กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน “สมคิด” ชู “มหาวิทยาลัย” ความหวังปั้นอินโนเวทีพ สตาร์ทอัพ ให้เวลาปีครึ่งดันให้ถึงฝั่ง แนะใช้ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจ ตอบโจทย์ปฏิรูปประเทศ

“สมคิด” ชู “มหาวิทยาลัย” ความหวังปั้นอินโนเวทีพ สตาร์ทอัพ ให้เวลาปีครึ่งดันให้ถึงฝั่ง แนะใช้ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจ ตอบโจทย์ปฏิรูปประเทศ

พิมพ์ PDF

 

       เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ (อคพน.) เป็นนัดแรก โดยได้เชิญรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 5 กระทรวง อธิการบดี 5 มหาวิทยาลัย สสว. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาหาอการค้าแห่งประเทศไทย สภาวิจัยแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ ณ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
 
       โดยการประชุมครั้งนี้ ดร.สมคิด ได้สะท้อนถึงบทบาทของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการ อินโนเวทีฟ สตาร์ทอัพ หรือสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมหน้าใหม่ให้เป็นนักรบเศรษฐกิจพันธุ์แกร่งที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยอินโนเวทีพ สตาร์ทอัพต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการใช้ความสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ อย่างไรก็ตาม ดร.สมคิดย้ำว่า การจะมุ่งเป้าให้ประสบความสำเร็จนั้น หน่วยงานที่จะเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนคือ มหาวิทยาลัยที่มีงานวิจัยมากมายรอการต่อยอด แต่ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยไม่ได้โฟกัสตัวเองว่าจะมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านไหน สุดท้ายกลายเป็นทำวิจัยแข่งกันเอง 
 
      “จากนี้ไปขอให้รวมตัวกันหารือและแบ่งงานในการเป็นตัวแทนของภูมิภาค เพื่อวิจัยตอบโจทย์ท้องถิ่น ซึ่งนายกรัฐมนตรีย้ำเสมอว่า ผลผลิตชุมชนส่วนใหญ่งานวิจัยเข้าไปไม่ค่อยถึง ต้องหารือกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการสนับสนุนเข้าถึงในระดับรากหญ้า โดยการหารือควรมีผู้แทนจากสำนักงบประมาณเข้าร่วมรับฟังด้วย” รองนายกรัฐมนตรี กล่าว 
 
    นอกจากนี้ ดร.สมคิด ยังได้นำเสนอแนวทางในการก้าวสู่ความสำเร็จของโครงการว่า อินโนเวทีพ สตาร์อัพ ต้องมีการออกแบบที่ชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องของกองทุนพัฒนาความสามารถ โอกาสในการเข้าตลาดหุ้น รวมถึงการเชื่อมโยงบูรณาการผลิตภัณฑ์และบริการ โดยมองว่าองคาพยพในการสนับสนุนขณะนี้มีความพร้อม แต่อาจจะขาดการจัดการแบบเชื่อมโยง จึงขอให้ทุกคน ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ใช้เวลาภายในปีครึ่ง ทำงานให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยขอให้ทบทวนมาตรการและแรงจูงใจที่มีอยู่ว่าเพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้นักลงทุนสนใจ หากจะสามารถปรับปรุงก็ให้เร่งดำเนินการ 
 
       ทั้งนี้เมื่อเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น อธิการบดี และผู้แทน จาก 5 มหาวิทยาลัย ได้สะท้อนปัญหาที่ใกล้เคียงกันคือ แต่ละมหาวิทยาลัยมีการวิจัยและสนับสนุนให้เกิดสตาร์ทอัพมาหลายปีแล้ว โดยใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัยเอง แต่เมื่อเข้าสู่ขั้นของการสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ก็จะติดขัดในเรื่องของงบประมาณ และการสนับสนุนของภาคการเงิน ทำให้ไปต่อไม่ได้ สอดคล้องกับสภาวิจัยฯ สภาอุตสาหกรรมที่ให้ความเห็นในทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม รู้สึกมีความหวังกับโครงการที่กระทรวงวิทยาศาตร์ฯ ผลักดันคือกองทุนพัฒนานวัตกรรม รวมถึงกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเองก็ได้ทำงานกับบริษัทเอกชนรายใหญ่หลายแห่งอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากที่มหาวิทยาลัยจะเข้าถึงข้อมูลทั้งหมด ซึ่ง ดร.สมคิดได้แนะนำว่า ให้หารือกับผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยขอให้เขารวบรวมรายชื่อเอสเอ็มอีที่มีอยู่ และหารือร่วมกันเพื่อหาช่องทางในความร่วมมือ และรวบรวมความต้องการในเรื่องสิทธิประโยชน์ และมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนต่อไป 
 
       นอกจากนี้ ดร.สมคิด ยังได้ให้แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยขอให้ทุกหน่วยงาน ยึดความสามารถผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใน 10 สาขาหลัก ซึ่งถือเป็นไฮไลต์ของประเทศไทยในขณะนี้ คือ 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 6) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 7) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 8) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 9) อุตสาหกรรมดิจิตอล และ 10) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร โดยทั้ง 10 สาขานั้นจะตอบโจทย์การปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง

 


 


 

ข่าวโดย : นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร

ภาพข่าวโดย : นางสุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์,นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์

ประสานงานได้ที่ : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834

 

อีเมลล์ :     อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน Facebook : sciencethailand 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป