![]() |
![]() |
เปิดแล้วอย่างเป็นทางการกับมหกรรมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2557 ระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม 2557 ณ ศูนย์ประชุมและนิทรรศการนานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา จ.เชียงใหม่ ปีนี้จัดใหญ่ ภายในงานมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี
ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “ในปีนี้สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้นำอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ล้ำสมัย และงานวิจัยเด่นที่สถาบันฯ ได้ดำเนินการมาตลอดปี นำมาแสดงในงานมหกรรมวิทย์ครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่งานวิทยาศาสตร์ระดับระดับชาติยกทัพมาจัดใหญ่กันที่ จ.เชียงใหม่ โดยบูธของสถาบันฯ แบ่งโซนการจัดนิทรรศการที่น่าสนใจออกเป็น 3 โซนหลัก คือ โซนที่ 1. การแสดงนิทรรศการแนะนำให้ความรู้เรื่องแสงซินโครตรอน รวมถึงแสดงผลงานวิจัยเด่นจากการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน (Research Highlights) ในเรื่องดังนี้ 1. การติดตามสภาวะฝุ่นหมอกควันภาคเหนือ โดยเทคนิคการดูดกลืนแสงอินฟราเรด 2. การสร้างห้องปฏิบัติการขนาดจิ๋วด้วยแสง ซินโครตรอน 3. ครั้งแรกกับ Hard X-ray ในเมืองไทย 4.แสงซินโครตรอนกับงานวิจัยด้านอัญมณี 5. แสงซินโครตรอนกับงานวิจัยด้านอุตสาหกรรม 6. การพัฒนาเทคโนโลยี เทอร์โมอิเล็กทริกส์ ด้วยแสงซินโครตรอน ส่วนโซนที่ 2. จะเป็นฐานการทดลอง โดยเด็ก ๆ จะได้สัมผัสเรียนรู้และทดลองด้วยตัวเอง ซึ่งในส่วนนี้จะมีฐานการทดลองย่อย 5 ฐานการทดลอง ประกอบไปด้วย 1. ขดลวดหมุนได้ 2. ท่อถ่วงเวลา (Neodynium Magnet) 3. เม็ดโฟมเต้นระบำด้วยคลื่นเสียง 4. มหัศจรรย์ลูกโลกลอยได้ 5. กล้องถ่ายภาพความร้อน (IR camera) และโซนที่ 3. เวทีกิจกรรมบนเวที (Science Show) เด็ก ๆ จะได้พบกับการตอบคำถาม เล่นเกมส์ ลุ้นรับของรางวัลมากมาย จากพิตตี้สาวสวยที่พร้อมจะมาให้ความรู้เรื่องแสงซินโครตรอน และการจัดแสดงโชว์วิทยาศาสตร์ เช่น ปืนลมอัดอากาศ เครื่องทำทรงผมสุดแนว (Van de graff generator) เป็นต้น”
“ซึ่งตลอด 12 วันที่ผ่านมา บูธของสถาบันฯ ได้รับความสนใจจากเด็ก ๆ เป็นจำนวนมากทุกวัน และขณะนี้เหลือเวลาอีก 5 วัน จึงขอเชิญชวน เด็ก ๆ เข้าเยี่ยมชมบูธสถาบันแสงซินโครตรอน ได้ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2557 โซนนิทรรศการหลัก ประตูทางเข้าที่ 3 ซึ่งจะได้ทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย รวมทั้งได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับห้องปฏิบัติการแสงสยามแห่งเดียวของไทย และแห่งใหญ่ที่สุดในอาเซียนภายในงานนี้” ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย
![]() |
![]() |
ผู้ประสานงาน น.ส.ศศิพันธุ์ ไตรทาน
เบอร์โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1601 มือถือ 08-1878-8263 โทรสาร 0-4421-7047
อีเมลล์:
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
,
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
website : www.slri.or.th
ผู้เผยแพร่ข่าว : นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ