กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน กรมวิทยาศาสตร์บริการ หนุนผู้ประกอบการ OTOP สู่ความสำเร็จด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กรมวิทยาศาสตร์บริการ หนุนผู้ประกอบการ OTOP สู่ความสำเร็จด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พิมพ์ PDF

 

วันนี้  (20 มกราคม 2558)   ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ  เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ก้าวไกลสู่ระดับสากลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เรื่อง “สร้างคุณภาพสินค้า OTOP เพื่อรายได้ที่ยั่งยืน”  โดยมี นายวัฒนะ กันนะพันธุ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก และคณะผู้บริหาร ข้าราชการในพื้นที่ ให้การต้อนรับ  ซึ่งในการสัมมนามีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 300  คน ประกอบด้วยผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาการจังหวัด หอการค้าจังหวัด และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง  ณ โรงแรมอัมรินทร์ลากูน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  
ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์    กล่าวว่า “การจัดงานสัมมนาครั้งนี้มุ่งให้เกิดการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในกลุ่มจังหวัด เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด และมีความต่อเนื่องครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ  เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการในจังหวัดหรือชุมชนส่งเสริมให้ได้รับความช่วยเหลือสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานได้อย่างเป็นรูปธรรมตรงตามความต้องการ  สามารถพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน  ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการมุ่งเน้นขับเคลื่อนโดยนำผลงานวิจัยของกรมมาถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP  ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการชุมชน  เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ OTOP ให้สามารถแข่งขันและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นสังคมที่สงบสุข  เสริมสร้างรากฐานความมั่นคง และมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ OTOP ของไทยแต่ละภาค มีเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่โดดเด่น เป็นที่นิยมของ  ผู้ซื้อ ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนได้ ซึ่งยุทธศาสตร์ของจังหวัดพิษณุโลก ในการพัฒนากระบวนการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการสินค้าเกษตรเชิงคุณภาพ เน้นการบริหารจัดการสินค้าเกษตร ให้มีคุณภาพมาตรฐานปลอดภัย เชื่อมโยงการตลาด  และการแปรรูป มีความสอดคล้องกับการดำเนินโครงการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ OTOP      ให้ก้าวไกลสู่ระดับสากลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของกรมวิทยาศาสตร์บริการที่เน้นนำงานด้านบริการทางห้องปฏิบัติการ ให้บริการต่อสังคม ช่วยให้ผู้ประกอบการ OTOP มีความรู้และความตระหนัก ถึงการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเป็นใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีความรับผิดขอบต่อสังคม เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิต พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน  และสามารถยื่นขอการรับรองได้ตามมาตรฐานได้  
นางสาววีรยา โชติวิวัฒนกุล ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนลีลามะขามยิ้ม จากบ้านสักงอย ตำบลวัดป่า  อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์   ได้เล่าถึงความสำเร็จว่า ได้รับความช่วยเหลือโดยมีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตั้งแต่การสังเกต คัดเลือกมะขามที่เป็นวัตถุดิบ ไม่ให้มีเชื้อรา ตลอดจนถึงการพัฒนาการอบกันความชื้นในมะขาม  ซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคนิคการอบไล่ความชื้นในอุณหภูมิสูงทำให้ผลิตภัณฑ์มะขาม ที่ได้มีคุณภาพดีไม่มีเชื้อราและมีสีสันสวยงานตามธรรมชาติ รวมทั้งได้รับคำแนะนำในการเลือกเครื่องมือสำหรับการชั่งผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยให้น้ำหนักของผลิตภัณฑ์ที่บรรจุส่งตรวจมาตรฐาน มผช. มีความถูกต้องเต็มตามจำนวนที่ระบุในฉลาก สิ่งต่างๆ  เหล่านี้ได้ประกอบร่วมกันทำให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้รับการพัฒนาและส่งจำหน่ายได้เพิ่มมากขึ้น”
ภายในงานได้มีผู้ประกอบการ OTOP ที่ได้เล่าความสำเร็จพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การผ่านอุปสรรค การแก้ไขปัญหา ได้แก่ นายธนกฤติ  สอนเพียร  กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จากตำบลบึงพระ  อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายนิทัศน์  จันทร จากกลุ่มผ้าทอบ้านไร่ตำบลทัพหลวง  อำเภอบ้านไร่   จังหวัดอุทัยธานี  
นายกฤตน  กิตติโรจนา ผู้ประกอบการรุ่นใหม่จากโรงงานกิตติโรจน์เซรามิคส์  ตำบลต้นธงชัย  อำเภอเมือ  จังหวัดลำปางและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. รัชนี  เพ็ชรช้าง  จากหน่วยงานที่สนับสนุนการทดสอบผลิตภัณฑ์ OTOP  ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
นอกจากการเข้าร่วมสัมมนาแล้วผู้ประกอบการยังได้นำผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มเข้าร่วมจัดแสดงเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายหลากหลายทั้งกลุ่มอาหาร และเครื่องดื่ม กลุ่มของใช้  ของประดับ และของที่ระลึก กลุ่มผ้า และเครื่องแต่งกายกลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร  ซึ่งได้รับความสนใจและส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน   
    
ข่าว : วลัยพร ร่มรื่น   ภาพข่าว : ธนกร ศิริกิจ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขที่ 75/7ถนนพระรามที่ 6ราชเทวี กรุงเทพฯ10400 
โทร 0 2201 7098 ,  089 142 2788
โทรสาร 0 2201 7470  e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
 
Tags วศ.
 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมมือสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พัฒนาและส่งเสริมการรับรองสมรรถนะของบุคคลสู่มาตรฐานสากล
» กรมวิทยาศาสตร์บริการ จับมือ 4 กระทรวงจัดสัมมนาสร้างความเชื่อมั่นการรับรองระบบงานโลก
» วท.ยก NQI/MSTQ พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย
» กรมวิทยาศาสตร์บริการผ่านการพิจารณาเรื่องการคงสถานะของการยอมรับร่วมด้านการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ
» การยกระดับอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยระบบการรับรองบุคลากรตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024
» กรมวิทยาศาสตร์บริการเปิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีแปรรูปยางธรรมชาติให้กับผู้ประกอบการไทยวันแรก
» แถลงข่าว “การใช้สารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานความรู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาคุณภาพชีวิต”
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป