กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน กรมการข้าว จับมือ สวทช. วิจัยและพัฒนาข้าวไทย

กรมการข้าว จับมือ สวทช. วิจัยและพัฒนาข้าวไทย

พิมพ์ PDF

      ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สวทช. ให้ความสำคัญและเล็งเห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมข้าว โดยร่วมกับกรมการข้าวและหน่วยงานต่างๆ ในการวิจัยและพัฒนาด้านข้าวตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน (Marker Assisted Selection; MAS) จนได้พันธุ์ข้าวที่ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมการข้าว 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ กข51 (พันธุ์ข้าวเจ้า ทนน้ำท่วม ไวต่อช่วงแสง ปลูกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และพันธุ์ กข18 (พันธุ์ข้าวเหนียว ต้านทานโรคไหม้ ไวต่อช่วงแสง ปลูกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) รวมทั้งการพัฒนานักปรับปรุงพันธุ์รุ่นใหม่ของกรมการข้าว ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐานด้วย ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นอกจากนี้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ยังได้ร่วมกับกรมการข้าวพัฒนาเครื่องตรวจเมล็ดข้าวโดยใช้เทคโนโลยี โฟโทนิกส์เป็นเครื่องมือในการจำแนกรายละเอียดของข้าว แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย เครื่องวัดขนาดคัพภะของเมล็ดข้าว, เครื่องตรวจคุณภาพเมล็ดข้าว และเครื่องตรวจเมล็ดข้าวแดง เมล็ดข้าวเหนียว หรือเมล็ดข้าวเจ้า ที่ปนมากับเมล็ดพันธุ์ ซึ่งได้ทดสอบทางห้องปฏิบัติการและกรมการข้าวพร้อมกันพบว่ามีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 90% นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังมุ่งพัฒนาเครื่องตรวจให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการสนับสนุนวิเคราะห์ การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วยการประมวลผลภาพ (Image Processing) และการสร้างแบบจำลอง การเคลื่อนย้ายประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Modeling) เพื่อหารูปแบบในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพอากาศประจำถิ่นและภูมิประเทศกับรูปแบบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและการปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังเตือนภัย เป็นต้น

 

 

     นายชาญพิทยา ฉิมพาลี อธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กรมการข้าว และ สวทช. ได้มีความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาข้าวมาเป็นเวลานานแล้ว ก่อนที่จะมีการทำบันทึกลงนามความร่วมมือ ซึ่งความร่วมมือในช่วงแรกๆ เน้นทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วย เนื่องจากในช่วงเวลานั้น กรมการข้าว ยังขาดแคลนบุคลากรและเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สวทช. จึงให้ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และประสบการณ์ เรื่อง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลมาช่วยในการคัดเลือก จนประสบผลสำเร็จได้พันธุ์ข้าวนาน้ำฝนที่ทนต่อสภาพน้ำท่วมฉับพลันและพันธุ์ข้าวเหนียวที่ต้านทานโรคไหม้ จนปัจจุบันกรมการข้าว ได้ขยายขอบเขตของความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาร่วมกับเนคเทค สวทช. ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้ง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ในการวิจัยเกี่ยวกับวัสดุในการเก็บรักษาข้าวและเมล็ดพันธุ์ข้าว ส่วนงานวิจัยที่ร่วมกับไบโอเทค มาตั้งแต่แรกนั้น ได้ขยายขอบเขตไปจนถึงการพัฒนาพันธุ์ข้าวนาชลประทาน พันธุ์ข้าวลูกผสม รวมทั้ง การพัฒนาบุคลากรในการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง

     ความร่วมมือวิจัยและพัฒนาข้าวไทยระหว่างกรมการข้าว และ สวทช. เพื่อวิจัยและพัฒนาด้านข้าวตลอดห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม (Value chain) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในรูปแบบต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมกันจัดหาและสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านข้าว แลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ รวมทั้ง จัดฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ในการวิจัยและพัฒนา ด้านข้าวระหว่างบุคลากรของทั้งสองฝ่าย ความร่วมมือในวันนี้นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของอนาคตข้าวไทย ใช้จุดเด่นของแต่ละหน่วยงานมาทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการพัฒนาและผลิตข้าวทั้งระบบ


ผู้ส่งข่าว ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน คุณสรินยา ( 081-988-6614 ) , ชัชวาลย์
( 083 032-5145 ) โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ได้ที่ 02 564 7000  ต่อ  71730, 71725, 71727, 71728, ชัชวาลย์ ( 083 032-5145 )

 

เผยแพร่ข่าว : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 02 333 3700 ต่อ 3728 - 3732
 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» เปิดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโลกมืด กับ “ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น” ครั้งที่ 9
» ก.วิทย์ จับมือ ก.คลัง เปิดช่องทางใหม่ให้เอกชนรับรองโครงการวิจัยด้วยตนเอง เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษี 300% ได้สะดวก รวดเร็ว และหนุนการทำวิจัยเพิ่มมากขึ้น
» ก.วิทย์ โดย ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. จับมือ สสว. จัดเวทีนำเสนอนวัตกรรมและแผนธุรกิจสำหรับหาเงินทุนหรือผู้ร่วมทุน พร้อมสร้างเครือข่ายสตาร์ทอัพไอซีทีไทยในระดับนานาชาติ
» ก.วิทย์ สวทช. ร่วมมือกับเอไอที สนับสนุนบุคลากรวิจัยให้บริการและให้คำปรึกษาทางวิชาการ
» สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ สวทช. เผยผลสำรวจมูลค่าตลาดสื่อสารปี 59 ตลาดยังสดใส โต 11.5% ผลพวงจาก 4G และดิจิทัลอีโคโนมี
» กรมการข้าว ร่วมกับ สวทช. เปิดหมู่บ้านส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ข้าว ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง
» สวทช. ก.วิทย์ - สสส. และภาคีเครือข่าย หนุนเวที “นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม” ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ ใช้เทคโนโลยี แก้ปัญหาสังคม
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป