กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน มหกรรมวิทย์ฯ 58 โชว์ “ห้องรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์” ยืดอายุลำไยสดได้ 20 วัน ไม่ทิ้งสารตกค้าง เพิ่มมูลค่าส่งออก

มหกรรมวิทย์ฯ 58 โชว์ “ห้องรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์” ยืดอายุลำไยสดได้ 20 วัน ไม่ทิ้งสารตกค้าง เพิ่มมูลค่าส่งออก

พิมพ์ PDF

 อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท กลบ์ กฤษณ์ เอ็นจิเนียริ่งจำกัด ต่อยอดผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)    “ ระบบรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) กับผลิตผลเกษตรด้วยการบังคับอากาศแนวตั้ง”  โดยนำไปใช้กับผลลำไยสด  สามารถช่วยยืดอายุลำไยสดได้ถึง 20 วัน  นานขึ้น 3 เท่า ไม่ทิ้งสารตกค้าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนดชมสุดยอดเทคโนโลยีนี้ได้ในโซนเทคโนมาร์ท งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558 ณ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี

     นายวีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ลำไย เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญต่อการส่งออก ทำรายได้เข้าประเทศกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี โดยส่งออกในรูปลำไยสดมากที่สุด รองลงมาคืออบแห้ง แช่แข็ง และลำไยกระป๋อง ตลาดส่งออกหลักได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยตลาดจีนและฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 67 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกลำไยกระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แหล่งปลูกลำไยที่สำคัญคือจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ และน่าน นอกนั้นปลูกในภาคอื่นๆ เช่น เลย จันทบุรี และสระแก้ว


            วิธีการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวลำไยให้สามารถเก็บรักษาได้นาน ปกติจะใช้วิธีการรมควันผลลำไยด้วยควันกำมะถัน หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งจะช่วยรักษาสีของเปลือกลำไย และป้องกันเชื้อรา  ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไยสด ที่ส่งออกเกินกำหนด  สาเหตุอาจเกิดจากห้องรมควันที่ผู้ประกอบการใช้มีการกระจายของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่สม่ำเสมอทั่วห้องรมควัน  ทำให้ลำไยบางส่วนมีปริมาณสารตกค้างที่มากเกินไป และอาจเกิดจากวิธีการรมควันไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบการใช้สารกำมะถันในปริมาณมากเกินไป เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นาน ด้วยเหตุนี้ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ กระทรวงวิทยาศาสตรฯ จึงได้ร่วมกับสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  นำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาต่อยอดโดยใช้กลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ภายใต้แผนงานบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยผนวกองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรม  ความรู้ด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผล และองค์ความรู้ด้านบริหารธุรกิจ จนในที่สุดมีการกระจายเทคโนโลยีไปสู่ผู้ประกอบการอย่างแพร่หลาย สามารถสร้างห้องรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่สามารถควบคุมความเข้มข้นและจัดการเรื่องการกระจายตัวของแก๊สในห้องอบให้สม่ำเสมอได้  ลดการใช้กำมะถัน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถการส่งออกลำไยที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ     

  

            นายวีระพงษ์ฯ กล่าวต่อว่า ลำไยที่ผ่านการรวมควันด้วยวิธีนี้มีคุณภาพสูงและปริมาณสารตกค้างก็ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด   ยืดอายุการเก็บรักษาลำไยให้สดได้ถึง 20 วัน  และเพิ่มมูลค่าให้แก่ลำไย ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถือเป็นการช่วยเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย ผู้สนใจสามารถชมเทคโนโลยี ห้องรมแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 25 พ.ย. 58 ในโซนเทคโนมาร์ท งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

 

สื่อมวลชนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่   องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร  0-2577-9999

ติดต่อ        กองประชาสัมพันธ์  สำนักพัฒนาธุรกิจและการตลาด  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ  

                คุณพัชร์ชิสา (ปัญญ์) 094-486-5599 / คุณฐาปนี (เก๋ง) 085-772-9955 / คุณสุตานันท์ (กอล์ฟ) 089-499-5531

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558

คุณสุวรรณา (นา) 081-565-5540 / คุณพัสรา (ต่าย) 087-497-8183 / ดิศราพร  (ปุ๋ย)  T.086-985-6832

อีเมล: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


เผยแพร่ข่าวโดย: นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ

ประสานงานได้ที่ : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : sciencethailand 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป