กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน รมว.วท. ร่วมแถลงผลงานรัฐบาล 6 เดือน ส่งเสริมการใช้ วทน. พร้อมเป็นข้อต่อให้ทุกกระทรวง

รมว.วท. ร่วมแถลงผลงานรัฐบาล 6 เดือน ส่งเสริมการใช้ วทน. พร้อมเป็นข้อต่อให้ทุกกระทรวง

พิมพ์ PDF

         วันที่ 17 เมษายน 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลรอบ 6 เดือน โดยมีคณะรัฐมนตรี ข้าราชการ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการรับฟัง พร้อมกับการจัดงานนิทรรศการแสดงผลงานในรอบ 6 เดือน ของกระทรวงต่างๆ เพื่อประกอบการแถลงผลงานของรัฐบาล ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

  ในการนี้ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้นำนายกรัฐมนตรีเข้าชมนิทรรศการผลงานรัฐบาลรอบ 6 เดือนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งได้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งสู่การปฏิรูปประเทศ โดยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม พร้อมเป็นข้อต่อให้ทุกกระทรวง รวมถึงภาคเอกชน เพื่อเป็นพลังร่วม ไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา โดยนำ 4 ผลงาน มาร่วมจัดแสดงภายในงาน ได้แก่ 

       1.ระบบควบคุมสำหรับหุ่นยนต์ฝึกการเคลื่อนไหวแขน (SensibleTAB) โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เป็นโต๊ะหุ่นยนต์ที่ใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวแขนของผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤต ที่สามารถตอบสนองการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยได้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันเครื่อง SensibleTAB ได้ติดตั้งใช้งานอยู่ที่โรงพยาบาล รามาธิบดี และโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ ใช้ในการทำการรักษาผู้ป่วยได้อย่างน้อย 2,500 session ต่อปี 

   2. มาตรการภาษีเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม (ยกเว้นภาษี 300%) โดยผู้ประกอบการภาคเอกชนต้องยื่นโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่อสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อตรวจสอบและรับรองว่าเป็นงานวิจัยฯ ที่มีคุณสมบัติจะสามารถยื่นขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้และการจัดทำบัญชีนวัตกรรมไทย และสิ่งประดิษฐ์ไทย เพื่อสนับสนุนและสงเสริมในการนำผลงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมไทยมาใชใหเกิดประโยชนตอการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ และสงเสริม ผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของไทยใหสามารถผลิตสูเชิงพาณิชย มีมาตรฐานเทียบเคียงที่เชื่อถือได ตลอดจนทดแทนการนำเขาจากตางประเทศ ซึ่งเปนการรวบรวมผลิตภัณฑหรือบริการใหมที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัย พัฒนา หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑหรือบริการเดิมดวยองคความรูดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยคนไทยมีสวนรวม ซึ่งอาจเปนผลิตภัณฑหรือบริการที่มีความคลายคลึงกับสิ่งที่มีอยูแลวก็ได ทั้งนี้ นวัตกรรมไทยตองผานการทดสอบและรับรองโดยหนวยงานที่เชื่อถือได มีความปลอดภัยตอผูใช และบริเวณใกลเคียง

   3. มาตรการควบคุมข้าวนาปรัง โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA นำเทคโนโลยีจากดาวเทียมเข้าช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อาศัยข้อมูลจากดาวเทียม TERRA และ AQUA ซึ่งเป็นดาวเทียมระบบ MODIS ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย เพื่อดูปริมาณการลดลงของการปลูกข้าวนาปรังทุก 15 วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับฤดูปลูกของปี 56-57 พบว่า ปี 2558 มีการปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศอยู่ที่ 5 ล้านไร่เศษ และเมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันคือเดือนมีนาคม ปี 2557 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังมากถึง 16 ล้านไร่กว่า สรุปได้ว่ามาตรการต่างๆ ของรัฐบาลส่งผลให้การปลูกข้าวนาปรังของปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้วถึง 3 เท่า น้ำในเขื่อนต่างๆ เหลือเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ โดยในเขตภาคกลางสามารถควบคุมได้ตามเป้าอยู่ที่ 4 – 5 ล้านไร่ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือควบคุมได้ไม่เกิน 1 ล้านไร่ ซึ่งมาตรการในการควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปรังทำให้ฤดูแล้งในปีนี้จะไม่ขาดแคลนน้ำอย่างที่หลายฝ่ายได้เคยวิตกกังวลไว้

         4. ระบบการจัดระดับชั้นอันตรายของไฟสำหรับประเทศไทย (Thailand Fire Danger Rating System, TFDRS) โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. ในฐานะหน่วยงานด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในด้านการจัดการสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำข้อมูลไปบูรณาการเพื่อบริหารจัดการไฟป่า จึงได้สนับสนุนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการไฟป่าร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าธนบุรี และสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) ในการพัฒนา ระบบการจัดระดับชั้นอันตรายของไฟ (Fire Danger Rating System : FDRS) สำหรับประเมินความอันตรายของไฟในลักษณะพยากรณ์ล่วงหน้า (Forecast) เพื่อประโยชน์ในการจัดการและควบคุมไฟป่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผลการพยากรณ์ของระบบการจัดระดับชั้นอันตรายของไฟ (Fire Danger Rating System : FDRS) ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ http://www2.dnp.go.th.gis/FDRS.html เป็นข้อมูลให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจในการจัดการและควบคุมไฟป่า วางแผน เตรียมความพร้อม เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมต่อพื้นที่ที่มีลำดับชั้นอันตรายแตกต่างกัน ในการจัดการและควบคุมไฟป่าในแต่ละวัน และสามารถแจ้งประกาศเตือนประชาชนให้ทราบถึงสถานการณ์อันตรายและความรุนแรงถ้าเกิดจากไฟไหม้ขึ้น 


 Download attachments: 

 

 

ข่าวโดย : นางสาวพจนพร แสงสว่าง

ภาพและวีดีโอ : นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์, นายรัฐพล หงสไกร

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์  สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทร. 02 333 3727-3732  โทรสาร 02 333 3834  E-Mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน  facebook : sciencethailand

 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» MSTQ ระบบการให้บริการใหม่จากกระทรวงวิทย์ฯ
» สันติสุข มะโรงศรี : สรุป "ผลงานรัฐบาล" ใน 8 นาทีได้เข้าใจง่าย มากกว่าที่รัฐประชาสัมพันธ์เอง !?
» ก.วิทย์ฯ จับมือ ก.ศึกษาฯ ผุดชุดซอฟต์แวร์ ช่วยการเขียน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทั่วประเทศ
» ผนึกกำลังสร้างเมืองนวัตกรรมอาหาร Thai Quote
» สวทช. ก.วิทย์ ร่วมกับ STS Forum และ JETRO จัดงานสัมมนาระดับภูมิภาค “ASEAN – Japan Workshop in Thailand: Innovation, Science, and Technology for Sustainable Development”
» เมื่อไทย กำลังเดินหน้า ยุค อุตฯ 4.0 ฟัง “พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์”(Thai Quote)
» รมว.วท. รายงานความสำเร็จผ่านเฟซบุกส่วนตัว เผยรัสเซียลงทุนในไทยเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป