14 สิงหาคม 2558 ที่โรงแรมสามพราน รอเวอร์ไซด์ รีสอร์ท จ.นครปฐม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จัดการประชุมหารือความร่วมมือระหว่าง วท. และสมาคม ATPAC (MOST-ATPAC Retreat) เพื่อหารือแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในสังกัด วท.กับสมาคม ATPAC ในสาขาที่มีความสนใจร่วมกัน รวมทั้งกำหนดบทบาทของสมาคม ATPAC ในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานในสังกัด วท. ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในการประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก นางสาวเสาวณี มุสิแดง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายสมชาย เทียมบุญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศ.ดร.เมธี เวชารัตนา ที่ปรึกษาสมาคม ATPAC นายทรงศัก สายเชื้อ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ หัวหน้าหน่วยงานและคณะทำงาน เข้าร่วมหารือความร่วมมือระหว่าง วท. และสมาคม ATPAC
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (Association of Thai Professionals in America and Canada (ATPAC) เป็นสมาคมที่เกิดจากการรวมกลุ่มของนักวิชาชีพไทยทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และด้านอื่นๆ ที่ได้ทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา มีความสนใจและปรารถนาที่จะนำความรู้ความสามารถของตนกลับมาพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนให้ก้าวหน้าทันเทียมกับนานาประเทศ โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 โดยการผลักดันและสนับสนุนของสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงความต้องการการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การจัดตั้งสมาคม ATPAC จึงตอบสนองความต้องการดังกล่าว ต่อมาทางรัฐบาลเห็นความสำคัญ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 ให้มีการโครงการสมองไหลกลับขึ้น ภายใต้การดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ประเด็นในการหารือในแต่ละสาขาที่ประสงค์จะสร้างความร่วมมือและดำเนินการผ่านสมาคมวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนนาดา (ATPAC) คือ การพัฒนาความรู้ เรื่องฐานข้อมูลเกี่ยวกับประวัติผู้ปฏิบัติงานทางรังสี และการประเมินผลจากการรับปริมาณรังสีในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน, การวิจัยและพัฒนายา-วัคซีน การพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศระยะสั้นเพื่อการเตือนภัย การคาดการณ์ระยะยาวเพื่อการบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาระบบวิเคราะห์และปรับปรุงภาพดิจิตอลให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำสำหรับการบริหารจัดการน้ำ การวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม การออกแบบอัลกอริทึมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาระบบ GNSS CORS การสำรวจและจัดทำแผนที่เพื่อการบริหารจัดการน้ำ และการสำรวจแผนที่ทางอากาศด้วย UAV เป็นต้น