กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน สดร. เผยมีโอกาสเห็น “ดาวเคียงเดือน” อีกครั้ง 18 ก.ค. นี้

สดร. เผยมีโอกาสเห็น “ดาวเคียงเดือน” อีกครั้ง 18 ก.ค. นี้

พิมพ์ PDF

 

ภาพจำลองปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนในวันที่ 18 กรกฎาคม 2558

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผย “ดาวเคียงเดือน” จะกลับมาปรากฏให้ชาวไทยได้ชมกันอีกครั้งในวันที่ 18 กรกฏาคมที่จะถึงนี้ ดาวศุกร์เปลี่ยนตำแหน่งมาอยู่เหนือดาวพฤหัสบดี มีดวงจันทร์เสี้ยวบางอยู่ด้านล่างห่างจากดาวเคราะห์ทั้งสองมากกว่าวันที่ 20 มิถุนายนเล็กน้อย เห็นได้ตั้งแต่หัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังอาทิตย์ลับขอบฟ้าถึงประมาณสองทุ่ม ครั้งนี้อาจมองเห็นได้ยากกว่าเพราะอยู่สูงจากขอบฟ้าไม่มากนักและมีแสงสนธยารบกวน  ลุ้นให้ฟ้าใสไม่มีเมฆดูได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย
 
       ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2558 ดาวเคียงเดือนจะกลับมาปรากฏให้เห็นอีกครั้ง มีดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์ อยู่เคียงกัน ในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณสองทุ่มจึงตกลับขอบฟ้าไป คล้ายกับวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่ครั้งนี้ดาวศุกร์เปลี่ยนตำแหน่งมาอยู่เหนือดาวพฤหัสบดี ห่างกันเพียง 5 องศา พร้อมดวงจันทร์ข้างขึ้น 2 ค่ำปรากฏเป็นเสี้ยว ตะแคงอยู่ด้านล่างของดาวเคราะห์ทั้งสอง ดวงจันทร์อยู่ห่างจากดาวเคราะห์ทั้งสองมากกว่า จึงไม่วางตัวเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าเหมือนครั้งที่ผ่านมา และอาจจะสังเกตได้ยากกว่า เนื่องจากดวงจันทร์จะอยู่สูงจากขอบฟ้าเพียงเล็กน้อยและมีแสงสนธยารบกวน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย หากวันดังกล่าวท้องฟ้าปลอดโปร่งไม่มีเมฆฝนก็จะมีโอกาสมองเห็นได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย 
 
       ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับปรากฏการณ์ “ดาวเคียงเดือน” ในลักษณะคล้าย “ดวงจันทร์ยิ้ม” ที่จะสามารถเห็นได้ใประเทศไทย ต้องรอคอยกันอีกนานพอสมควรจึงจะได้เห็นอีกครั้งหนึ่ง ส่วนดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี หลังจากวันที่ 18 ก.ค. เป็นต้นไป ดาวเคราะห์ทั้งสองจะเคลื่อนห่างออกจากกันเรื่อย ๆ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้สังเกตด้วยตาเปล่าได้ยาก  จนถึงประมาณวันที่ 24 ตุลาคม 2558 ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีจะกลับมาปรากฏให้เห็นเคียงกันอีกครั้ง ในช่วงเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ สามารถติดตามได้ที่ www.narit.or.th หรือ www.facebook.com/NARITpage

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โทร. 053-225569 ต่อ 210 , 081-8854353 โทรสาร 053-225524 
E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน     Website : www.narit.or.th
Facebook : www.facebook.com/NARITpage
Twitter : @N_Earth ,  Instagram : @NongEarthNARIT
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313
 
เผยแพร่ข่าว : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :     อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313
 
 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป