![]() |
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556 เวลา 10.00 น. ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย นายวีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผู้บริหาร และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ให้การต้อนรับ คณะอนุกรรมการทรัพย์สินทางปัญญา ในคณะกรรมการโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2556 ในโอกาสตรวจเยี่ยมและพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแนวทางการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของงานด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ ห้องประชุม ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
![]() |
ดร.พีรพันธุ์ฯ รมว.วท. กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่รวบรวม “ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัย” รวบรวมข้อมูลศักยภาพทาง ด้าน ว และ ท โครงสร้างพื้นฐานไว้ในฐานข้อมูลเดียวกันให้บริการสืบค้นข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ ด้าน ว และ ท แบบ One Stop service ผ่านเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดการใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์อย่างทั่วถึง คุ้มค่า และเต็มประสิทธิภาพ ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าต่อไป ตามหลักนโยบายของรัฐบาล ที่อยากให้ประเทศไทยใส่ใจกับเรื่องวิทยาศาสตร์และนำเอาวิทยาศาสตร์ไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น โดยนายกรัฐมนตรี เน้นถึงการพัฒนาโครงการทางด้านการเกษตร การแพทย์ และอุตสาหกรรม และที่สำคัญกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ต้องคำนึงถึงด้านงานวิจัยให้มากที่สุด และควรเป็นงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการของประเทศ ตามหลักนโยบาล ของรัฐบาลว่า ให้มีการชับเคลื่อนในการวิจัยและพัฒนา ให้เป็น ร้อยละ1 ของ GDP ให้ได้ ภายใน 5 ปี
ดร.ญาดา มุกดาพิทักษ์ รองเลขานุการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) นำเสนอแนวทางส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแนวทางการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีหัวข้อ ต่อไปนี้
1. มาตรการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีปัจจัยด้าน วทน. เพื่อเพิ่มมูลค่าและขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1.กำลังคน 2.การสนับสนุนทางการเงิน 3.โครงสร้างพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) 4.กฏหมายระเบียบ
2. นโยบายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา (IP) เพื่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้แก่
- การลงทุนวิจัยและพัฒนา
- บุคลากรวิจัย
- โครงสร้างพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์, เครื่องมือ และอุปกรณ์
- แรงจูงใจกระตุ้นการวิจัยและการสร้าง IP
- ประสิทธิภาพระบบการจดทะเบียนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
- ความสามารถในการพัฒนากฏหมายคุ้มครอง IP ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
- การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการใช้ประโยชน์ IP ในเชิงพาณิชย์
- การให้สิทธิความเป็นเจ้าของ IP แก่ผู้มีศักยภาพในการนำ IP ไปใช้ประโยชน์
- การสร้างขีดความสามารถในการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม
ข้อเสนอนโยบายระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา เสนอ 4 มาตรการ ได้แก่
1.สร้างแรงจูงใจให้เกิดการสร้างและใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการให้ IP ownership แก่ผู้รับทุน
2.พัฒนาระบบการให้บริการการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
3.ใช้มาตรการทางการเงินและภาษีเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์
4.สร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยบริการจัดการและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประเด็นพิจารณาข้อเสนอนโยบาย “ระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ”
1.เห็นชอบในหลักการ “นโยบายระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ”
2.ครม. มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการงบประมาณและอัตรากำลังของตนเองได้ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ และให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ต้องนำรายได้จากค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาส่งคีนคลัง โดยที่ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน
3.ครม. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดทำมาตรการสนับสนุนทุนต่อยอดผลงงานวิจัยไปสู่การสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยหารือกับสำนักงบประมาณ
4.ครม. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาสาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติดำเนินการจัดทำมาตรการลดหย่อนภีนิติบุคคลจากค่าใช้จ่ายในการต่อยอดผลงานวิจัยไปสู่การสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงการคลัง และจัดทำมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ร่วมกกับสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุน
5.ครม. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พัฒนาความสามารถของบุคลากรและระบบของสำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี และสำนักงานถ่ายทอดเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาและสถาวิจัย
เขียนข่าวโดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ
ภายข่าวโดย : นายรัฐพล หงสไกร, นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์
เผยแพร่ข่าว : นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์, นายพิริยะ เผ่าพงษา
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์