(6-7 มิถุนายน 2552) ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำทีมผู้บริหารกระทรวง และสื่อมวลชน ปฏิบัติราชตรวจเยี่ยม ชุมชนเครือข่ายสิ่งแวดล้อมบางปรอก จ.ปทุมธานี ศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกรผสมผสานบ้านโนนรัง จ.นครราชสีมา และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโนนขวาง จ.บุรีรัมย์ เพื่อหาแนวทางนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปช่วยเหลือสนับสนุนชุมชน
การเดินทางลงพื้นที่ของ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณ พนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในครั้งนี้ ใช้เวลา 2 วันช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ โดยพื้นที่แรก วันที่ 6 มิถุนายน 2552 เดินทางไปเยี่ยมชมการดำเนินงานบำบัดน้ำเสียของชุมชนบ้านบางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมตั้งอยู่ริมคลองบางปรอก 117 ครัวเรือน โดยแต่เดิมชุมชนดังกล่าวเคยประสบปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสีย ชาวบ้านจึงได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิชุมชนไท ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการแก้ ปัญหาร่วมกัน ซึ่งมีนางฉลวย กะเหว่านาค ประธานเครือข่ายสิ่งแวดล้อมเมืองปทุมธานี เป็นผู้นำหลักในการสร้างความร่วมมือดังกล่าว โดยรณรงค์ไม่ให้ชาวบ้านทิ้งขยะและปล่อยน้ำเสียลงคลองบางปรอก พร้อมคิดทำถึงดักไขมันรายครัวเรือนขึ้นในชุมชน โดยเรียนรู้วิธีทำงานของบ่อดักไขมัน 5 แบบ ได้แก่แบบยั่งยืน แบบดูดซึม แบบประยุกต์ แบบประหยัด และแบบพัฒนา ซึ่ง นางฉลวย กล่าวว่า ถังดักไขมันทั้ง 5 แบบทำให้เราได้ศึกษาคุณประโยชน์และรู้ว่าถังดักไขมันเป็นสิ่งเดียวที่สามารถ บำบัดน้ำเสียจากจุดกำเนิดได้ และเริ่มหาเครือข่ายชุมชนอื่นๆ มาร่วมพัฒนาด้วยกันอย่างมีส่วนร่วมจนประสบผลสำเร็จ ปัจจุบัน ชุมชนบางปรอกเป็นชุมชนนำร่องด้านการจัดการน้ำเสียอย่างมีระบบและเป็นที่ศึกษาดดูงานของคนทั่วไป
วันที่ 7 มิถุนายน 2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมคณะเดินทางไปบ้านโนนรัง ตำบลตลาดไทร อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยได้พบประผู้นำท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน นายจันทร์ที ประทุมภา ซึ่งได้นำชมพื้นที่ทำการเกษตรประณีต 1 ไร่ ของพ่อจันทร์ที ซึ่งสามารถสร้างรายได้กว่า 8 หมื่นบาท/ปี จนการเป็นแหล่งอบรมเรียนรู้และศึกษาดูงานของบุคคลต่างๆ มากมาย โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สสนก.
ได้เข้ามาช่วยเหลือมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ศูนย์ฯ ใช้ประโยชน์ได้มากในเรื่องการเก็บข้อมูลดิน น้ำ และคำนวณค่าใช้จ่ายยต่างๆ ที่เรียกว่าบัญชีครัวเรือน ทั้งนี้ ผู้นำท้องถิ่นได้นำคุณหญิงกัลยา และคณะเดินทางไปดูอ่างเก็บน้ำห้วยตาดี โดยชาวบ้านต้องการให้มีการขุดลอกเพื่อเป็นสระเก็บน้ำทีซึ่งหากดำเนินการได้ จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน 4 หมู่บ้าน