กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน กระทรวงวิทย์ฯ จัดทัพเทคโนฯ ปราบไข้เลือดออก ฆ่ายุงได้ คนปลอดภัยฝีมือไทยทำ

กระทรวงวิทย์ฯ จัดทัพเทคโนฯ ปราบไข้เลือดออก ฆ่ายุงได้ คนปลอดภัยฝีมือไทยทำ

พิมพ์ PDF

 

 
    25 กรกฎาคม 2556 ณ จังหวัดยโสธร : ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยการนำความสำเร็จผลงานพัฒนาแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงลายพาหะไข้เลือดออก และมุ้งนาโนที่มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันและกำจัดยุงให้ตายเฉียบพลัน ลงในพื้นที่เสี่ยงที่จังหวัดยโสธรซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยมีจำนวนสูงกว่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี +20% ทั้งนี้ ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกกำลังแพร่ขยายในหลายประเทศ จึงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม “โรคอุบัติซ้ำ” ที่เป็นปัญหาสำคัญของโลก จากการคาดการณ์จะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจจากโรคดังกล่าวมูลค่าระหว่าง2,000-10,000 ล้านบาท ซึ่งผลกระทบดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงผลกระทบทางสังคมและจิตใจรวมทั้งรายได้ที่สูญเสียไประหว่างการป่วยของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย และงบประมาณที่ภาครัฐใช้ไปในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ การใช้วิธีลดแหล่งการแพร่พันธุ์เพื่อควบคุมจำนวนยุงลายในแต่ละปี ตลอดจนการลดการสัมผัสยุง นับเป็นวิธีที่ใช้ควบคุมและป้องกันโรคโรคไข้เลือดออกที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกในปัจจุบัน สำหรับแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงลายดังกล่าว สวทช. ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ผลิตคือ บริษัท ทีเอฟไอ กรีนไบโอเทค กัด เป็นผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปผลิตและจำหน่าย โดยผ่านการทดสอบและขึ้นทะเบียนการอนุญาตใช้ผลิตเพื่อจำหน่าย โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว ส่วนมุ้งนาโน สวทช.ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้บริษัท เน็ทโต้ แมนูแฟคเซอริ่ง จำกัด โดย ดร.พีรพันธุ์ เปิดเผยในรายละเอียดว่า
 
  “ไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพาะฉะนั้นจึงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มโรคอุบัติซ้ำ ซึ่งสถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกในปัจจุบันของประเทศไทย พบว่าอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะของโรสูงขึ้น โดยเฉพาะปี พ.ศ.2556 พบจำนวนผู้ป่วยที่สูงผิดปกติ ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานสถานการณ์ผู้ป่วย จำนวน 54,042 ราย อัตราป่วย 84.34 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 62 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11 รูปแบบการเกิดโรคไข้เลือดออกของประเทศไทยยังคงไม่เปลี่ยนแปลง คือ มีผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม- สิงหาคม ของทุกปี กลุ่มเสี่ยงยังคงเป็นกลุ่มอายุ 0-14 ปี แต่ในกลุ่มอายุ 15-24 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มอัตราป่วยสูงขึ้น พบผู้ป่วยไข้เลือดออกกระจายทุกจังหวัดของประเทศไทย และพบบางจังหวัดมีจำนวนผู้ป่วยมีจำนวนสูงกว่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี +20% (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข (http://epid.moph.go.th) ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า โรคดังกล่าวจะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจประมาณ 2,000-10,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมผลกระทบทางสังคมและจิตใจอีกด้วย โดยที่ผ่านมารัฐใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง เพื่อใช้รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในแต่ละปี เพื่อสร้างความตระหนักและตื่นตัวในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก รวมไปถึงสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองหันมาใจกับสิ่งแวดล้อมที่แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ต้องกำจัดทำลายเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่ออนาคตของลูกหลานและคนในครอบครัว แต่อย่างไรก็ตามเป็นเพียงการควบคุมและป้องกันที่ปลายเหตุเท่านั้น ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงมอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำนวัตกรรมองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายรูปแบบที่มีศักยภาพช่วยลดแหล่งแพร่พันธุ์ยุงลาย รวมไปถึงวิธีการลดการสัมผัสยุงลาย ซึ่งเป็นวิธีใช้ควบคุมและป้อกันโรคไข้เลือดออกที่ต้นเหตุ โดย สวทช. กระทรวงวิทย์ฯ ได้นำเทคโนโลยีแบคทีเรียกำจัดและควบคุมลูกน้ำยุงลายพาหะนำโรค จำนวน 10,000 ซอง (หนึ่งหมื่นซอง) ขนาดบรรจุซองละ 5 กรัม ซึ่งใช้ผสมน้ำได้ 200ลิตร มีประสิทธิภาพควบคุมลูกน้ำยุงลายได้นานถึง45 วัน และมุ้งเคลือบนาโนจำนวน 1,000 หลัง (หนึ่งพันหลัง) ร่วมรณรงค์ในพื้นที่เสี่ยง ในจังหวัดยโสธรเพื่อลดหารเกิดโรคไข้เลือดออกที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้
 
  ดร.พีรพันธุ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงลายดังกล่าวมีชื่อว่า “บาซิลลัส ธูรินจิ เอ็นซิส อิสราเอลเอ็นซิส” พบได้ในธรรมชาติทั่วไปและเป็นศัตรูธรรมชาติของลูกน้ำยุงลายอยู่แล้วแบคทีเรียดังกล่าวมีคุณสมบัติทำลายกระเพาะอาหารของลูกน้ำยุงลาย ทำให้ลูกน้ำยุงลายอดอาหารและตายในที่สุด โดยออกฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายใน24ชั่วโมง สำหรับอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ช่วยลดการสัมผัสยุงคือการใช้มุ้งเคลือบน้ำยานาโน ซึ่งมาจากการสังเคราะห์สารเคมีที่มีชื่อ Deltamethrin ที่เลียนแบบจากสารสกัดในธรรมชาติชนิดที่มีคุณสมบัติป้องกันยุง เช่น ดอกเก๊กฮวย ดอกดาวเรือง โดยกลไกการทำงานคือ สารสังเคราะห์ชนิดนี้จะซึมผ่านประสาทสัมผัสยุงที่ปลายบาซึ่งมีความไวต่อสารกลุ่มนี้เป็นพิเศษ และมีผลต่อระบบประสาทของยุงทำให้ต่อระบบประสาทของยุงทำให้ช็อกตายในที่สุด โดยคงประสิทธิภาพต่อการซักล้างได้มากกว่า 30 ครั้ง ทั้งนี้ กระทรวงวิทย์ฯ ยังได้เตรียมวางแผนลงพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติมอีก 5 จังหวัด ประกอบด้วย นครพนม แม่ฮ่องสอน ภูเก็ต เพชรบูรณ์ และระยอง เพื่อขยายผลการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยพัฒนาของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯและแก้ปัญหาตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ตลอดจนนำส่งผลงานวิจัยที่สามารถตอบสนองวามต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างทันการณ์และต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
 
ผู้ส่งข่าว นางเกศวงรงค์ หงส์ลดารมภ์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
 
 

เผยแพร่ข่าว : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ, นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ

ถ่่ายภาพ     : นายรัฐพล หงสไกร

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป