ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และบริษัท สุพรีม ไฮทีร่า จำกัด แถลงข่าวเปิดตัว B-Hive1 ระบบจัดและลำเลียงยาอัตโนมัติ พัฒนาโดยนักวิจัยไทยสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเพิ่มความสะดวก ถูกต้อง รวดเร็วในการให้บริการผู้ป่วย ลดเวลาในการรอคอย และลดข้อผิดพลาดและภาระงานเจ้าหน้าที่ ตอบโจทย์ความต้องการด้านการบริการสุขภาพของคนไทย ลดปริมาณยาเหลือทิ้ง มูลค่านับ 1,000 ล้านบาทต่อปี
![]() |
|
![]() |
|
![]() |
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาต่อยอดและการสร้างนวัตกรรม เพื่อนำสู่การใช้เชิงพาณิชย์ของภาคอุตสาหกรรม ความสำเร็จในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการสะท้อนบริบทในการพัฒนาประเทศ ในด้านการแข่งขันและสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคมแล้ว ยังถือเป็นต้นแบบความสำเร็จของโครงการ ทาเลนท์โมบิลิตี้ ที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับภาคเอกชน อีกทั้งยังสามารถบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน (WiL) ที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในสถานที่ทำงานจริง เป็นแรงบันดาลใจเด็กรุ่นใหม่ ให้หันมาสนใจวิทยาศาสตร์เนื่องจากมีความท้าทาย และมีโอกาสก้าวหน้าในวิชาชีพ
ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า การสร้างบัณฑิตที่เก่งและดีเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ความสำเร็จครั้งนี้ถือว่าเป็นกรณีศึกษาสำคัญยิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่ากลไกการสร้างบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนำไปสู่การตอบโจทย์จริงของภาคเอกชนและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการให้บริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาล สิ่งที่น่าสนใจมากๆ อีกมิติหนึ่ง คือ โครงการร่วมพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีในลักษณะนี้ยังช่วยสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีใหม่หรือ Technopreneur ที่เข้าใจโจทย์ ความต้องการและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้ในสัดส่วนที่ลงตัว
ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ TCELS กล่าวว่า TCELS ขับเคลื่อนเครือข่ายการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไปจนถึงออกสู่ตลาดเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนสร้างเครือข่ายในภูมิภาคอาเซียน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยี อันเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยโดยรวม ความสำเร็จในครั้งนี้ จึงเป็นการพัฒนานวัตกรรมด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศไทย
![]() |
|
![]() |
|
B-Hive1 จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาด้านการบริการสุขภาพดังกล่าว โดยเน้นไปที่บริบทของประเทศไทย สามารถรับใบสั่งยาโดยตรงจากแพทย์ผู้รักษา ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และจัดยากล่องและขวด ด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 150 ใบสั่งยาต่อชั่วโมง สามารถเชื่อมต่อกับระบบการตรวจสอบและพิมพ์ฉลากยาได้ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจสอบข้อมูลยาคงเหลือในแต่ละชนิดของรายการเพื่อใช้ในการตรวจสอบการบริหารยาคงเหลือ ทำให้สามารถบริหารจัดการยา และจัดยาส่งไปยังเภสัชกรผ่านระบบสายพานลำเลียงได้อย่างครบวงจร ทำให้ลดภาระงานเภสัชกรเหลือเพียงตรวจเช็คยา และปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย ช่วยเพิ่มศักยภาพของเภสัชกรที่กำลังขาดแคลนอยู่ได้
![]() |
![]() |
![]() |
จากการที่ระบบดังกล่าวสามารถลดภาระงานของเภสัชกรและข้อผิดพลาดของการจัดยา รวมถึงควบคุมการเบิกจ่ายยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดเวลาการรอคอยของผู้ป่วยได้และลดปัญหาเรื่องของการสูญหายของยาได้ ส่งผลให้ประหยัดงบประมาณของประเทศจากการลดปริมาณยาเหลือทิ้ง ซึ่งมีมูลค่า 1,000 ล้านบาทต่อปีจากข้อมูลโครงการลดยาเหลือทิ้งของสภาเภสัชกรรม นายกำธร กล่าว และขณะนี้ระบบจัดและลำเลียงยาอัตโนมัติ B-Hive1 นี้พร้อมจำหน่ายแล้ว
ประสานงานได้ที่ : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ถ่ายภาพและวิดีโอ : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ และนายรัฐพล หงสไกร
โทร. 02 333 3728 – 3732 โทรสาร 02 333 3834
E-Mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
Call Center : 1313