กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน นายกตู่ ปลื้ม! ซินโครตรอน โชว์เจ๋ง! งานวิจัยใช้ประโยชน์จริง

นายกตู่ ปลื้ม! ซินโครตรอน โชว์เจ๋ง! งานวิจัยใช้ประโยชน์จริง

พิมพ์ PDF

 
     ในโอกาสที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี  ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และคณะผู้บริหารกระทรวงฯ รวมถึง ศ.น.ท.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ให้การต้อนรับ โดยหลังจากการประชุม นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมผลงานวิจัยเชิงพาณิชย์ ที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในแผนปฏิรูปของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นั้น มี 8 หน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รวมถึงสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้นำผลงานวิจัยเด่นกว่า 40 ชิ้น แบ่งออกเป็น 6 ด้านครอบคลุมการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย เพิ่มมูลค่าผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมอุตสาหกรรม สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน นอกจากนี้ยังมองถึงสุขภาพของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ และความมั่นคงทางพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในรูปแบบนิทรรศการพิเศษ รวมผลงานวิจัยแล้วสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้หลายหมื่นล้านบาท
 
 
 
     โดยในนิทรรศการนี้ ซินโครตรอนได้โชว์ผลงานวิจัยและพัฒนาที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จำนวนหลายชิ้น  ที่ทางภาคเอกชนได้เข้ามาใช้บริการแสงซินโครตรอน เพื่อวิจัยผลิตภัณฑ์ของบริษัทและสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาปรับปรุงสินค้า เกิดนวัตกรรม อันจะก่อให้เกิดการมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจส่งผลให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศได้
 
 
 
     ยกตัวอย่างเช่น  บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์  พัฒนาสูตรเม็ดพลาสติกด้วยแสงซินโครตรอน บริษัทสหวิริยาสตีล  ใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์ปัญหาลายไม้ที่เกิดขึ้นบนแผ่นเหล็กรีดร้อนนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพและมูลค่าที่สูงขึ้น บริษัทอีตัน อินตัสทรีส์ (ประเทศไทย) ได้ทดสอบอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ โดยใช้แสงอินฟราเรดสามารถตรวจพบปัญหาและพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของสารเคมีที่เป็นสาเหตุของปัญหาผลึกเส้นสีขาวปรากฏบนชิ้นด้ามจับไม้กอล์ฟได้ จึงนำไปสู่การปรับปรุงสูตรการผลิตที่เหมาะสม  บริษัท ฮันนี่เวลล์ ซิสเต็มส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ทำการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ปัญหาการปนเปื้อนของทองแดงบนชิ้นงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  บริษัทสงวนวงษ์ อุตสาหกรรม จำกัด ได้วิจัยการผลิตไฟเบอร์จากกากมันสำปะหลัง เพื่อให้ไฟเบอร์ให้มีสีขาวมากขึ้น ลดปริมาณไซยาไนด์ และมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่ต้องการ ส่งผลการขายได้ในตลาดทางอาหารที่กว้างขึ้น เพิ่มยอดขายให้แก่บริษัท เป็นต้น ในการนี้งานวิจัยที่เกิดขึ้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจได้หลายร้อยล้านบาทต่อปี  ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสนใจสอบถามและให้คำแนะนำการดำเนินงานกับการสถาบันอีกด้วย
ผู้ประสานงาน น.ส.ศศิพันธุ์ ไตรทาน / น.ส.กุลธิดา พิทยาภรณ์
เบอร์โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1252, 1601  โทรสาร 0-4421-7047
อีเมลล์: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
e-mail :   อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand

 

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป