|
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 13.30 น. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการประชุมหารือร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อร่วมกันบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมี รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในการประชุม นายกมล ศิริบรรณ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า สป.วท.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การประชุมหารือดังกล่าวมีประเด็นดังต่อไปนี้
1. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.)จะดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงาคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อร่วมขับเคลื่อนการส่งเสริม Talent Mobility โดยจะจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวก Talent Mobility (TM Clearing House) 4 แห่ง ได้แก่ ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม /มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ภาคเหนือ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) และภาคใต้ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานความต้องการบุคลากรวิจัยของสถานประกอบการกับหน่วยงานต้นสังกัด สนับสนุนการจัดทำ /ปรับปรุงกฎระเบียบหน่วยงานต้นสังกัดในการส่งเสริมนักวิจัยไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ นำร่อง Talent Mobility ในส่วนกลาง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และส่วนภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พัฒนาฐานข้อมูลความต้องการบุคลากร วทน. ของสถานประกอบการ และฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐเพื่อใช้สืบค้นและจับคู่ (TM Database) จัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สวทน. และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนการจับคู่บุคลากร วทน. กับสถานประกอบการใน 43 กลุ่มอุตสาหกรรม
2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จะดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)โดยร่วมกันผลักดักให้เกิดความร่วมมือ ระหว่าง วท. กับ ศธ. ในการจัดทำและยกร่างกรอบแนวคิด (National STEM Master Plan) ผลักดันการจัดทำ National STEM Master Plan เมื่อจัดทำ National STEM Master Plan แล้วเสร็จ จะนำเสนอ ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบ
โครงการนำร่อง/ขยายผลการเรียนรู้ทางด้าน STEM โครงการเตรียมเส้นทางอาชีพ STEM: Career Academy โรงงานในโรงเรียน
“ส่งเสริมผู้มีกำลังในภาคการผลิตและบริการทำงานกับโรงเรียนหรือวิทยาลัยในพื้นที่ พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและอาชีพที่ดี รวมทั้งการเป็นผู้ประกอบการในห่วงโซ่มูลค่าในสาขาที่พื้นที่มีศักยภาพ”
เป้าหมาย หลังสิ้นสุดระยะเวลาของแผนแม่บท มีดังนี้
- นักเรียนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวะศึกษาจำนวนกึ่งหนึ่งได้รับการอบรมด้านสะเต็มศึกษาอย่างมีคุณภาพ บัณฑิตที่จบการศึกษาจาก สถาบันอุดมศึกษาในสาขาสะเต็มมีจำนวนเป็นกึ่งหนึ่งของบัณฑิตทั้งหมดในรอบหนึ่งปี และจำนวนกำลังคนด้านสะเต็มที่มีทักษะแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 ในภาคเอกชนและภาครัฐมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
- ครูสายสามัญและครูอาชีวศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีได้รับการอบรมด้านสะเต็ม และมหาวิทยาลัยจำนวนกึ่งหนึ่งใช้โปรแกรมการอบรมสะเต็มให้กับนักศึกษาครู และครูปฏิบัติการ
- แรงงานไทยกึ่งหนึ่งที่มีทักษะระดับกลางและระดับสูงได้รับการอบรมเกี่ยวกับทักษะแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะในการทำงานซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ และนำมาซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
PPP-STEM 21 จะประกอบด้วยองค์กรที่ให้บริการด้านสะเต็มศึกษา สร้างกำลังคน รวมถึงองค์กรที่จ้างงานกำลังคนด้านสะเต็มเพื่อพันธกิจหลักขององค์กร โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- หน่วยงานภาครัฐในสังกัดกระทรวงต่างๆ ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม และวิเทศสัมพันธ์ เทศบาลเมืองและจังหวัดต่างๆรวมถึงองค์กรในส่วนภาครัฐทั้งหมดจะเป็นตัวแทนที่มีส่วนร่วมจากภาครัฐ
- หน่วยงานภาคเอกชน มูลนิธิ กลุ่มชุมชน หอการค้า สมาพันธ์อุตสาหกรรมไทย สมาคมวิชาชีพ ภาคอุตสาหกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ และองค์กรอิสระ เช่น NGO
- องค์กรระดับนานาชาติในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรออสเตรเลีย ฟินแลนด์ เยอรมณี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอาเซียน SEAMEO องค์กรยูเนสโก เป็นต้น
โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเป็นองค์กรที่เสนอแผนแม่บท ซึ่งมีโครงการต่างๆ ดังนี้
- โครงการประชาสัมพันธ์ด้านสะเต็มการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ PPP-STEM 21
เป้าหมายการดำเนินการภายใน 5 ปี : ประชาสัมพันธ์ด้านสะเต็ม รวมถึงมีการประชุมประจำปีด้านสะเต็ม 5 ครั้ง มีการประชุมระดับภูมิภาคและท้องถิ่น 50 ครั้ง มีการประชุมและดูงานระดับย่อย 500 ครั้ง มีเว็บไซด์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมถึงรายงานประจำปีด้านสะเต็ม และนิตยสารสะเต็มรายเดือน
-โครงการศูนย์สะเต็มศึกษาในโรงเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาคเอกชน
เป้าหมายการดำเนินการภายใน 5 ปี : มีศูนย์สะเต็มหรือชมรมสะเต็มในโรงเรียน 15,000 แห่ง วิทยาลัยอาชีวศึกษา 200 แห่ง มหาวิทยา 75 แห่ง หน่วยงานรัฐ 25 แห่ง หน่วยงานเอกชนรวมถึงมูลนิธิสมาคมต่างๆอีก 70 แห่ง
-โครงการฝึกอบรมและพัฒนาครูสะเต็มโดยทูตสะเต็มและอาจารย์ด้านสะเต็ม
เป้าหมายการดำเนินการภายใน 5 ปี : มีการพัฒนาครูสะเต็มในโรงเรียนจำนวน 50,000 คน อาจารย์ระดับอาชีวศึกษา จำนวน 3,000 คน อาจารย์มหาวิทยาลัยด้านสะเต็มจำนวน 6,000 คน และมีทูตสะเต็ม 10,000 คน
-โครงการหลักสูตรสะเต็มศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
เป้าหมายการดำเนินการภายใน 5 ปี : หลักสูตรสะเต็มศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 หลักสูตร หลักสูตรสำหรับอาชีวศึกษา 5 หลักสูตร หลักสูตรสะเต็มศึกษาสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาตรีจำนวน 20 หลักสูตร
-โครงการสื่อดิจิตอลด้านสะเต็ม (iSTEM)
เป้าหมายการดำเนินการภายใน 5 ปี : มีระบบ iSTEM ใน สสวท. ที่เชื่อมต่อกับระบบ iSTEM ในศูนย์สะเต็มต่างๆในโครงการศูนย์สะเต็มศึกษาในโรงเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาคเอกชน
-โครงการประเมินศักยภาพด้านสะเต็ม
เป้าหมายการดำเนินการภายใน 5 ปี : มหาวิทยาลัยต่างๆยอมรับประกาศนียบัตรการทำโครงการสะเต็มของนักเรียนเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าเรียน นอกจากนี้โครงการสะเต็มของนักเรียนจะได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับชาติและระดับนานาชาติอีกด้วย
-โครงการกำลังคนด้านสะเต็มศึกษา การพัฒนาวิชาชีพด้านสะเต็มและหอเกียรติยศด้านสะเต็ม
เป้าหมายการดำเนินการภายใน 5 ปี : รายงานประจำปีเกี่ยวกับกำลังคนด้านสะเต็มและอัตราเงินเดือนของกำลังคนสะเต็มในภาคธุรกิจต่างๆควรมีความดึงดูดต่อการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม AEC ต่างๆ
|
|
|
3. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ. ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จะดำเนินงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี สำนักงานปลัดกระทรวง(ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหน่วยงานหลัก โดยจะร่วมกันกำหนดความต้องการการนำเสนอข้อมูลด้านการศึกษาผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ จัดทำ/ให้บริการการเชื่อมโยงข้อมูลเชิงพื้นที่ ร่วมพัฒนาระบบ ติดตั้งและทดสอบ การปรับเปลี่ยนและถ่ายโอนข้อมูล การอบรมและให้ความรู้กับบุคลากรจัดการประชุม จัดส่งผู้แทนเป็นวิทยากร
โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกันคือ ให้หน่วยงานใน วท. ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางด้านการศึกษาให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน เชื่อมโยงข้อมูลของทุกหน่วยงานสามารถนำเสนอข้อมูลให้เลือกใช้งานได้อย่างทันท่วงที เช่น แสดงข้อมูลพื้นฐานบนแผนที่ประเทศไทย(GIS)
4. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) จะดำเนินการการพัฒนาระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทดสอบการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทยและเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ประชุมหารือแนวทางกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)เพื่อให้ SMEs ได้รู้ถึงการใช้ประโยชน์ระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี การจัดอบรมให้แก่ผู้นำเข้าข้อมูล ผู้ดูแลระบบและภาคเอกชนในส่วนภูมิภาค การจัดงานสร้างความตระหนัก เผยแพร่ให้ทั้งภาครัฐและเอชน เข้าใจถึงประโยชน์ของระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครับ บริหารการใช้งานและดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีที่จัดทำขึ้น
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการโดยทำหน้าที่สนับสนุนและนำเข้าข้อมูลในระบบโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขยายระบบบานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานฯ
โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกันคือ 1. เพื่อให้การขยายระบบบานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐฯ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่มีศักยภาพด้าน เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการนักวิทยาศาสตร์ และผลงานวิจัย ให้อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน และสามารถขึ้นข้อมูลได้ตลอดเวลา 2.ส่งเสริการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่รัฐลงทุนไปแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายซึ่งจะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต
ภาพข่าวและเผยแพร่โดย : นางสุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์
ข่าวโดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
อีเมลล์ :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน