กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน “วรวัจน์” เร่งขยายกลยุทธ์อัพเกรดผ้าไทยจัด Roadshow เชียงใหม่เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจล้านนานวัตกรรมนาโน

“วรวัจน์” เร่งขยายกลยุทธ์อัพเกรดผ้าไทยจัด Roadshow เชียงใหม่เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจล้านนานวัตกรรมนาโน

พิมพ์ PDF

     

       (เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2556) นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานเปิดงาน “Nano Together….เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจล้านนา ด้วยนวัตกรรมสิ่งทอนาโน” เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้นวัตกรรม  นาโนในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้แก่บรรดาผู้ประกอบการด้านสิ่งทอและผู้มีบทบาทสำคัญในพื้นที่ รวมทั้งเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาแนวทางนำนาโนเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าและยกระดับสิ่งทอที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ชั้น 3 จังหวัดเชียงใหม่

 


     นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มมูลค่าสิ่งทอด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการตามนโยบายและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การพัฒนาเส้นใยและผ้า การออกแบบ การตัดเย็บ บรรจุภัณฑ์ การตลาด การประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงการ บูรณาการร่วมกับพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อรองรับการแข่งขันเสรีการค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 โดยได้นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนาโนในผลิตภัณฑ์สิ่งทอประเภทอื่นๆนอกเหนือจากเสื้อผ้า อาทิ ผ้าห่ม และร่มคุณสมบัตินาโนซึ่งมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ทำให้มีความสะดวกในการจัดเก็บหลังการใช้ และเป็นการขยายไลน์การผลิตสิ่งทอนาโนให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอมีการแข่งขันที่สูงมาก ในขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทยยังขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศอ่อนแอลงอย่างมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นกระทรวงวิทยาศาตร์ฯ จึงได้เกิดแนวคิดในการนำวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีมาผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรม  สิ่งทอให้มีคุณภาพที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีทางด้านนาโนเข้าไปสร้างความแตกต่างให้กับเนื้อผ้าให้มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ อาทิ ลดการยับและเพิ่มการคืนตัวของผ้าระหว่างการใช้สอย หรือเพิ่มความนุ่มนวลเมื่อสัมผัส นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ เช่น สะท้อนน้ำ ต้านแบคทีเรีย ลดกลิ่นอับ เพิ่มกลิ่นหอม ป้องกันยูวี เพิ่มคุณสมบัติหน่วงไฟ ซึ่งจะทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายผลิตภัณฑ์ มากขึ้น ทั้งเสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟา ผ้าม่าน ผ้าห่ม โดยเฉพาะร่มที่เคลือบสารนาโน ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำและให้ความสะดวกในการจัดเก็บหลังการใช้ เป็นต้น

 


     ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กำลังเร่งขยายองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีกับผลิตภัณฑ์สิ่งทอลงสู่ระดับภูมิภาค เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าและยกระดับผ้าพื้นเมือง ด้วยความเชื่อมั่นว่า การผสมผสานวิทยาศาสตร์กับจิตวิญญาณของผ้าไทย จะสามารถสร้างความแตกต่าง และต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในตลาดโลก โดยผมหวังว่า การทำ Road Show ที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้  จะช่วยจุดประกายให้กุล่มผู้ประกอบในพื้นที่ มีความสนใจที่จะนำนาโนเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้กับสิ่งทอพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของดินแดนล้านนา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่หัตถกรรมและอุตสาหกรรมในท้องถิ่น   
      ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศโดยได้ร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายในระดับสากลรวมถึงมาตรฐานของการออกแบบตัดเย็บ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้อุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบของประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นตามลำดับ เนื่องจากอุตสาหกรรมสิ่งทอถือเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้จากการส่งออกให้แก่ประเทศ และมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยทั้งห่วงลูกโซ่อุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงกว่า 1 ล้านคน และสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่าปีละ 2 แสนล้านบาท ซึ่งตลาดส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐอเมริกกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทั้งนี้ ยังได้เร่งนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับหัตถอุตสาหกรรมของชุมชนท้องถิ่น ไปจนถึงอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอระดับไฮเอนด์ โดยในเบื้องต้นได้เปิดศูนย์บริการรับเคลือบผ้าคุณสมบัตินาโน ที่อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และที่จังหวัดแพร่โดยมีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อรับผ้านำไปเคลทิบสารคุณสมบัตินาโน ที่จังหวัดเชียงใหม่ ต่อไป


     นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าวยังมีแสดงโชว์ตัวอย่างชุดเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ตัดเย็บจากผ้าพื้นเมืองคุณสมบัตินาโน รวมทั้ง การเสวนากับนักแสดงชื่อดังที่มาร่วมสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของเสื้อผ้าคุณสมบัตินาโนด้วย

เขียนข่าวโดย : นางสาวนีรนุช  ตามศักดิ์
ภาพข่าวโดย : นายรัฐพล หงสไกร
เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ, นายพิริยะ เผ่าพงษา

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» อพวช. ร่วมกับหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไต้หวันและสหรัฐฯ ชวนเยาวชนไทยสำรวจมลภาวะทางอากาศในรูปแบบวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
» การใช้ดาวเทียมเพื่อติดตามสถาณการณ์ไฟป่า จังหวัดเชียงใหม่
» มทส. – นาโนเทค – ซินโครตรอน ผนึกกำลัง ดำเนินการสถานร่วมวิจัยเพื่อการใช้แสงซินโครตรอน ระยะที่ 2
» ปลัดกระทรวงวิทย์ ต้อนรับ รมช.วท. จีน อย่างเป็นกันเอง ด้วยบรรยากาศล้านนาไทย
» ฉาบนาโนลงร่มบ่อสร้าง
» นาโนเทคโชว์ผลงานวิจัย smart soil...แปรรูปผักตบชวาให้เป็นสารปรับปรุงดิน
» ดร.วรวรงค์ ชี้โลกยุคใหม่ใช้วิทยาศาสตร์เป็นตัวนำแนะครูปรับแนวคิดวิชาวิทย์ฯเป็นสิ่งที่ชีวิตขาดไม่ได้
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป