กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน กระทรวงวิทย์ฯ โชว์เทคโนโลยีใหม่ปราบลูกน้ำยุงลายพาหะไข้เลือดออก

กระทรวงวิทย์ฯ โชว์เทคโนโลยีใหม่ปราบลูกน้ำยุงลายพาหะไข้เลือดออก

พิมพ์ PDF

วัน ที่ 2 มิถุนายน 2552  ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นำสื่อมวลชนลงพื้นที่บริเวณเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  พาหะนำโรคไข้เลือดออก  เพื่อสาธิตเทคโนโลยีกำจัดยุงลายด้วยแบคทีเรียบีทีไอ  ที่ปกติพบได้ในดินธรรมชาติทั่วไปและเป็นศัตรูธรรมชาติของลูกน้ำยุงลาย  โดยแบคทีเรียดังกล่าวสามารถสร้างโปรตีนผลึกที่ทำลายกระเพาะอาหารของลูกน้ำ ยุง  ทำให้อดอาหารและตายไปในที่สุด  ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกว่ามีความปลอดภัย สูง  และจะทำลายเฉพาะลูกน้ำยุงลายเท่านั้น  ไม่มีผลต่อแมลงชนิดอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้ ขนาดการใช้งานแบคทีเรียบีทีไอจำนวน 20 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ 1 โอ่งใหญ่  สามารถออกฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงได้ภายใน 24 ชั่วโมง  และมีประสิทธิภาพควบคุมลูกน้ำยุงลายได้นานถึง 12 สัปดาห์

 

              ดร. คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  กล่าวว่า  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย ไบโอเทค/สวทช. เห็นความจำเป็นที่จะต้องทำการควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยวิธีการที่มี ประสิทธิภาพ  เหมาะสม สะดวกต่อการใช้  และเป็นที่ยอมรับของประชาชน จึงได้ทำการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชีวินทรีย์ควบคุมลูกน้ำยุงพาหะนำโรค  โดยการใช้จุลินทรีย์ชนิด บีทีโอ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “บาซิลัสธูรินจิ  เอ็นซิส อิศราเอลเอ็นซิส” พบได้ในธรรมชาติทั่วไปและเป็นศัตรูธรรมชาติของลูกน้ำยุงลาย  โดยสามารถสร้างโปรตีนที่ทำลายลูกน้ำยุงลายได้  เมื่อลูกน้ำกินเข้าไปโปรตีนผลึกนี้จะเข้าทำลายกระเพาะอาหารของลูกน้ำยุง ทำให้ลูกน้ำยุงอดอาหารและตายในที่สุด  โดยวันนี้ได้นำตัวอย่างของผลิตภัณฑ์มามอบให้กับบริเวณพื้นที่เสี่ยงซึ่งเป็น บริเวณที่มีน้ำขังตลอดปี  อันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก  เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยพัฒนาของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ได้มอบหมายให้หน่วยงานในกำกับเร่งผลิตผลงานวิจัย ที่สามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างทันการณ์และต่อ เนื่อง
              ด้าน ดร.กัญญวิมว์  กีรติกร  ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค/สวทช.) กล่าววว่า  ชีวินทรีย์ควบคุมลูกน้ำยุงลายชนิดออกฤทธิ์นานนี้ได้นำไปทดสอบประสิทธิภาพใน พื้นที่ชุมชนชนบทอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา  และอำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี  ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชนเมือง จำนวน 200 หลังคาเรือน  เพื่อให้เกิดการยอมรับของชุมชนในการใช้ชี วินทรีย์ควบคุมลูกน้ำยุงลายในบ้าน  โดยใส่ผลิตภัณฑ์ชีวินทรีย์ 20 กรัม/ น้ำ 200 ลิตร  ในน้ำใช้ทุกภาชนะของบ้านที่ทำการทดลอง  และติดตามบันทึกผลการควบคุมลูกน้ำยุงลาย  พบว่าสามารถควบคุมลูกน้ำยุงลายได้นานประมาณ 12 สัปดาห์  โดยที่ปริมาณลูกน้ำยุงลายจะค่อย ๆ ลดลงและหมดไปในสัปดาห์ที่ 3 และพบลูกน้ำยุงลายเล็กน้อยในสัปดาห์ที่ 7-11  ประชาชนผู้ใช้มีความพอใจในการใช้ชีวินทรีย์ดีพอๆ กับการใช้สารเคมี temephos ทั้งนี้ ปัจจุบัน ไบโอเทค/สวทช. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่ บริษัท ทีเอฟไอ กรีนไบโอเทค จำกัด เป็นผู้ผลิตจำหน่าย

 

 

 

 

 


 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป