กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ก.วิทย์ฯ โดยจิสด้า ใช้ดาวเทียมไทยโชต ติดตามสถานการณ์หมอกควันภาคใต้

ก.วิทย์ฯ โดยจิสด้า ใช้ดาวเทียมไทยโชต ติดตามสถานการณ์หมอกควันภาคใต้

พิมพ์ PDF

          จากกรณีเกิดปัญหาหมอกควันจากไฟป่าบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ได้พัดเข้าปกคลุมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ ยะลา นราธิวาส และบางส่วนในพื้นที่ สงขลา สตูล เมี่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 นั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ GISTDA  ได้ติดตามสถานการณ์โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมไทยโชตรายงานความเคลื่อนไหวหมอกควันที่เคลื่อนตัวในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมทั้งนำภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat-8 ซึ่งบันทึกภาพบริเวณเกาะสุมาตรา แสดงให้เห็นการก่อตัวของกลุ่มควันเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558 ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลภาพดังกล่าว และการรายงานข่าวจากสื่อต่างๆ ได้ทางเว็บไซต์ของ GISTDA  

          เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ได้เกิดปัญหาสถานการณ์หมอกควันจากไฟไหม้ป่าบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ได้พัดเข้าปกคลุมในพื้นที่ อ.เบตง เป็นวันที่ 3 ส่งผลให้สภาพท้องฟ้าสลัว มีม่านหมอกกระจายเต็มท้องฟ้า โดยเฉพาะภูเขารอยต่อประเทศมาเลเซียจะเห็นหมอกควันหนาแน่นและมองเห็นชัดเจน ล่าสุดสำนักงานจัดการภัยพิบัติของอินโดนีเซียเตือนว่า หมอกควันจากอินโดนีเซียอาจแพร่ไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยอีกครั้ง

          เช้าวันที่ 29 ส.ค.2558 หมอกควันไฟป่า ซึ่งเป็นลักษณะฝุ่นละอองสีขาวขนาดเล็กที่เขาปกคลุมทั่วท้องฟ้าในเมืองยะลา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2558 ซึ่งมีปริมาณหนาแน่นได้เบาบางลง หลังจากที่มีแสงแดดส่องในช่วงสาย ขณะที่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขายังคงมีปริมาณกลุ่มหมอกควันหนาแน่น มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนตามเส้นทางที่สัญจรไปมายังคงจะมีปริมาณหมอกควันเข้าปกคลุม โดยจะส่งผลกระทบต่อทัศน์วิสัยของผู้ขับขี่รถ ซึ่งจะต้องเพิ่มความระมัดระวัง

          ภาพถ่าย อ.เบตง เป็นวันที่ 3 ส่งผลให้สภาพท้องฟ้าสลัว มีม่านหมอกกระจายเต็มท้องฟ้า โดยเฉพาะภูเขารอยต่อประเทศมาเลเซียจะเห็นหมอกควันหนาแน่นและมองเห็นชัดเจน ล่าสุดสำนักงานจัดการภัยพิบัติของอินโดนีเซียเตือนว่า หมอกควันจากอินโดนีเซียอาจแพร่ไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยอีกครั้ง  เช้าวันที่ 29 ส.ค.2558 หมอกควันไฟป่า ซึ่งเป็นลักษณะฝุ่นละอองสีขาวขนาดเล็กที่เขาปกคลุมทั่วท้องฟ้าในเมืองยะลา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2558 ซึ่งมีปริมาณหนาแน่นได้เบาบางลง หลังจากที่มีแสงแดดส่องในช่วงสาย ขณะที่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขายังคงมีปริมาณกลุ่มหมอกควันหนาแน่น มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนตามเส้นทางที่สัญจรไปมายังคงจะมีปริมาณหมอกควันเข้าปกคลุม โดยจะส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยของผู้ขับขี่รถ ซึ่งจะต้องเพิ่มความระมัดระวัง

          ล่าสุดสถานการณ์หมอกควันไฟป่าจากประเทศอินโดนีเซียที่ได้เข้าปกคลุมพื้นที่จังหวัดยะลา ในช่วงเช้าวันที่ 30 มิ.ย. 58 ท้องฟ้าในพื้นที่ยะลา ยังคงสลัว ไม่สว่างสดใส เนื่องจากยังคงมีฝุ่นละอองสีขาวขนาดเล็กปกคลุมทั่วท้องฟ้า โดยปริมาณหมอกควันได้เบาบางลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของลม ที่จะพัดกลุ่มหมอกควันให้เพิ่มปริมาณหนาแน่น หรือเบาบาง โดยก่อนหน้านี้เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2558 กลุ่มหมอกควันฯ ได้เข้ามาปกคลุมในพื้นที่จังหวัดยะลาแล้วครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ กลุ่มหมอกควันดังกล่าว เป็นหมอกควันจากไฟป่าจากเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกปีในพื้นที่ภาคใต้ ระหว่างเดือน มิถุนายน – สิงหาคม โดยฝุ่นละอองจะเป็นขนาดเล็ก และไม่ส่งผลต่อประชาชนทั่วไป ยกเว้นผู้ที่ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ซึ่งควรใช้หน้ากากอนามัยปิดจมูกเพื่อป้องกัน

วันที่ 3 ก.ย. 2558 สถานการณ์หมอกควันจากไฟไหม้ป่าบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียระลอกใหม่ เริ่มพัดเข้าปกคลุมในพื้นที่ จ.ยะลา อีกครั้ง ส่งผลให้สภาพอากาศในพื้นที่ ท้องฟ้าสลัว มีหมอกควันกระจายเต็มท้องฟ้า โดยเฉพาะในตัวเมืองยะลา สามารถมองเห็นหมอกควันได้อย่างชัดเจน (springnews.co.th)

          ซึ่งบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีจุดที่เกิดไฟไหม้ป่า จำนวน 152 จุด โดยลดลงจากวันที่ 24 ส.ค. ซึ่งมีจำนวน 192 จุด ส่งผลให้ทัศนวิสัยการมองเห็น ใน จ.ยะลา อาจเกิดผลกระทบกับการขับขี่รถยนต์บนท้องถนนเป็นอย่างมาก และชาวบ้านหลายๆ คน มีความเป็นห่วง ในเรื่องของสุขภาพของเด็กเล็ก โดยขณะนี้ยังไม่มีองค์กรภาครัฐ ออกมาให้ความเข้าใจและดูแลสุขภาพของประชาชนแต่อย่างใด (springnews.co.th)

 

อ้างอิง

  • www.onep.go.th
  • www.naewna.com
  • www.dailynews.co.th
  • nwnt.prd.go.th
  • www.springnews.co.th


 

รวบรวมข้อมูลโดย : นางสาวสิประภาพร สุขแสวง  นางสาวจีราพร สุขกาศ โทรศัพท์ 0-2561-4504-5, โทรสาร 0-2561-4503   

 

 

ถ่ายภาพโดย : สำนักพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

 

เผยแพร่ โดย กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834

e-mail :     อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

Facebook : sciencethailand

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป