ 1 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 350 คน ประกอบด้วยผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มจังหวัดภาคใต้ สาธารณสุขจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด  พัฒนาการจังหวัด เกษตรจังหวัด มหาวิทยาลัย และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 

       ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของไทยในภาคต่างๆ มีเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่โดดเด่นแตกต่างกัน เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ จึงมีส่วนช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสินค้าOTOP ประสบปัญหาหลายด้านตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนถึงการจำหน่าย และสินค้า OTOP ส่วนใหญ่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ต่างๆ ทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานอาหารและยา (อย.)  ปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ กรรมวิธีการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น

      การจัดงานสัมมนาครั้งนี้  กรมวิทยาศาสตร์บริการมุ่งเน้นขับเคลื่อนโดยนำผลงานวิจัยของกรมมาถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOPโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการชุมชน มุ่งให้เกิดการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในกลุ่มจังหวัด เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด และมีความต่อเนื่องครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ  เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการในจังหวัดหรือชุมชนส่งเสริมให้ได้รับความช่วยเหลือสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานได้อย่างเป็นรูปธรรมตรงตามความต้องการ  สามารถพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน  

 

    นอกจากการเข้าร่วมสัมมนาแล้วยังมีการประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และชี้แจงแนวทางปัญหาระหว่าง นักวิทยาศาสตร์และผู้ประกอบการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่  

      1.กลุ่มอาหาร และ เครื่องดื่ม เน้นให้ความรู้เรื่องคุณภาพสินค้า เกณฑ์มาตรฐานต่างๆ รวมถึงแนวทาง ขับเคลื่อนธุรกิจ OTOP

      2. กลุ่มของใช้  ของประดับตกแต่ง และของที่ระลึก เน้นให้ความรู้ในกระบวนการผลิต ส่งผลให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

   3.กลุ่มสินค้าฮาลาล เน้นให้ความรู้ด้านมาตรฐาน กฎระเบียบ ฮาลาลของประเทศไทยและโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ฮาลาล รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวข้องที่จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพให้แก่ภาคการผลิตในระดับอุตสาหกรรมและ SMEs ของภาคการผลิตในประเทศไทย ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

      4.กลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เน้นให้ความรู้สุขลักษณะในการผลิต การขอรับรองมาตรฐาน การควบคุม คุณภาพและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร

      5.กลุ่มห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบคุณภาพสินค้า OTOP เน้นให้ความรู้เรื่องข่าวสารต่างๆ เพื่อพัฒนา ระบบการบริหารงานคุณภาพและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการให้ได้มาตรฐานตามระบบสากล                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                ทั้งนี้นอกจากการเข้าร่วมสัมมนาแล้วผู้ประกอบการยังได้นำผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มเข้าร่วมจัดแสดงเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายหลากหลายทั้งกลุ่มอาหาร และเครื่องดื่ม กลุ่มของใช้  ของประดับ และของที่ระลึก กลุ่มผ้า และเครื่องแต่งกายกลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร  ซึ่งได้รับความสนใจและส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน อีกด้วย 

 

ข่าวโดย : จิตลดา คณีกุล

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2201-7098 โทรสาร 0 2201 7470  

 

เผยแพร่ข่าวโดย: นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์

ประสานงานได้ที่ : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : sciencethailand 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป