กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ก.วิทย์ฯ ตั้งคณะทำงานประสานงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ

ก.วิทย์ฯ ตั้งคณะทำงานประสานงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ

พิมพ์ PDF

ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการประชุมผู้บริหารกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา  โดย ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธาน  และที่ประชุมเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานประสานงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพนั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          กระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ จึงมีคำสั่งที่ 52/2552 แต่งตั้งคณะทำงานประสานงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขึ้น โดยมีองค์ประกอบคณะทำงาน ได้แก่ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นที่ปรึกษา     รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (นายวีระพงษ์  แพสุวรรณ) เป็นประธานคณะทำงาน  หัว หน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ หรือผู้แทน เป็นคณะทำงาน โดยให้ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นเลขานุการฯ  ทั้ง นี้ คณะทำงานฯ ดังกล่าวมีหน้าที่ในการสำรวจสถานภาพและพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านเพื่อพัฒนา เป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่จัดทำแผนการดำเนินงานพร้อมหาแนวทางสนับสนุนและงบประมาณดำเนิน โครงการดังกล่าวให้บรรลุวัตถุประสงค์   ข้อมูลล่าสุด จากฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ ขณะนี้ได้ทำการคัดเลือกหมู่บ้าน จำนวน 31 หมู่บ้าน เพื่อจัดตั้งเป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยพิจารณาจากศักยภาพที่โดดเด่นของชุมชน  โดยมีหน่วยงานกระทรวงที่รับผิดชอบหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ ประกอบด้วย

 

 

 

          สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จำนวน 10 หมู่บ้าน ได้แก่  1)บ้านหนองแวง ต.พานพร้าว  อ.ศรีเชียงใหม่  จ.เชียงใหม่  2)บ้านโพนงามท่า  ต.นาแก้ว  อ.โดนนาแก้ว  จ.สกลนคร  3)บ้านโคกล่าม  ต.ดงลิง  อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์  4)บ้านป่าน  ต.ดงสิงห์  อ.จังหาร  จ.ร้อยเอ็ด    5)บ้านสะอาด  ต.เมืองเก่า  อ.ร้อยเอ็ด  จ.ขอนแก่น  6)บ้านโนนเจดีย์  ต.โคกสะอาด  อ.ภูเขียว  จ.ชัยภูมิ  7)บ้านท่าหว้า       ต.กะฮาด  อ.เนินสง่า  จ.ชัยภูมิ  8)บ้านแก่งโก  อ.แก้งสนามนาง  อ.แก้งสนามนาง  จ.นครราชสีมา  9)บ้านใคร่นุ่น  ต.ท่าขอนยาง  อ.กันทรวิชัย  จ.มหาสารคาม  10)บ้านเกาะกลาง  ต.คลองประสงค์ อ.เมือง  จ.กระบี่

โดยลำดับที่ 1-9) เป็นหมู่บ้านเทคโนโลยีเฉลิมพระเกียรติเดิม สมัยท่านรัฐมนตรีบัญญัติ  บรรทัดฐาน ได้ดำเนินโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า    และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือในการประกอบอาชีพในแก่ชุมชนในเขตพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากคลองส่งน้ำ  เทคโนโลยีที่เคยนำไปถ่ายทอดได้แก่ ก ารผลิตอิฐบล็อกประสาน  การ เลี้ยงโคขุน การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ ทั้งนี้ การดำเนินงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะมอบหมายให้คลินิกเทคโนโลยีในพื้นที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ  สำหรับ

ลำดับที่ 10) บ้านเกาะกลาง จ.กระบี่ นั้น จะดำเนินงานโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เน้นดำเนินการให้เป็นชุมชนไร้ของเสีย        

            สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  พว. ดำเนินการจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่    1)บ้านหนองมัง  ต.โนนกลาง อ.สำโรง  จ.อุบลราชธานี  2)บ้านอุดมสมบูรณ์  ต.ชุมแสง  อ.จอมพระ          จ.สุรินทร์ 3)บ้านบ่อเหมืองน้อย  ต.แสงภา  อ.นาแห้ว  จ.เลย  4)บ้านบาลาและเจ๊ะเด็ง  อ.แว้ง  จ.นราธิวาส 5)บ้านผาคับ  ต.บ่อเกลือใต้  อ.บ่อเกลือ  จ.น่าน  ทั้ง  5 หมู่บ้านเป็นชุมชนวิทยาศาสตร์ที่ พว.ได้ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน ให้ความช่วยเหลือเรื่องพลังงานทางเลือก เกษตรอินทรีย์  ให้ความรู้เรื่อง GAP  GMP ความหลากหลายทางชีวภาพ  ดอกดาหลา และการผลิตข้าวไร่             

            สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร  สสนก. รับผิดชอบ 10 หมู่บ้าน ได้แก่ 1)ชุมชนบ้านป่าสักงาน  ต.ลวงเหนือ  อ.ดอยสะเก็ด  จ.เชียงใหม่ 2)ชุมชนบ้านลิ่มทอง  ต.หนองโบสถ์  อ.นางรอง  จ.บุรีรัมย์  3)ชุมชนบ้านโนนขวาง  ต.โนนขวาง  อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์  4)ชุมชนบ้านโนนรัง  ต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา  5)ชุมชนบ้านห้วยปลาหลด  อ.แม่สอด จ.ตาก  6) ชุมชนบ้านผาชัน  ต.สำโรง อ.โพธิ์ไทร  จ.อุบลราชธานี  7)เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุป  ต.แจ่มหลวง  อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่  8)ชุมชนบ้านเปร็ดใน  ต.ห้วงน้ำขาว  อ.เมือง  จ.ตราด  9)ชุมชนเขาพระ  ต.เขาพระ  อ.รัตตภูมิ  จ.สงขลา 10) กลุ่มบริหารใช้น้ำบางทรายนวล  ต.คลองชะอุ่น อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี  โดยที่ผ่านมา สสนก. ได้สนับสนุนข้อมูลในการจัดการทรัพยากรน้ำและการเกษตรแก่ทั้ง 10 หมู่บ้าน  ในปีงบประมาณ 2552 เป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้บริการข้อมูลองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และในปีงบ 2553 จะขยายเครือข่ายไปสู่หมู่บ้านดิน ต่อไป

            สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย วว. ดำเนินการ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ 1)บ้านทับทิมสยาม  ต.บักดอง  อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ    2)กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ    ต.พ่วงพรมคร   อ.เคียนซา   จ.เชียงราย 3)กลุ่มปุ๋ยชีวภาพเครือข่ายยั่งยืน  ต.ศรีเมืองชุม  อ.แม่สาย  จ.เชียงราย  ทั้ง 3 หมู่บ้านเป็นกลุ่มที่มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงซึ่ง วว.ให้การสนับสนุนในปัจจุบัน  ขณะนี้กำลังดำเนินการเพิ่มคุณภาพและอัตราการผลิตปุ๋ย

            กรมวิทยาศาสตร์บริการ วศ.  ดำเนินการที่บ้าน  ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ  จ.อ่างทอง  ซึ่งได้นำเทคโนโลยีไปถ่ายทอดให้กับชุมชนแล้วได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพน้ำ การผลิตกระดาษจากต้นธูปฤาษีหรือฟางข้าว  เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์  การใช้สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น 

            สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นว.   ดำเนินการในชุมชนม้งบ้านขุนวาง อ.ขุนวาง  จ.เชียงใหม่     นว. ร่วมกับโครงการหลวง ส่งเสริมให้เป็นชุมชนที่สามารถผลิตฝักวานิลาได้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยจะดำเนินการระบบการผลิตให้แล้วเสร็จในปี 252 และมีโรงบ่มฝักวานิลาในปี 2553 พร้อมขยายผลไปยัง 36 ดอยในพื้นที่ใกล้เคียง

            องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ  อพวช.  เนินการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในเทศบาลสิงห์บุรี

            สำหรับ หน่วยงานอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงที่ไม่ได้รับผิดชอบหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯโดยตรง สามารถสนับสนุนการดำเนินงานได้ในรูปของการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี การเผยแพร่ความรู้ การสร้างความตระหนัก โดยทุกกิจกรรมที่นำลงสู่หมู่บ้านจะต้องตรงกับความต้องการของชุมชนด้วย


 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป