ติดตามชมรายการเดินหน้าประเทศไทย
ได้ในวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2558 เวลา 18.00 น.
ออกอากาศทางสื่อโทรทรรศน์ทุกช่องกว่า 200 ช่อง
![]() |
13 สิงหาคม 2558 ณ พื้นที่ ต.บึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) ร่วมถ่ายทำรายการเดินหน้าประเทศไทยพร้อมสนทนาถึงประเด็น ”ต้นแบบการจัดการน้ำชุมชน พ้นแล้ง พ้นท่วม”
![]() |
|
![]() |
ดร.พิเชฐ ได้กล่าวถึง กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีหน้าที่หลักคือการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยในการพัฒนาชุมชนด้านการบริหารจัดการน้ำและนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำอาศัยหลักการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เช่น 1.การใช้แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม และ GPS เพื่อสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งน้ำของชุมชน และจัดทำผังน้ำชุมชน 2.สนับสนุนให้ชุมชนติดตั้งไม้วัดระดับน้ำ 3.ติดตั้งสถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศและระดับน้ำอัตโนมัติ ของ สสนก. จำนวน 2 สถานี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับติดตามข้อมูลสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำในพื้นที่ เพื่อนำมาประกอบการวางแผนบริหารจัดการน้ำ 4.ติดตั้งอุปกรณ์ติดตามสถานการณ์น้ำอัตโนมัติ 5.พัฒนาเรือดูดตะกอนเลนให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ร่องสวนปาล์ม และสามารถเพิ่มผลผลิตโดยนำเอาตะกอนเลนมาทำเป็นปุ๋ย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม และปัจจัยที่สำคัญไปกว่านั้นคือการที่ชาวบ้านได้ทำงานร่วมกันและพัฒนาชุมชน ขณะนี้เรากำลังดำเนินการเพิ่มถึง 8 ชุมชนเพื่อหวังที่จะให้ พื้นที่ บึงชำอ้อ เป็นชุมชนต้นแบบสำหรับชุมชนอื่นๆที่จะเข้ามาเรียนรู้และทำงานร่วมกัน
ดร.รอยล ได้กล่าวถึง การพัฒนาแหล่งน้ำ โดยใช้เรือดูดตะกอนเลนเพื่อเพิ่มความลึกของร่องสวนปาล์มน้ำมันสำหรับเป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำ ที่สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 700 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ในหน้าแล้งสามารถใช้เรือดูดตะกอนเลนเพื่อเปิดร่องน้ำให้ไหลไปถึงพื้นที่ห่างไกลได้ การพัฒนาพื้นที่ บึงชำอ้อ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหา นำท่วม น้ำแล้งแล้ว ยังส่งผลดีด้านเศรษฐกิจของชุมชน โดยสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่โครงการสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี และแต่ละสวนให้ผลผลิตเฉลี่ยมากถึง 7 ตัน/ไร่/ปี หรือ สกัดเป็นปาล์มน้ำมันได้ 22 % ต่อปี ซึ่งนับว่ามากกว่าพื้นที่ปลูกน้ามันปาล์มในที่อื่นๆ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 23,800 บาท/ไร่/ปี ทั้งนี้มีการขยายเครือข่ายการทำงาน แก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง รวม 8 ตำบล มีผู้ได้รับประโยชน์รวม 11,869 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรได้รับประโยชน์ รวม 87,795 ไร่
ดร.พิเชฐ กล่าวปิดท้ายว่า เราสามารถนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อการวางแผน การบริหารจัดการ บำรุงรักษาต้นไม้ เป็นต้น ซึ่งผลผลิตที่ได้จากรสวนปาล์มน้ำมันยังสามารถขายเป็นรายได้เสริมสำหรับครอบครัว ทำให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและได้ของชุมชน นอกเหนือจากการผลผลิตจากปาล์มน้ำมัน ทำให้ชุมในพื้นที่ บึงชำอ้อ อยู่ดีกินดีมีความสุข บนวิถีแห่งความพอเพียงอย่างยั่งยืน
ข่าวโดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ
ถ่ายภาพ : นางสุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์ ,นายรัฐพล หงสไกร
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand