(10 มิถุนายน 2552) สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) จัดเสวนา คุยกัน...ฉันท์วิทย์ เรื่อง “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กับภารกิจความปลอดภัย” โดยมี นางสาวธิดา เกิดกำไร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดเสวนา พร้อมทั้งวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและ และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมให้ความรู้ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวธิดา เกิดกำไร หัว หน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันกระแสของพลังงานทดแทนกำลังเป็นที่สนใจอย่างมาก โดยเฉพาะการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งหากมีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นในประเทศไทย ต้องมีมาตรการ ขั้นตอน และกลไกสำหรับการกำกับดูแลความปลอดภัย โดยทิศทางการพัฒนาความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้น ควรคำนึงถึงผลกระทบ ความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ดังนั้น สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน ฐานะเป็นองค์กรหลักในการกำกับดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ให้ แก่ประชาชน จึงกำหนดจัดเสวนาขึ้น เพื่อได้ทราบข้อมูลด้านความปลอดภัยของพลังงานนิวเคลียร์ ข้อมูล ด้านเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ รวมทั้งความคืบหน้าของการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทยตาม มาตรฐานสากาลเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
นาย วิเชียร วงศ์สมาน ผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวถึงความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวมทั้งโรงไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ว่า มีการคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยเฉพาะผลกระทบต่อ ประชาชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการกำกับดูแล เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการหรือการออกแบบ ทั้งนี้ทั้งนั้น การเลือกพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีข้อจำกัด และกฎเกณฑ์หลายอย่าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด และก่อนดำเนินการก่อสร้าง ต้องมีการรายงานการวิเคราะห์ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีอนุกรรมการพิจารณา หากมีความปลอดภัยมากพอ ก็จะได้รับการอนุญาตให้จัดสร้าง
ดร.นทีกูล เกรียงชัยพร วิศวกรนิวเคลียร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ปัจจุบันพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติมากถึง 70% โดยสองในสามของก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้นั้นมาจากอ่าวไทย ซึ่งมีการประมาณการว่าก๊าซจะหมดภายใน 20 ปี หลังจากนั้นประเทศไทยจะต้องพึ่งพาการนำเข้าทั้งหมด ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายหาแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ มาใช้สำหรับการผลิตไฟฟ้า ซึ่งรวมถึงพลังงานนิวเคลียร์ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้นถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภท หนึ่ง อาศัยความร้อนไปต้มน้ำให้เดือด และนำไอน้ำที่ได้ไปปั่นกังหันไอน้ำที่เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะอาศัยความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแตก ตัวของธาตุยูเรเนียม ซึ่งไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงเหมือนกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทอื่น เช่น ถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ โดยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกมี 3 แบบ ได้แก่ แบบน้ำอัดความดัน แบบน้ำเดือด และแบบน้ำมวลหนัก
สำหรับความก้าวหน้าของโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดย กฟผ. ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษารวมถึงการสำรวจและคัดเลือกสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น การคัดเลือกเทคโนโลยี การศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์พลังงานและการเงิน และการวางแผนบุคลากร ทั้งนี้ การศึกษาจะใช้เวลา 20 เดือน โดยจะแล้วเสร็จ ในเดือนพฤษภาคม 2553