วันนี้ (14 มกราคม 2558) เวลา 13.30 น.ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ได้รับเกียรติให้เป็นประธานและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง “นโยบาย วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปประเทศ” โดยมี รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) พร้อมด้วยคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมรับฟังการปาฐกถาดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ทราบถึงความคืบหน้าถึงแนวคิดเรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพื่อการปฏิรูปประเทศแบบก้าวกระโดด ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
นโยบายรัฐบาลเพื่อการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่
- เพิ่มการลงทุนด้าน วทน. เป็น 1% ของ GDP และเพิ่มสัดส่วนของการลงทันระหว่างภาครัฐและเอกชน
- ปฏิรูประบบบริหารจัดการ วทน. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างความเชื่อมโยงกับภาคเอกชน
- เร่งการพัฒนากำลังคนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านมาตรการต่างๆ เช่น STEM, Talent Mobility, Work - integrated Leaning, iTap และการพัฒนากำลังจะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาภาคการผลิต
- ปฏิรูประบบการให้แรงจูงใจ กฎหมาย กฏระเบียบเพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์งานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญาสู่เชิงพาณิชย์
- กำหนดเงื่อนไขให้มีการลงทุนใน วทน. ของการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) ช่วยลดการนำเข้าเทคโนโลยี พึ่งพาเทคโนโลยีของตนเองมากขึ้น ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ภาคการผลิตของไทยเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการระบบราง โครงการด้านพลังงาน และโครงการด้านบริหารจัดการน้ำ
- กำหนดเงื่อนไขของการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐให้เป็นเครื่องมือส่งเสริมนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ
- พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน วทน. ของประเทศ เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ เช่น ระบบ ICT, ห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิจัย ฯลฯ
![]() |
ดร.พิเชฐ กล่าวถึง เหตุผลที่ต้องปฏิรูป วทน. ของประเทศ คือ1.) วทน. เป็น accelerator ให้ประเทศไทยออกจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้ ในระยะเวลาไม่นานเกิน 2.) ประเทศไทยมีโจทย์ทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนมากที่ต้องการทางออก (Solution) ใหม่ๆ ที่ต้องใช้ วทน. 3.) ประเทศไทยยังมีจุดแข็งหลายอย่างที่สามารถเป็นฐานสำหรับการพัฒนาแบบก้าวกระโดดได้หากจัดระบบ วทน. เข้าหนุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.) ระบบนวัตกรรมแห่งชาติของประเทศไทยมีข้อจำกัดในการดำเนินการให้เกิดประสิทธิผลทั้งในเชิงโครงสร้างและเชิงกลไกล
UNCTAD STI Policy Review (2014)
- Government Policy/Initiatives : มีการออกแบบนโยบายและแผน วทน. ไว้อย่างดี แต่มีปัญหาอย่างมากในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวสู่ภาคปฏิบัติ อุปสรรคที่สำคัญคือ โครงสร้างการกำกับและการบริหารจัดการดูแล วทน.(governance structure) และการขาดยุทธศาสตร์และเป้าหมายในการขับเคลื่อน
- Innovation Climate and Trends (ecosystem):
- มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐส่วนใหญ่ขาดการเชื่อมโยงและการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม
- องค์กรกลางยังมีบทบาทจำกัดในการส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกเว้นกรณีของสถาบัน HDD
- มีบริษัทที่เป็น technology – based firms จำนวนน้อย และระบบสนับสนุน technology start-ups มีจำกัด
- Innovation Promotion Scheme : มีโปรแกรมการสนับสนุนทางเงินแก่ SMEs และการสร้างนวัตกรรมอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น โครงการคูปองนวัตกรรม โครงการ iTAP และอื่นๆ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมเหล่านี้มีลักษณะกระจัดกระจายเป็นส่วนเล็กๆและขาดการเชื่อมโยงบูรณาการกัน ส่งผลให้โปรแกรมสนับสนุนนวัตกรรมเหล่านี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศแต่อย่างใด
![]() |
![]() |
![]() |
- R&D Programs: ระบบสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการจัดโครงสร้างที่ดี แม้จะมีโปรแกรมสนับสนุนอยู่มาก แต่ขนาดของโครงการและเม็ดเงินที่สนับสนุนเล็กน้อยเกินไป นอกจากนี้ ไม่มีการจัดลำดับความสำคัญ และไม่มีระบบติดตามและประเมินผลการให้ทุนวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ
- Human Resources, education and colture :
- บุคลากรด้าน วทน. ไม่เพียงพอ คุณภาพไม่สูง
- ขาดการส่งเสริมทักษะด้าน entrepreneurial and innovation
- นักเรียนที่จบจากสถาบันอาชีวศึกษามีประมาณและคุณภาพไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
- สื่อการเรียนรู้การสอนและคุณภาพครูยังต้องได้รับการพัฒนาและยกระดับอีกมาก
ทั้งนี้ ดร. พิเชฐ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า”วิทยาศาสตร์ไม่ได้อยู่ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ที่เดียว แต่วิทยาศาสตร์อยู่ที่ตัวเราทุกคน และอยู่กับทุกกระทรวงและวิทยาศาสตร์นอกเหนือจากคำว่าวิทยาศาสตร์แล้ว วิทยาศาสตร์จะต้องเป็นข้อต่อ ให้กับการพัฒนาประเทศไทยต่อไปด้วย
เขียนข่าวโดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ
ภาพข่าวและวีดิโอ : นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร, นายรัฐพล หงสไกร
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สบ.