![]() |
รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยต่อสื่อมวลชน ถึงความคืบหน้าการค้นหาคำตอบด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากปรากฏการ “ไฟไหม้ปริศนา จ.พัทลุง” โดยกล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ส่งทีมนักวิจัยลงพื้นที่ จำนวน 2 ทีมแยกเป็นอิสระ เพื่อทำการตรวจสอบแบบ Double Check โดยทีมแรกเป็นทีมนักวิจัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยตรง ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) รวมถึงสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดยได้นำเครื่องมือไปตรวจวิเคราะห์สถานที่เกิดเหตุ ประกอบด้วย (1) Portable XRF วิเคราะห์หาธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสาร Self-ignition (2) เครื่องมือเก็บ Particle ในอากาศโดยเพื่อนำกลับมาวิเคราะห์หาธาตุที่ติดไฟเอง ด้วยเทคนิค X-ray fluorescence และ (3) Gas Detection Solution (ส่วนใหญ่ใช้ในท่อส่งน้ำมันหรือส่งแก๊ส) เพื่อตรวจเช็คสารไวไฟ บริเวณที่นอน และกองผ้าที่เคยเกิดไฟไหม้ ทั้งนี้ จากรายงานของทีมนักวิจัยทีมแรก ปรากฏว่าไม่พบธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารที่ติดไฟเอง (Self-ignition) บริเวณพื้นบ้านและผนังบ้าน แต่พบธาตุแม็กนีเซียม และซัลเฟต บริเวณห้องนอน พร้อมทั้งมีการร้องเตือนของเครื่องมือของเครื่องตรวจเช็คสารไวไฟ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสารไวไฟชนิดใด ทำให้จำเป็นต้องใช้เทคนิคขั้นสูงในการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
![]() |
![]() |
หลังจากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ประสานทีมที่ 2 มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นหน่วยงานเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีที่ทำงานในพื้นที่ร่วมกับศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ภาคใต้ (ศวภ.3) โดยเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยทักษิณ พิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยกันบริเวณพื้นที่รอบบ้านที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้มีคนเข้าออกพลุกพล่าน มีการตั้งกล้องวงจรปิด 11 จุด ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อสังเกตการณ์และวิเคราะห์เปลวไฟว่าเกิดจากสารตั้งต้นตัวใด ใช้เครื่องมือตรวจจับแก๊ส พร้อมเก็บวัตถุที่เคยเกิดไฟไหม้นำไปตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีประเภท Oxidant ตรวจจับแก๊ส ทั้งในบ้านและรอบนอกตัวบ้าน พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องตรวจวัดความร้อน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยทักษิณได้ดำเนินการตรวจสอบโครงสร้างทางธรณีวิทยาโดยตรวจสอบประจุไฟฟ้า และติดตั้งกล้องวัดอุณหภูมิ ความชื้นและรังสี 8 ตัว เพื่อวัดค่าที่เกิดขึ้นบริเวณบ้าน
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |