กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน เนบิวลาสามแฉก ดาวเคียงเดือน ดาวหางเลิฟจอย หมู่ดาวกับทางช้างเผือก แสงออโรรา ฝีมือคนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ปี 2558

เนบิวลาสามแฉก ดาวเคียงเดือน ดาวหางเลิฟจอย หมู่ดาวกับทางช้างเผือก แสงออโรรา ฝีมือคนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ปี 2558

พิมพ์ PDF

 

     สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดพิธีมอบรางวัล “มหัศจรรย์ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์” เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ณ เวทีกลาง มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2558 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี นนทบุรี มี ดร.พิเชฐ  ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานพิธีมอบรางวัลฯ หวังสร้างบรรยากาศการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านการถ่ายภาพดาราศาสตร์

      ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกท่าน กิจกรรรมนี้เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้สังคมไทยได้เข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ภาพถ่ายเป็นเรื่องหนึ่ง ดาราศาสตร์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อนำทั้งสองมารวมกัน เราจะเห็นทั้งจินตนาการ ฝีมือ ที่แฝงไปด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ  ที่ทุกประเทศในโลกใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เยาวชนเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และใช้วิทยาศาสตร์เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

     ด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินการประกวดภาพถ่ายในปีนี้ กล่าวว่า สถาบันฯ ได้จัดการประกวดภาพถ่ายฯ ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักและความตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์เป็นสื่อ ส่งเสริมกิจกรรมการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ในประเทศไทย เสริมสร้างให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์ผ่านการถ่ายภาพ รวมทั้งเป็นการสร้างนักดาราศาสตร์สมัครเล่นให้มีจำนวนมากขึ้นอีกด้วย ปีนี้ นับเป็นปีที่ 8 ของการจัดประกวดฯ ที่ผ่านมามีผู้สนใจจากทั่วประเทศส่งภาพเข้าร่วมประกวดเพิ่มขึ้นทุกปี ในปีนี้มีผู้สนใจส่งเข้าประกวดมากกว่า 150 คน จำนวนภาพมากกว่า 350 ภาพ

     ดาราศาสตร์จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนหันมาสนใจวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์เป็นจุดเริ่มต้นของความสงสัยใคร่รู้ ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าชวนให้เกิดการตั้งคำถาม วิทยาศาสตร์ช่วยในการหาคำตอบ ภาพที่สวยงามบนท้องฟ้า ไม่เพียงแต่ความตระการตาเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดการต่อยอดการเรียนรู้อีกมากมาย ดร.ศรัณย์ กล่าวทิ้งท้าย

 

         นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ เจ้าของ 2 รางวัลชนะเลิศ จากผลงาน “เนบิวลาสามแฉก” (Trifid Nebula) ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก และ “ดาวหางเลิฟจอย” ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ กล่าวว่า ดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้คนหันมาสนใจวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กๆ เกิดคำถาม ว่าสิ่งที่เห็นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีที่มาที่ไปอย่างไร การถ่ายภาพเป็นเรื่องสนุก การสังเกตปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ เราไม่ได้เห็นเพียงความสวยงามเท่านั้น แต่ยังทำให้รู้ว่าบนท้องฟ้ายังมีอะไรให้ศึกษาอีกมากมาย

          นอกจากนี้ นายกีรติ คำคงอยู่ เจ้าของผลงาน “ดาวเคียงเดือน” รางวัลชนะเลิศประเภทปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ และ “ความยิ่งใหญ่แห่งขั้วฟ้าใต้” รองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก กล่าวว่า รู้สึกดีใจมาก เข้าร่วมรายการนี้เป็นปีที่ 4 แล้ว ภาพถ่ายเหล่านี้ทำให้เห็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ สามารถนำไปเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาหาความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับดาราศาสตร์ได้

 

ผลการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์” ปี 2558 มีดังนี้

1. ประเภท Deep Sky Objects

   รางวัลชนะเลิศ     นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์         ชื่อภาพ “The Trifid Nebula”

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   นายกีรติ คำคงอยู่            ชื่อภาพ “The Eta Carinae Nebula ความยิ่งใหญ่แห่งขั้วฟ้าใต้” 

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  นายบัญญัติ ช่วยคง           ชื่อภาพ “Andromeda”

   รางวัลชมเชย       นายสิทธิ์ สิตไทย                          ชื่อภาพ “ใจกลางทางช้างเผือก”

 

2.ประเภทปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์

   รางวัลชนะเลิศ     นายกีรติ คำคงอยู่                         ชื่อภาพ “ดาวเคียงเดือน ณ วัดวิหารทอง พิษณุโลก”

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   นายวิศว จงไพบูลย์          ชื่อภาพ “Geminids Meteor Shower”

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2   นายนภดล อินทร์พินิจ       ชื่อภาพ “จันทรุปราคาเหนือท้องฟ้าเมืองพิษณุโลก ปี 58”

   รางวัลชมเชย       นายสิทธิ์ สิตไทย                          ชื่อภาพ “Venus near Jupiter 2015”

3.ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ

   รางวัลชนะเลิศ     นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์         ชื่อภาพ “Comet Lovejoy C/2014 Q2”

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   นายสิทธิ์ สิตไทย            ชื่อภาพ “Mars Orbit near Earth 2014”

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2   นายกีรติ คำคงอยู่            ชื่อภาพ “ดาวหาง Lovejoy Q2 2014 in Thailand”

   รางวัลชมเชย       นางสาวปิ่นรัตน์ พรรณประดิษฐ์        ชื่อภาพ “Lunar Tycho Crater and the others.”

4.ประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์

   รางวัลชนะเลิศ   นายวิรัช  สวัสดี                               ชื่อภาพ “ดาวนับล้านกับทางช้างเผือกที่ดอยค้ำฟ้า”

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  นายทศพร สหกูล              ชื่อภาพ “มรดกโลกล้ำเลิศ”

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  นายอภิสิทธิ์ วิไลจิตต์         ชื่อภาพ “ธารสวรรค์”

   รางวัลชมเชย       นายณัฐภูมิ วิทวัสชุติกุล                  ชื่อภาพ “ยอยักษ์ยกช้าง”

 

5.ประเภทปรากฎการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก

   รางวัลชนะเลิศ   นายภรัณยู พิทยรังสฤษฏ์                  ชื่อภาพ “Elysium (สรวงสวรรค์)”

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  นายวิศว จงไพบูลย์           ชื่อภาพ “Crepuscular rays”

   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  นายประพนธ์ ลีนะกิตติ       ชื่อภาพ “Moon Dog ที่แม่เหียะ”

   รางวัลชมเชย       นายสุรเวช สุธีธร                          ชื่อภาพ “Going Home”

 

 

ติดตามภาพและรายละเอียดผลงานของผู้ได้รับรางวัลทุกท่าน ได้ที่ www.narit.or.th หรือ www.facebook.com/NARITpage

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

โทร. 053-225569 ต่อ 210, 081-8854353 โทรสาร 053-225524

Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313

E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

www.narit.or.th

www.facebook.com/NARITpage

 

twitter: @N_Earth

 

 
เผยแพร่ข่าว :  นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์
ประสานงานได้ที่ : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : sciencethailand 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป