กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ดร.พิเชฐ นำทีมผู้บริหารกระทรวงฯ ตรวจเยี่ยม Astro Park แหล่งความรู้สาธารณะทางดาราศาสตร์

ดร.พิเชฐ นำทีมผู้บริหารกระทรวงฯ ตรวจเยี่ยม Astro Park แหล่งความรู้สาธารณะทางดาราศาสตร์

พิมพ์ PDF

 

 

            (17 มกราคม 2558) ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ ที่ปรึกษาฯ นางสาวเสาวณี มุสิแดง ผู้ช่วยฯ รศ.ดร.เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร และคณะ เดินทางมายัง Astro Park เพื่อตรวจเยี่ยมสถานที่ก่อสร้าง Astro Park แหล่งความรู้สาธารณะทางดาราศาสตร์ ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนและเยาวชน ณ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
 
       
     อุทยานดาราศาสตร์ (Astro Park) เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในแผนที่นำทาง (Road Map) ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งจะเป็นศูนย์เชื่อมโยงการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาสถาบันไปสู่ความเป็นศูนย์กลางด้านดาราศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และศูนย์กลางความร่วมมือทางดาราศาสตร์ในประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์พัฒนานักวิจัยระดับสูงทางด้านดาราศาสตร์และเป็นศูนย์วิจัยทางด้านดาราศาสตร์ระดับนานาชาติ บ่มเพาะเยาวชนทางด้านดาราศาสตร์และพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ ให้การอบรมทางด้านดาราศาสตร์ในระดับชาติเพื่อพัฒนาครูผู้สอนวิชาดาราศาสตร์ทั่วประเทศ อบรมทางดาราศาสตร์ระดับนาชาติเพื่อรองรับการเข้าร่วมกับดำเนินการด้านพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับประเทศในประชาคมอาเซียน สร้างเสริมความตระหนักและความตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ดาราศาสตร์เป็นสื่อเพื่อเป็นแหล่งความรู้สาธารณะทางดาราศาสตร์และอวกาศ ตลอดจนการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนและเยาวชน
 
     อุทยานดาราศาสตร์เป็นศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ และการให้บริการข้อมูลทางดาราศาสตร์ที่เชื่อมระหว่างหอดูดาวแห่งชาติ กับหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนทั้ง 6 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งเชื่อมโยงกับหอดูดาวของสถาบันที่ตั้งอยู่ที่ Cerro Tololo International Observatory (CTIO) ประเทศสาธารณรัฐชิลีภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย North Carolina โดยผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์ความร่วมมือกับหอดูดาวเครือข่ายในต่างประเทศ เช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น
 
      โครงสร้างของอุทยานดาราศาสตร์ ประกอบด้วย  
     - อาคารศูนย์วิจัยและบริการทางดาราศาสตร์
     - อาคารพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ไทยและส่วนนิทรรศการ 
     - อาคารฉายดาว
     - อาคารหอดูดาว ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบริชชี-เครเทียน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ตัวอาคารครอบด้วยโดมทำจากวัสดุไฟเบอร์กลาส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร กล้องโทรทรรศน์ดังกล่าวเป็นกล้องที่มีความทันสมัย มีขีดความสามารถสูงสามารถรองรับการวิจัยในระดับเบื้องต้นได้ ระเบียงดาวมีหลังคาแบบเลื่อนเปิดออกได้ (sliding roof) ซึ่งจะติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีขีดความสามารถสูง ใช้ในการให้บริการดูดาวและใช้ในการถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าจำนวน 4-6 กล้อง
     - อาคารหอประชุมและสัมมนา ห้องประชุมอเนกประสงค์ 2 ห้อง ความจุ 100 และ 200 ที่นั่ง 
     - ห้องคอมพิวเตอร์สำหรับฝึกอบรมและการสืบค้นข้อมูล ห้องสมุดดาราศาสตร์
     - ลานกิจกรรมอเนกประสงค์กลางแจ้ง (amphitheatre) ใช้ในการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การดูดาว ได้ถึง 500 คน
 
ข้อมูล : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
 
ข่าวโดย : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ
ถ่ายภาพ : นางสุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์ และ นายรัฐพล หงสไกร
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732  โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Facebook : sciencethailand
 
 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป