กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน รมว.วท. เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการนานาชาติฯ และเป็นสักขีพยาน ลงนาม MOU เปิดโลกทัศน์ วท.

รมว.วท. เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการนานาชาติฯ และเป็นสักขีพยาน ลงนาม MOU เปิดโลกทัศน์ วท.

พิมพ์ PDF

 

     วันนี้ 5 สิงหาคม 2556 เวลา 09.00 น. ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติ เรื่อง 10th  “Biomass-Asia Workshop refinery to community and industrial Applications” with asia Biomass Office Conference ระดมความคิดของบุคลากรภาครัฐ/เอกชน จากเครือข่ายสมาชิกทั่วภาคพื้นเอเชีย ระหว่างวันที่ 5 - 6 สิงหาคม 2556 ณ ห้องโลตัส สวีท 5 - 7 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์


      นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) กล่าวว่า การสัมมนาวิชาการนานาชาติด้านพลังงานชีวมวลดังกล่าว จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)ร่วมกับสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST)  และ New Energy Foundation (NEF) ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ฯ ในภูมิภาคเอชียและผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงานชีวมวลร่วมกล่าวสุนทรพจน์ อาทิ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งช่ติ (สวทช.) Dr.Ryoji Chubachi, ประธานสถาบัน AIST Mr.Takahiko Kondo,ประธานสถาบัน NEF ประเทศญี่ปุ่น, Mr.Hiromichi  Moriyama, Director for International Affairs Division, The Agency for Natural Resources and Energy,Ministry of Economy,Trade and Industry (METI) ประเทศญี่ปุ่น Dr.Sadao Wasaka,Executive director, New Energy and industrial Technology Development Organization (NEDO),ประเทศญี่ปุ่น,นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) Mr.Shunichi Nakada, Bioenergy Analyst, IRENA Innovation and Technology Center,International Renew able Enaergy Agency (IRENA) ประเทศญี่ปุ่น ดร.สุนันทา เศรษฐ์บุญสร้าง Principal Natural Resources and Agricolture Economist, Asian Development Bank (AOB) ประเทศฟิลิปปินส์ รวมทั้งยังมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ จากประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียร่วมนำสนอผลงานด้านพลังงานชีวมวลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้งานสัมมนาฯ ได้รับความสนใจจากบุคคลากรภาครัฐ/เอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ กว่า 400 คนเข้าร่วมงาน
      การสัมมนาวิชาการดังกล่าวนับเป็นเวทีระดมความคิดของบุคลากรภาครัฐ/เอกชน จากเครือข่ายสมาชิกภาคพื้นเอเชียกว่า 10 ประเทศ เพื่อร่วมกันนำเสนอและหาแนวทางในการใช้พลังงานทางเลือกสำหรับอนาคตพร้อมทั้งมีผลงานวิชาการจากนักวิจัยและนักศึกษาในประเทศกลุ่มอาเซียนมานำเสนออีกด้วย


      อนึ่ง นอกจากการจัดสัมมนาวิชาการดังกล่าวแล้ว สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ยังนำผลงานวิจัย นวัตกรรมเทคโนโลยี และงานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดนิทรรศการเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 50 ปี “50 ปี ความภูมิใจ นวัตกรรมไทย สร้างเศรษฐกิจและสังคม” เพื่อแสดงศักยภาพด้านงานวิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปประกอบธุรกิจหรือประกอบเป็นอาชีพ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่เยาวชน ในระหว่างวันที่ 4 - 6 สิงหาคม 2556 ณ ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์


      นอกจากนี้ ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี ได้ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) กับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
      การลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกนี้ นับเป็นก้าวสำคัญระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐอีกก้าวหนึ่ง ในการนำผลงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของนักวิจัยไทย ในภาครัฐ ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากภาคเอกชนและภาครัฐเอง มีโอกาสเข้าไปหนุนช่วยตามศักยภาพที่เรามีอยู่ การประสานความร่วมมือในครั้งนี้ จึงนับเป็นการต่อยอดงานวิจัยไทยให้มีช่องทางที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากกรอบแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ บูรณาการมูลค่าเพิ่มและความสามารถในการแข่งขัน เช่น การใช้ทรัพยากรร่วมกันในการต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด ในสาขาอาหาร สมุนไพร พลังงาน เครื่องมือแพทย์ และพลาสติกชีวภาพ รวมไปจนถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และพัฒนาบุคลากรทางการวิจัยและพัฒนา และการบริหารการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาแล้วนั้น นับว่าเป็นมิตที่ดี ที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะได้ประสานความร่วมมือให้เกิดความแข็งขัน ทั้งแก่ภาคการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยและแก่ภาคอุตสาหกรรม

 

 

 

เขียนข่าว     : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ

ถ่ายภาพ      : นายรัฐพล หงสไกร

เผยแพร่ข่าว  : นางสาวนีีรนุช ตามศักดิ์,นายพิริยะ เผ่าพงษา

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป