กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน สวทช. เปิดตัวเลนส์ทวิทรรศน์แบบพกพาและเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน

สวทช. เปิดตัวเลนส์ทวิทรรศน์แบบพกพาและเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน

พิมพ์ PDF

           กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ได้เปิดตัวผลงานวิจัยของห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ “เลนส์ทวิทรรศน์แบบพกพาและเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน ซึ่งมีกำลังขยายมากถึง 50 และ 100 เท่า” ซึ่ง ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นักวิจัยจากห้องปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ได้คิดค้นทำ “เลนส์ทวิทรรศน์ติดอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบพกพา” เป็นเลนส์ที่ทำจากพอลิเมอร์ สามารถเปลี่ยนและเชื่อมต่อแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เป็นกล้องจุลทรรศน์เคลื่อนที่ได้  ซึ่งสามารถกำหนดกำลังขยายได้ด้วยวิธีทำเลนส์ที่มีสิทธิบัตรเฉพาะ โดยออกแบบเลนส์ให้มีสองกำลังขยายในอันเดียว เลนส์จะติดกับหน้ากล้องได้แนบสนิทและออกแบบให้มีแท่นวางตัวอย่างให้สามารถ ใช้กับกล้องหน้าและกล้องหลังได้อย่างสะดวก การใช้งานง่าย  โดยเลือกเลนส์ที่มีกำลังขยายที่ต้องการ แล้วติดเลนส์ลงบนหน้ากล้อง ก็สามารถส่องดูตัวอย่างงานได้อย่างที่ต้องการและอุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถ ถ่ายภาพหรือบันทึกวีดีโอได้ทันที

           สำหรับกล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการศึกษารายละเอียดของสิ่งของเล็กๆ มีประโยชน์ทั้งในวงการการศึกษา การเกษตร และอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ใช้ในการตรวจความบกพร่องของชิ้นงาน รอยแตกขนาดเล็ก หรือสิ่งปลอมปนต่างๆ แต่กล้องจุลทรรศน์ส่วนใหญ่ ต้องติดกล้องถ่ายภาพเพิ่ม ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น     อีกทั้งไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการพกพา หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ถ่ายภาพอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน นักวิจัยจึงได้คิดค้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยใช้เวลาศึกษาวิจัย  4 เดือน จึงได้ผลงานวิจัย “เลนส์ทวิทรรศน์” ซึ่งผลงานนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการนำไปใช้ในการด้านการศึกษา การเกษตร อาทิ นำไปใช้ในการศึกษาสิ่งของขนาดเล็ก เช่น เซลล์พืช หรือ ใช้ในการดูสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำ หรือ รากพืช และใช้ในการส่องดูชิ้นงานโบราณ เพื่อดูตำหนิ หรือปรับใช้กับผู้นิยมพระเครื่องก็ได้

           ดร.ทวีศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลงานวิจัยเลนส์ทวิทรรศน์นี้ มีนโยบายที่จะดำเนินการบูรณาการร่วมกันกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้ครู เด็กและเยาวชน ได้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะสามารถทดแทนกล้องจุลทรรศน์ในปัจจุบันที่มีราคาสูงและไม่เพียงพอกับสถานการศึกษาต่างๆ ในประเทศ พร้อมกันนี้ ห้องปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ เนคเทค สวทช. ได้ดำเนินการนำร่องระดมทุนวิจัยทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้คนทั่วโลกได้เข้ามาสนับสนุนงานวิจัย ในระหว่างวันที่ 11 ธ.ค. 57 – 10 ม.ค. 58 โดยผ่านช่องทาง Crowdfunding ที่ใช้ในต่างประเทศ ซึ่งการระดมทุนผ่าน Crowdfunding นี้ สามารถเข้าไปได้ที่ https://www.indiegogo.com/projects/dual-microscope-lens-for-mobile-devices-twi-vis นอกจากจะทำให้นักวิจัยเข้าถึงแหล่งทุนวิจัยเพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้สำรวจตลาดและความต้องการของผู้ใช้ในวงกว้างได้รวดเร็วขึ้น จึงเป็นแนวทางที่ผลงานวิจัยจะสามารถตอบโจทย์ประเทศไทยในการนำงานวิจัยมาใช้ได้จริง

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» เปิดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโลกมืด กับ “ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น” ครั้งที่ 9
» ก.วิทย์ จับมือ ก.คลัง เปิดช่องทางใหม่ให้เอกชนรับรองโครงการวิจัยด้วยตนเอง เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษี 300% ได้สะดวก รวดเร็ว และหนุนการทำวิจัยเพิ่มมากขึ้น
» ก.วิทย์ โดย ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. จับมือ สสว. จัดเวทีนำเสนอนวัตกรรมและแผนธุรกิจสำหรับหาเงินทุนหรือผู้ร่วมทุน พร้อมสร้างเครือข่ายสตาร์ทอัพไอซีทีไทยในระดับนานาชาติ
» ก.วิทย์ สวทช. ร่วมมือกับเอไอที สนับสนุนบุคลากรวิจัยให้บริการและให้คำปรึกษาทางวิชาการ
» สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ สวทช. เผยผลสำรวจมูลค่าตลาดสื่อสารปี 59 ตลาดยังสดใส โต 11.5% ผลพวงจาก 4G และดิจิทัลอีโคโนมี
» กรมการข้าว ร่วมกับ สวทช. เปิดหมู่บ้านส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ข้าว ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง
» สวทช. ก.วิทย์ - สสส. และภาคีเครือข่าย หนุนเวที “นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม” ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ ใช้เทคโนโลยี แก้ปัญหาสังคม
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป