กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน กระทรวงวิทย์ฯ หนุนผลิตวัคซีนต้านไวรัส 2009

กระทรวงวิทย์ฯ หนุนผลิตวัคซีนต้านไวรัส 2009

พิมพ์ PDF

(12 กรกฎาคม 2552) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดโรงงานต้นแบบนำร่องทดลองผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 เพื่อตอบสนองความจำเป็นและรองรับสถานการณ์หากมีการระบาดใหญ่ของโรคดังกล่าว  โดยกระทรวงสาธารณสุขได้รับงบสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก คาดว่าสามารถผลิตและนำไปใช้ได้ในเดือนตุลาคมนี้

 

 

 

 

 

 

 

             นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความพร้อมในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการผลิต รวมทั้งมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีนดังกล่าวได้ตามเป้า

            ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงความสำเร็จในการสร้างสายพันธุ์ไวรัสต้นแบบสำหรับพัฒนาเป็นวัคซีนไข้ หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้เตรียมการตอบสนองต่อปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ นับตั้งแต่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก เมื่อปี 2547 จนกระทั่งเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยได้มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สนับสนุนงานวิจัยแบบเร่งด่วน และใช้กลไกการประสานงานกับนักวิจัยในสถาบันต่างๆ กระทั่งเกิดความสำเร็จ ได้แก่ จัดทำซอฟต์แวร์ตรวจวัดอุณหภูมิของผู้เดินทางร่วมกับอินฟราเรด Thermoscan ของกระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และได้ติดตั้งทดสอบที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  จัดทำชุดตรวจไข้หวัดใหญ่แบบครบวงจร (All-In-One) โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สามารถตรวจจับเชื้อไวรัส H1N1 พร้อมกับการดื้อยาได้ในคราวเดียวกัน  และ ริเริ่มจัดทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคาดการณ์การระบาดและใช้ประโยชน์ใน การกำหนดนโยบายเพื่อรับมือกับโรคดังกล่าว โดยความร่วมมือระหว่างสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค คณะวิทยาศาสตร์และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

            นอก จากนี้ ยังได้สนับสนุนการสร้างสายพันธุ์วัคซีนต้นแบบขึ้นเอง เพื่อให้ประเทศไทยมีความสามารถในการสร้างต้นแบบวัคซีนได้หากมีความจำเป็น เพื่อเพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัย และความสามารถในการเข้าถึงวัคซีนของประเทศไทย นับเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ตัว อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้สนับสนุนทุนแก่นักวิจัยในประเทศ 2 ทีม ได้แก่

            ทีม ที่ 1 นำโดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล และ ดร.อรปรียา ทรัพย์ทวีวัฒน์ จาก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสร้างวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดเชื้อเป็น โดยใช้เทคนิค รีเวอร์สเจเนติกส์ ซึ่งเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในหลายประเทศ ใช้ในการสร้างวัคซีนตั้งแต่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก

            ทีมที่ 2 นำโดย ดร.อนันต์  จง แก้ววัฒนา และคณะผู้วิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ทำการจัดสร้างวัคซีนโดยใช้เทคนิคเดียวกัน แต่สร้างเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย

             ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า วัคซีนต้นแบบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่สร้างขึ้นนี้ ได้รับความอนุเคราะห์เชื้อสายพันธุ์ไทย จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนการทดสอบความสามารถในการเพิ่มจำนวนให้ได้ปริมาณมากในไข่ไก่ฟัก ความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลอง ทั้งนี้ เมื่อแล้วเสร็จ จะส่งมอบให้องค์การเภสัชกรรมทันที เพื่อใช้เป็นตัวเลือกสำรอง ในการผลิตวัคซีนต่อไป


 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป