ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภาคเหนือตอนบน (ศวภ.1) (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อหาแนวทางความร่วมมือในการนำงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ลงสู่ชุมชนในเขตจังหวัดภาคเหนือตนบน โดยมี ดร.สุทธิเวช ต. แสงจันทร์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นประธานเปิดงาน และนายฤทธิพงศ์ เตชะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้การต้อนรับและกล่าวรายงานสถานการณ์ภาพรวมของจังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ 26-27 มิถุนายน 2557 ณ โรงแรมเวียงลคอร จ.ลำปาง
![]() |
![]() |
ดร.สุทธิเวช ต. แสงจันทร์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สิ่งที่เราคาดว่าอาจจะเป็นเรื่องยากบางอย่างจะต้องขอจังหวัดหรือท้องถิ่นช่วยผลักดัน เทคโนโลยีบางอย่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะมาช่วยเสริม เครื่องมือต่างๆ จะต้องมีคนช่วยรับผิดชอบดูแลและทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างเต็มที่ และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงกับท้องที่ให้มากขึ้น อยากให้ ศวภ.1 ทำแผนปฏิบัติการ 4 จังหวัดให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยเน้นเรื่องเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างแท้จริง การให้หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มาแนะนำเป็นเรื่องที่ดี การเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ จะให้ ศวภ. เผยแพร่ให้มากขึ้น จะทำให้ประชาชนรู้จักกระทรวงวิทยาศสตร์ฯ มากขึ้น การคิดเรื่องใหม่ต้องใช้เวลามาก หากจะให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ช่วยต่อยอดสิ่งที่มีอยู่แล้วจะทำงานได้เร็วและเกิดประโยชน์ตามที่เราได้คาดหวังไว้
![]() |
![]() |
นายฤทธิพงศ์ เตชะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า เรื่องข้าว เกษตรกรลำปาง มีการจำนำข้าวน้อย เพราะส่วนใหญ่ทำเกษตรอินทรีย์ เช่น ข้าวหอมนิล ข้าวลืมผัว และรู้จักการแปรรูป ที่สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่น่าพอใจ หากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะเข้าไปช่วยเหลือโดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยให้สามารถยืดอายุการเก็บให้มีคุณภาพจะเป็นช่องทางในการจัดจำหน่ายพืชผลเกษตรกรรมอื่นๆ ด้วย บางครั้งเราอยากพึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ แต่มีบุคลากรจำกัด ทำอย่างไรกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะมีเครือข่ายในพื้นที่ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่ชุมชนได้อย่างทั่วถึง และต้องดำเนินการในลักษณะกลุ่ม ลำปางมีเซรามิก ข้าว ลำไย หารือปัญหาความต้องการเพื่อบรรจุไว้ในแผน จะทำให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีข้อมูลพื้นฐาน มีคู่มือการดำเนินงานที่ผ่านมามีอะไร จะทำให้ประชาชนได้เห็นทิศทางการดำเนินงาน จะส่งผลถึงระดับรากหญ้าอย่างจัดเจน
![]() |
![]() |
ทั้งนี้ การประชุมฯ ครั้งนี้ มีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเครือข่าวคลินิกเทคโนโลยี ผู้แทนจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนบน มาร่วมหารือประเด็นปัญหา โดย จังหวัดเชียงใหม่ หารือเรื่อง Northern Food Valley, Medical Village และ Science Museum จังหวัดลำพูน หารือเรื่อง ลำไย และผ้าพื้นเมือง จังหวัดลำปาง หารือเรื่องสับปะรด เซรามิกส์ และพลังงาน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน หารือเรื่อง ผ้าทอ งา และ GIS จังหวัด โดยจังหวัดต่างๆ ได้เสนอแผนงานและสรุปแผนที่จะดำเนินงานร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดังนี้
จังหวัดเชียงใหม่ มียุทธศาสตร์ที่ต้องการเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว ต้องการให้มีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ส่งบุคลากรร่วมทำงานในพื้นที่ โดยจังหวัดจะทำการประสานงานในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันมีเฉพาะ ศวภ. ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงาน ทั้งนี้หากได้เรื่องที่จะทำร่วมกัน จะดำเนินการในลักษณะของกลุ่มจังหวัด ต้องการมี otop ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพ การใช้ App เพื่อการท่องเที่ยว และเทคโนโลยีบางอย่างมีค่าลิขสิทธิ์ มีต้นทุนการวิจัย ทำอย่างไรกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะช่วยได้ จังหวัดลำปาง มีจุดเด่นที่เซรามิก และต้องการก้าวสู่เมืองโลจิติกส์ เมืองอุตสาหกรรมสะอาด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้กำหนดให้ลำปางเป็น "นครแห่งความสุข" ลำปางมีการจัดทำ GIS พิกัดครัวเรือน การดูแลประชาชนทุกครัวเรือน ผู้พิการ ผ่าน GIS ต้องการพัฒนาคุณภาพการปลูกสับปะรด
![]() |
![]() |
จังหวัดลำพูน มีจุดยืนที่จะเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว เกษตรปลอดภัย เป็นเมืองเก่ามีวัฒนธรรม โดยจะพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมที่ปลอดภัย การเกษตรจะเน้นการผลิตให้ปลอดภัย มีคุณภาพ มีราคาโดยเน้นเทคโนโลยีที่ลงไปถึงระดับเกษตรกรในพื้นที่ และผ้าบาติก ซึ่งมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย การรายงานสภาพหมอกควัน จะมีเทคโนโลยีที่จะลงไปถึงหมู่บ้านหรือตำบลได้หรือไม่ ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีผ้าทอพื้นเมืองของชนเผ่านต่างๆ และงา ผลผลิตงาปัจจุบันยังไม่เพียงพอกับความต้องการ มีการสั่งซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ผู้เผยแพร่ข่าว : นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร กลุ่มงานประชาสัมพันธ์