กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ก.วิทย์ ขยายผล Talent Mobility จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จัดจับคู่ความร่วมมือนักวิจัยรัฐ-เอกชน ในงาน Southern Talent Mobility Fair 2015

ก.วิทย์ ขยายผล Talent Mobility จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จัดจับคู่ความร่วมมือนักวิจัยรัฐ-เอกชน ในงาน Southern Talent Mobility Fair 2015

พิมพ์ PDF


     14 สิงหาคม ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่/ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดินหน้าโครงการ Talent Mobility ตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกภูมิภาค เหนือ กลาง อีสาน ใต้ ซึ่งครั้งนี้ได้ดำเนินการร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จัดงาน Southern Talent Mobility Fair 2015 จับคู่ความร่วมมือนักวิจัยภาครัฐ-เอกชน ต่อยอดผลงานจากหิ้งสู่ห้าง พร้อมโชว์ความสำเร็จจากโครงการความร่วมมือและโครงการต่อยอดได้ อาทิ ระบบหุ่นยนต์และแมคาทรอนิกส์อัจฉริยะ  ชุดอุปกรณ์แยกโลหะในน้ำยาง  แผ่นประคบผิวนาโนสมุนไพร  เครื่องเลื่อยไม้ยางพาราแบบใหม่ อุปกรณ์รองส้นเท้าเพื่อลดอาการปวดส้นเท้าจากยางธรรมชาติ หุ่นจำลองฝึกหัดที่ใช้ดูแลผู้ป่วยทวารเทียม พลังงานทดแทนจากวัสดุที่มีสมบัติไพอิโซอิเล็กทริก โดยมี ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน และรศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ


     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวในระหว่างการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “Talent Mobility ก้าวสำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคเอกชน และแผนปฏิรูปการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ” ว่า ความสำคัญของโครงการ Talent Mobility ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในเรื่องของการผลิตคนตามปกติ แต่ต้องเน้นการผลิตคนให้ตรงกับความต้องการ ซึ่งผู้ประกอบการต้องเข้ามาช่วย กำหนดคุณลักษณะของคนที่ต้องการ และร่วมกันพัฒนาคน โดยภาครัฐกับภาคเอกชนต้องร่วมมือกันดูภาพรวมของการศึกษากับภาคแรงงาน ช่วยกันยกระดับแรงงานด้านสะเต็ม หรือ STEM (S=Science วิทยาศาสตร์ T=Technology เทคโนโลยี E=Engineering วิศวกรรมศาสตร์ และ M=Mathematics คณิตศาสตร์) และให้ความรู้ด้านสะเต็มมีสูงขึ้นในโรงงาน


     ดร.พิเชฐ กล่าวว่า เมื่อต้นปีได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย ขยายผลการดำเนินงานของผู้บริหารวิทยาศาสตร์จังหวัดระดับสูง (PCSO) ซึ่งมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบัน ให้มีคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ประจำจังหวัด ซึ่งที่ปรึกษานี้อาจเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้แทนภาคเอกชน หรือปราญ์ชาวบ้าน ที่ประสบความสำเร็จในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพัฒนาความเข้มแข็งของจังหวัด มาให้คำปรึกษา ร่วมวางแผนและพัฒนาจังหวัดตามบริบทของพื้นที่และประโยชน์สูงสุดที่เกิดขึ้นกับจังหวัด โดยอาจจะทำนำร่องใน 4-5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
 

 


     ด้านนายประสงค์ อดุลยรัตนนุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท PCS กล่าวว่า บริษัท PCS ซึ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิต ด้วยตนเองในองค์กร นวัตกรรมที่ได้จะเป็นเรื่องการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต พื่อยกระดับคุณภาพ ลดการใช้พลังงานและต้นทุน ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ Talent Mobility ได้ทำให้การวิจัยและพัฒนาของบริษัทใช้ระยะเวลาที่สั้นลง ช่วยลดต้นทุน ในขณะที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ลูกค้า ได้เปลี่ยนจากเดิมใช้เวลา ใช้บุคลากรและทำให้เกิดค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย การเข้ามาของโครงการ Talent Mobility นี้ได้ทำให้การดำเนินงานเสร็จเร็วขึ้น ต้นทุนลดลงได้มาราว 30-40% ทำให้บริษัทพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปอย่างเต็มที่

   

 
        ภายในงานยังมีจัดแสดงนิทรรศการของศูนย์อำนวยความสะดวกภาคใต้ และผลงานวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาที่สามารถต่อยอดในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งการจับคู่ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีผู้เข้าร่วมงาน 250 คน ได้แก่ นักธุรกิจ สถานประกอบการ อาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ Talent Mobility นอกจากศูนย์อำนวยความสะดวกในภาคใต้นี้แล้ว ยังมี TM Clearing House ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีซึ่งครอบคลุมจังหวัดในภาคกลาง มหาวิทยาลัยเขียงใหม่ซึ่งครอบคลุมจังหวัดในเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งครอบคลุมจังหวัดในภาคอีสาน 
 

 

 

 


ข่าวโดย: กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป