- ขณะนี้ คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ก็กำลังจะเสนอร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็เป็นการเดินหน้าตาม Roadmap ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านหรือไม่ผ่าน ก็เป็นเรื่องของ สปช. ถ้าผ่านก็มั่นใจให้ได้ว่าจะต้องมีการปฏิรูป และไม่มีความขัดแย้ง ถ้าไม่ผ่านก็ไปดูว่าไม่ผ่านตรงไหน ด้วยเรื่องอะไร แต่ถ้าจะไม่ผ่านเพราะว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ผมคิดว่าไม่เป็นธรรมกับประชาชน เพราะฉะนั้นประชาชนก็ต้องการที่จะให้มีความเปลี่ยนแปลง ต้องการให้มีการปฏิรูป การที่มีรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นการออกเสียง ลงประชามติของ สปช. ก็เป็นเสรี เป็นอิสระ ไม่ต้องให้ใครชี้นำ
- การที่ประเทศชาติของเราจะเติบโตและแข็งแกร่งไปได้ด้วยกันนั้น ที่ผมเคยพูดไว้นั้นว่า Our Home Our Country Stronger Together เป็นเรื่องของเศรษฐกิจด้วย นอกจากความมั่นคงแล้ว ก็เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ปากท้องของพี่น้องประชาชน ทุกอย่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ในการขับเคลื่อนประเทศ สัปดาห์นี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระของพี่น้องประชาชนผู้มีรายได้น้อยในทุกพื้นที่ให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ในชุมชน มีโครงการที่เป็นประโยชน์และตรงกับความต้องการของพี่น้องประชาชนในชุมชนอย่างแท้จริง เราต้องการให้มีเงินหมุนเวียนในพื้นที่ เพื่อจะช่วยวางรากฐานให้ชุมชนเข้มแข็ง มาตรการดังกล่าวนั้น จะครอบคลุมท้องถิ่นทั้งระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล ในหมู่บ้านนั้น ได้มีการจัดสรรเงินกู้ให้กับกองทุนหมู่บ้าน ที่อยู่ในเกณฑ์ระดับ A และ B คือมีผลประกอบการที่ดี ดีมากกองทุนละไม่เกิน 1 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรกนั้น จะปลอดภาระดอกเบี้ย เพื่อให้พี่น้องประชาชน ไม่ต้องกังวลในการจ่ายคืนหนี้ในช่วงแรกที่นำเงินไปลงทุน อย่าไปใช้ในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ที่ผ่านมาไม่ได้รับความเชื่อมั่นไว้วางใจจากสังคมโดยรวมว่าไปใช้ซื้อในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
- เพราะฉะนั้นกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะว่าเป็นเรื่องของการเป็นประชาธิปไตย ที่ต้องให้ประชาชนนั้นมีส่วนร่วมหรือเป็นผู้ในการที่จะใช้จ่ายเงิน รัฐบาลก็จะมีกลไกในการตรวจสอบ จะไม่ปล่อยปละละเลยเหมือนเช่นเดิมที่ผ่านมา สำหรับกองทุนหมู่บ้านในระดับ C และ D นั้น ที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่าเราได้มีมาตรการในการเข้าฟื้นฟูอยู่แล้ว ได้มีการอนุมัติเม็ดเงินไว้แล้ว ตั้งแต่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดที่แล้ว เพราะฉะนั้นต้องฟื้นฟูเขาให้ได้ จะให้ทาง คสช. กระทรวงมหาดไทย เขาไปดูแลคณะกรรมการด้วย และอย่าทำทุจริตโดยเด็ดขาด ผมไม่ต้องการให้มีผลกระทบทางด้านการเมือง ในเรื่องคะแนนเสียงต่าง ๆ ทั้งสิ้นในช่วงนี้
- ในส่วนของกองทุนหมู่บ้าน ผมถือว่าเป็นเม็ดเงินที่จะถึงประชาชนได้อย่างแท้จริง และประชาชนเป็นผู้ดำเนินการเอง ระดับตำบลนั้น เราเพิ่มงบประมาณลงไปอีกก้อนหนึ่ง ทุกตำบลๆ ละ 5 ล้านบาท เพื่อต้องการให้เกิดการกิจกรรมหมุนเวียนในท้องถิ่น ที่ผ่านเราเคยให้ไปแล้ว ในตำบลที่แล้งซ้ำซาก ตำบลละ 1 ล้าน ปรากฏว่าประชาชนก็เสนอมาว่าไม่เคยได้รับเงินแบบนี้มาก่อน คือเขาเอาเงินไปลงทุน ทำอะไรต่าง ๆ ขุดบ่อน้ำ ทำซ่อมแซมถนน ทำสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างลานมัน จัดหาเครื่องมือ เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ต่าง ๆ ผมถือว่าเป็นการลงถึงมือเขาและเขาเป็นคนกำหนดโครงการเอง แต่เราต้องไปดูเช่นกัน ทั้ง คสช. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่าง ๆ ต้องไปเดินดูทั้งหมด เพราะฉะนั้นขอร้องเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ด้วย ถ้าหากตรวจพบการทุจริตตรงใดก็ตาม ให้รีบแจ้งมา คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) คสช. ต่าง ๆ เข้มงวดเรื่องการทำแผนงานโครงการ ผมต้องการให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียม
- เรื่องของการเร่งการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็ก อาทิ การซ่อม สร้าง เล็ก ๆ น้อย ๆ ซ่อมโรงเรียน ซ่อมอาคารราชการ ทาสี ต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องการที่จะให้มีเม็ดเงินลงไป เกิดการจ้างงานได้มากขึ้น สามารถเบิกจ่ายได้รวดเร็ว มีการแก้ไขกฎระเบียบให้สามารถดำเนินการได้โดยไม่ติดขัด บางอย่างก็มีการผ่อนผัน มีการชะลออยู่แล้ว ขอร้องอย่างเดียวอย่าทุจริตกัน ต้องเสริมสร้างทั้ง 2 อย่าง ใช้กฎหมาย ใช้การปลูกจิตสำนึก ใช้ความมีอุดมการณ์ที่จะทำให้ประเทศชาติปลอดภัย และในเรื่องของการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในเรื่องของการค้าชายแดน ทุกอย่างเป็นระบบหมด เพราะฉะนั้นทุกอันต้องมีความโปร่งใสคุ้มค่า หลายท่านอาจจะมองว่า เป็นประชานิยม ก็คือทำให้
- วันนี้กองทุนหมู่บ้าน 7 หมื่นกว่ากองทุน ใช้ได้ประมาณสัก 2 ใน 3 ที่เหลืออีก 1 ใน 3 ก็เป็นในส่วนของที่พอใช้ได้ และยังใช้ไม่ได้ และใช้ไม่ได้เลย นี่คือการทำประชานิยม รัฐบาลได้คำนึงถึงวินัยการเงินการคลังอยู่แล้ว ถึงแม้จะมีการใช้จ่ายไปในงวดที่ 2 นี้ ในการช่วยเหลือประชาชน เราก็ควบคุมให้อยู่ภายใต้ระบบระเบียบของวินัยการคลัง
- อีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ราคาเท่าที่กระทรวงพาณิชย์ไปตรวจสอบ หรือหน่วยงานไปตรวจสอบ ราคาก็อาจจะมีเพิ่มขึ้นบ้างไม่มากนัก ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบราคาสินค้า และไปเจรจากับผู้ผลิตผู้ประกอบการค้าด้วย ให้กำหนดราคาขายให้เหมาะสม วันนี้ผมได้ให้นโยบายใหม่ไป ให้กับท่านรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจไป ผมอยากให้มีการลงทุน ให้มีตลาดกลางแต่ละภูมิภาค และเชื่อมต่อกับตลาดชุมชนในท้องที่ เพื่อจะให้มีการทั้งซื้อและทั้งขายสินค้าในราคาย่อมเยา ในลักษณะที่ให้เกษตรกรเข้ามาดำเนินการเอง จำหน่ายเอง เจ้าหน้าที่รัฐเพียงแต่จัด ดูแลเรื่องการตลาด สถานที่ และเป็นเรื่องของการ Packing ทำหีบห่อ ทำกล่องให้เขาและเขาก็มากำหนดราคาขายกัน ในเมื่อเราเปิดตลาดกลางเพื่อการเกษตร หรือประมงต่าง ๆ สินค้าประมง สินค้าทางสัตว์น้ำ ก็อาจจะเป็นไปได้หรือไม่ ว่าเราทำ 2 ทาง ก็คือในการที่เรานำสิ่งของราคาถูกลงไปขายด้วย ไม่อย่างนั้นเราต้องไปทำในเรื่องของธงฟ้า ซึ่งอาจจะไม่ทั่วถึง ไม่ทันเวลา เราก็ขอความร่วมมือกับบริษัทให้ผลิตของราคาที่ลดลงบ้าง ลดความสวยงามของผลิตภัณฑ์ลง ราคาก็น่าจะลดลงได้ ถ้าไม่ผิดกฎหมาย กติกา การค้าสากลเพื่อจะให้ประชาชนที่มีรายได้น้อย เขาซื้ออุปโภคบริโภคได้ในยามที่เดือดร้อนในขณะนี้ ลองทำดูก่อน ผมเห็นต่างประเทศเขาทำได้
- ส่วนของการเดินหน้าของประเทศในขณะนี้ ขอให้ทุกคนได้เป็นคนไทยยุคใหม่ ให้มีการติดตามข่าวสารข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Social Media ที่ดี ๆ ใน Facebook Youtube ใน Application ที่ดี ๆ ส่วนที่ไม่ดี ที่ไม่เกิดประโยชน์อย่าไปเสียเวลา วันนี้เราก็เดินหน้า Digital Economy อยู่แล้ว ให้กระทรวงทุกกระทรวง ไปหาทางที่จะทำให้ประชาชนรับรู้รับทราบ ต้องทำให้กว้างขว้าง ไม่ใช่ทำแล้วก็ไม่บอก หรือบอกเฉพาะข้าราชการด้วยกัน
- เรื่องการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน รัฐจะทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวก ดูแลกฎหมาย ดูแลสิทธิประโยชน์ และเปิดพื้นที่ เปิดตลาด จากนั้นเอกชนก็ต้องเดินคู่ขนานกันไป ในการที่จะชักชวนคนมาลงทุนในประเทศไทย และชวนเอกชนไทยไปลงทุนที่ต่างประเทศ ในลักษณะเกื้อกูลต่อกัน เป็น Partnership กัน รัฐบาลกำลังแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการดำเนินการธุรกิจ แต่ก็ต้องใช้เวลา เพราะการทำ พ.ร.บ. ทางกฎหมายต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ซึ่ง สนช. ก็มีการจัดตั้งอยู่ตามปกติ
- เรื่องการให้สิทธิประโยชน์ สำหรับการลงทุนในพื้นที่ ก็จะมี 3 ส่วนด้วยกัน สรุปง่าย ๆ คือ 1. การนิคมอุตสาหกรรมจะกำหนดพื้นที่ให้จัดทำ 2. นิคมของภาคเอกชนซึ่งจะเช่าพื้นที่จัดทำ และ 3. เป็นเหมือน City ที่อยู่ในพื้นที่ใดก็ได้ที่มีศักยภาพ จะเกิดขึ้นทั้ง 3 อย่าง ในพื้นที่ทุกพื้นที่ พื้นที่สองอันแรกจะเกิดขึ้น 6 แห่งในพื้นที่ชายแดน ใกล้ชายแดน ก็ไม่ใช่ติดกับชายแดน แต่เชื่อมโยงกันไปถึงโน้น เพราะต้องไปถึงช่องทางออก ในส่วนของชายแดนจะมีทั้งของการนิคมและของเอกชนด้วย แต่ลึก ๆ เข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นของเอกชน รัฐก็จะร่วมลงทุนบ้าง
- เรื่องแรงงาน กระทรวงแรงงานต้องเตรียมการ กระทรวงศึกษาธิการ ต้องมีการเตรียมการระยะยาว กระทรวงแรงงานก็ต้องไปนำคนที่มีความรู้ด้านวิชาชีพ ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างอ็อกซ์ วิศวกรรถไฟ วิศวกรราง ต้องผลิตทั้งหมด ผลิตหรือไม่ก็ต่อยอด เพราะเริ่มแล้ว ปีหน้าเริ่มกิจการเหล่านี้แล้วมีคนหรือยัง ถ้าในเรื่องของการเตรียมความพร้อมเรื่องครู เรื่องวิจัย เรื่องที่เป็นเชิงการแข่งขัน อันนี้มหาลัยก็ต้องเร่งผลิตออกมา ดูหลักสูตร สอนคนให้เก่งไปสอบ
- ส่วนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ จะมีปัญหาเดียวที่เป็นปัญหาหลักคือ ปัญหาเรื่องที่ดิน ที่ดินขณะนี้มีการเกร็งกำไร โดยการซื้อจากประชาชนที่บุกรุก หรือไม่ก็ซื้อจากพื้นที่ที่เราให้จัดสรรไปแล้ว เป็นที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
- สัปดาห์ที่ผ่านมาผมไปเยือนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายเบนิกโน เอส อากีโน ที่ 3 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 7 ในปีนี้ ฟิลิปปินส์เป็นคู่ค้าที่สำคัญกับไทยอันดับที่ 6 ของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 18 ของโลก มีมูลค่าทางการค้า ราว 2.7 แสนล้านบาท ขอเน้นย้ำให้นักลงทุนชาวไทยในฟิลิปปินส์ได้ทำการค้า-การลงทุน ให้เกิดผลประโยชน์ต่อทั้งไทยและฟิลิปปินส์ นอกจากการคำนึงถึงความคุ้มทุนแล้ว ก็ควรมีการคืนประโยชน์ให้แก่สังคมฟิลิปปินส์ด้วย เช่นเดียวกันผมขอร้องว่า นักลงทุนฟิลิปปินส์ในประเทศไทยก็คืนประโยชน์แก่สังคมในประเทศไทยด้วย
- ขอเชิญชวนให้ภาคเอกชนทั้ง 2 ฝ่าย แลกเปลี่ยนและขยายการลงทุนซึ่งกันและกัน โดยการร่วมลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษด้วย ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในลักษณะ “ไทย + 1” และการนำประสบการณ์ความสำเร็จ ในด้านการบริหารจัดการแรงงานในต่างประเทศของฟิลิปปินส์มาเป็นต้นแบบ โดยเฉพาะการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางาน และการปรับตัวเข้าสู่สภาพสังคมแรงงานในต่างประเทศ
- เรื่องการเดินทางไปต่างประเทศทุกครั้ง ผมได้สั่งการให้ทุกกระทรวงได้นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้อย่างรวดเร็ว ทุกการเจรจาจะต้องมีหัวข้อ การรายงานและวิธีการปฏิบัติด้วย ถ้ายอมรับกันได้ก็กลับมาหารือ อะไรที่จะต้องเข้า ครม. ก็เข้า ถึงจะทำได้ เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือความมั่นคง ขอความร่วมมือกับฟิลิปปินส์ที่เขามีประสบการณ์เรื่องนี้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแยกดินแดน แต่ของเราคงไม่ถึงขนาดนั้น เพียงแต่บางอย่างก็เป็นประสบการณ์ที่เราสามารถจะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะทำให้เกิดความเป็นรูปธรรม
- เรื่องภาคใต้ ก็เช่นกัน ขณะนี้ก็มีความก้าวหน้าตามลำดับ ในเมื่ออีกฝ่ายต้องการให้มีการเจรจา มีการพูดคุยเพื่อสันติสุข ก็ต้องแสดงให้เห็นศักยภาพก่อนว่าทำอย่างไร จะสามารถควบคุมความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ถ้ายังควบคุมไม่ได้ ผมก็รับรองให้ไม่ได้ แต่ถึงอย่างไรต้องเป็นไปตามกฎหมายของไทยและกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
- สุดท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน เข้าร่วมชมงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทำเนียบรัฐบาล ในห้วงเดือนกันยายนนี้ ภายใต้แนวคิด “ตื่นตาสินค้า GI ตื่นใจอัตลักษณ์ชุมชน” โดยการนำเสนอและจำหน่ายสินค้าคุณภาพดี เป็นสินค้าที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นเรื่องที่สำคัญ
- นอกจากนี้จะมีกิจกรรมสร้างองค์ความรู้ทางธุรกิจ มีการบรรยายจากวิทยากรชั้นนำ การให้คำปรึกษาและการสาธิตอีกทั้งกิจกรรมร่วมสนุก ส่งภาพถ่ายประกวด “ชิงตั๋วเครื่องบิน” ในเส้นทางที่เลือกได้ และจัดโปรโมชั่น “นาทีทอง สินค้าราคาพิเศษ” ณ ร้านสวัสดิการประชาชนอีกด้วย
- เรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยากจะฝากว่า ในช่วงนี้ประเทศชาติกำลังมีปัญหา มีภัย จะเห็นได้จากที่ผมเข้ามา ก็ยังไม่หยุดหลาย ๆ เรื่อง ทั้งในประเทศ และนอกประเทศ ที่มีความขัดแย้งกันทั่วไป เราต้องลดของเราให้มากที่สุด เพื่อจะได้รวมกำลังกันในการป้องกันภัยที่จะมาจากภายนอก ขณะเดียวกันก็มีประชาชนบางพวกบางกลุ่มที่พยายามจะทำให้ประเทศไม่เข้มแข็ง เพื่อจะนำไปสู่อะไรก็แล้วแต่ ประชาชนต้องปฏิเสธ คนเหล่านี้ไม่ได้หวังดีกับท่าน สวัสดีครับ
สรุปสาระโดย: กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อมูลจาก: เว็บไซต์รัฐบาลไทย