กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อสร้างความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีจัดการปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง

ประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อสร้างความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีจัดการปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง

พิมพ์ PDF

        วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อสร้างความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีจัดการปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่องการบูรณาการฐานข้อมูลน้ำและภูมิอากาศของประเทศไทย ณ ห้อง Conference Room ๒ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร
        ดร. พิเชฐ กล่าวว่า จากปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และภัยธรรมชาติจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ยากกว่าในอดีตที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนได้มีการปรับตัวด้วยการใช้เทคโนโลยีและปรับเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการน้ำเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร หรือ สสนก. ก็ได้ร่วมกับสมาคมน้ำนานาชาติ (International Water Association - IWA)  DHI ประเทศเดนมาร์ก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United National Environmental Program - UNEP) พัฒนาเครื่องมือสมัยใหม่ที่เป็นสากลสำหรับบริหารจัดการน้ำท่วมและภัยแล้ง (Flood & Drought Management Tools) โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility - GEF) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme - UNEP) ซึ่งเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำท่วมและภัยแล้งที่พัฒนาขึ้นมานี้ มีความยืดหยุ่น สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับกายภาพและสภาพปัญหาของลุ่มน้ำ รวมทั้งความต้องการของผู้ใช้งาน ที่สำคัญสามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลภูมิอากาศของโลกกับฐานข้อมูลน้ำของประเทศไทยได้
        ดร. พิเชฐ กล่าวอีกว่า วันนี้เรามีผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะจากประเทศที่ต้องแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำทุกวัน เช่น ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่ในระดับใหญ่และในระดับชุมชน ประเทศไทยมีประสบการณ์จนวันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สสนก. ซึ่งเป็นผู้จัดทำข้อมูลทางด้านน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง มีเว็บไซต์ที่สังคมสามารถใช้ประโยชน์ได้ ได้แก่ www.thaiwater.net เป็นตัวอย่างที่สามารถแลกเปลี่ยนกับประเทศเพื่อนบ้านได้ สิ่งที่รัฐบาลพยายามกระตุ้นและส่งเสริม ได้แก่ 
1. ให้ชุมชนต่างๆ ขุดสระแก้มลิง เพื่อรองรับน้ำฝนที่ตกท้ายเขื่อน ให้มีแก้มลิงหรืออ่างเก็บน้ำเพื่อรองรับน้ำ
2. การประหยัดน้ำ เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดไม่ต้องลงทุนมาก ทำได้ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงระดังองค์กร และรัฐบาลได้สั่งการให้หน่วยงานราชการประหยัดน้ำ 10 %
3. ระบบการบริหารจัดการน้ำชุมชน กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้พยายามจัดทำเรื่องนี้ โดยมีตัวอย่าง 60-70 แห่งทั่วประเทศ การบริหารจัดการน้ำด้วยตัวเอง โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เข้าไปให้ความรู้เรื่องการใช้แผนที่ การดูระดับสูงต่ำของพื้นที่ จนถึงการออกแบบรางน้ำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งมีตัวอย่างหลายแห่ง อาทิ หมู่บ้านลิ่มทอง จ.บุรีรัมย์ หรือ ต.บึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี
   การจัดประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Flood and Drought Management Tools (FDMT), (http://fdmt.iwlearn.org/) เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support system, DSS) ที่มีเครื่องมือสนับสนุนการวางแผนสำหรับระดับลุ่มน้ำข้ามพรมแดนจนถึงระดับการผลิตน้ำประปา รวมถึงข้อมูลน้ำท่วมและภัยแล้ง และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลภูมิอากาศทั่วโลก ซึ่งสามารถนำมาใช้ดำเนินการวางแผนขั้นพื้นฐานได้ถึงแม้ว่าความพร้อมของข้อมูลในท้องถิ่นมีจำกัด  เครื่องมือชุดแรกเป็นเครื่องมือที่เน้นการจัดการภัยแล้ง ผู้ใช้สามารถประเมินผลกระทบจากภัยแล้งได้ สามารถเตือนภัยล่วงหน้าต่อภัยแล้งที่จะเกิด กำหนดความรุนแรงของภัยแล้งและขอบเขตพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ (ในรูปแบบของแผนที่) โดยมีการทดสอบเครื่องมือที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประเทศไทย และจะมีการพัฒนาและเผยแพร่ในลุ่มน้ำตัวอย่างในปี 2559 (Lake Victoria and Volta ทวีปแอฟริกา)
        โครงการ Flood and Drought Management Tools (FDMT) เป็นโครงการที่ได้รับทุนจาก Global Environment Facility (GEF), International Waters (IW) และดำเนินการโดย UNEP ภายใต้หน่วยงานที่ดำเนินการ International Water Association (IWA) และ DHI ประเทศเดนมาร์ก มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2561 ในพื้นที่ลุ่มน้ำนำร่อง 3 แห่ง คือ ลุ่มน้ำโวลต้า (Volta) ทะเลสาบวิคตอเรีย (Lake Victoria) และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประเทศไทย ปัจจุบันการพัฒนาระบบดังกล่าว ระยะที่ 1 ของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ใช้ติดตามและคาดการณ์สถานการณ์น้ำท่วมและภัยแล้ง เสร็จเรียบร้อยแล้ว  
 

 

 

ข้อมูลจาก  สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.)

ประสานงานโดย กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ 

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834

e-mail :       อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

Facebook : sciencethailand

Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป