กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน การสัมมนาเรื่องการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ STEM โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.)

การสัมมนาเรื่องการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ STEM โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.)

พิมพ์ PDF

  

  

      วันนี้ (4 มีนาคม 2557) เวลา 08.30 น. รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโครงการ วมว. ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่องการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) ของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนในกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ โครงการ วมว. มีวัตถุประสงค์เพื่อ ถ่ายทอดการเรียนการสอนในรูปแบบ STEM ในประเทศไทยและการระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ระหว่างผู้บริหาร/คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/บุคลากรผู้สอนของโครงการ วมว. ในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ STEM สำหรับเป็นข้อมูลในการนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการ วมว. ได้อย่างเหมาะสม ณ ห้องประชุม crystal 1 - 2 ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ

 


     รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโครงการ วมว. กล่าวว่า การจัดตั้งโครงการ วมว. คือสนับสนุนการจัดหลักสูตรและการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และขยายฐานการศึกษาในลักษณะดังกล่าวออกไปในวงกว้างมากขึ้น  ในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้สนับสนุนให้จัดทำกรอบความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และสถาบันชั้นนำต่างประเทศ ที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จที่ยอมรับในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในครั้งล่าสุดได้มีการศึกษาดูงานการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับห้องเรียนวิทยาศาสตร์ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา  การศึกษาดูงานครั้งนั้นมีข้อเสนอแนะที่จะนำมาปรับใช้สำหรับการดำเนินโครงการ วมว.  ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารจัดการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ อาทิเพิ่มสัดส่วนครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท การเรียนการสอนที่ให้นักเรียนออกแบบการทดลองเอง  การปรับหลักสูตรใหม่เป็นการเรียนรู้ด้าน STEM (Science, Technology, Engineering and Mathematics) ซึ่งการเรียนการสอนรูปแบบนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศเป็นโครงการระดับชาติในการยกระดับคุณภาพการศึกษา   เพื่อให้ได้เด็กรุ่นใหม่ที่มีตรรกะทางความคิด มีทักษะการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้   รูปแบบการเรียนการสอนแบบ STEM  นี้เรามีความเข้าใจว่าอย่างไร แล้วเราจะมาปรับและประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับโครงการ วมว. ได้อย่างไร  เป็นที่น่ายินดีว่าคณะกรรมการบริหารโครงการ วมว. ได้มีความเห็นว่าหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนแบบ STEM นั้นจะช่วยปูพื้นฐานให้นักเรียนมีทักษะในด้านวิศวกรรมศาสตร์/ เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เสริมกับหลักสูตรที่แต่ละโรงเรียนได้พัฒนาขึ้นแต่เดิมโดยให้จัดสัมมนาเรื่อง “การจัดการเรียนการสอน STEM ของห้องเรียนวิทยาศาสตร์โครงการ วมว.” ขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ วมว. ได้รับฟังการบรรยาย การอภิปราย ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ และแนวทางที่จะพัฒนาหลักสูตร และการเรียนการสอนของโครงการ วมว.

        นางสาวคนึงนุช  พิมพ์อุบล ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีดำเนินโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือเรียกย่อว่า โครงการ วมว. ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการดำเนินงานโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยโดยการใช้ศักยภาพด้านบุคลากร และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายหรืออยู่ในกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ห้องเรียน (30 คน)/โรงเรียน โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อให้ได้นักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเต็มที่สำหรับเป็นฐานเพื่อการพัฒนาเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคตต่อไป และปัจจุบันมีมหาวิทยาลัย – โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 11 แห่ง

 


     การสัมมนาฯ ในครั้งนี้นับเป็นการผนวกรวมประเด็นสาระของการสัมมนาครั้งที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน การสัมมนาดังกล่าวประกอบไปด้วยหัวข้อ การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนรูปแบบ STEM ในภาพรวมของประเทศไทย  การประยุกต์ใช้กับห้องเรียนวิทยาศาสตร์โครงการ วมว. และการแก้ไขวิกฤตการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ด้วย STEM รวมทั้งการอภิปรายเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ STEM ของมหาวิทยายลัยโครงการ วมว. อันจะเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย – โรงเรียนพิจารณานำไปขยายผลการดำเนินงานต่อไป
     ทั้งนี้ เมื่อการสัมมนาครั้งนี้ และครั้งต่อไป เสร็จสิ้นลง จะทำให้ได้แนวทางการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานสูงขึ้น เทียบเคียงกับระดับสากล สามารถผลิตบุคลากรการวิจัยและพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ และเพื่อให้การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอนที่ได้จากโครงการ วมว. พัฒนาขึ้นจนเป็นส่วนหนึ่งของฐานการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย อย่างกว้างขวาง ต่อไป

เขียนข่าวโดย : นางสาวนีรนุช  ตามศักดิ์, นางสาวศิริลักษณ์  สิกขะบูรณะ
ภาพข่าวโดย : นายพิริยะ เผ่าพงษา
เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป