กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน 34 ปี กระทรวงวิทย์ฯ “วรวัจน์” เดินหน้า 47 แผนงานเพื่อคนไทย

34 ปี กระทรวงวิทย์ฯ “วรวัจน์” เดินหน้า 47 แผนงานเพื่อคนไทย

พิมพ์ PDF


 

    นายวรวัจน์  เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า วันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคล้าย
วันสถาปนากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งปีนี้ ครอบรอบ 34 ปี เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการพัฒนาการของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่เติบโตก้าวหน้าขึ้น มีผลงานวิจัยและพัฒนาที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อช่วยผู้ประกอบการให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ และเกษตรกร สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ในการเพิ่มผลผลิต ลดการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ได้ โดยไม่ต้องนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ


     สืบเนื่องจาก มติ ครม. ที่มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ เพื่อเป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณปี 2557 รวมทั้งสิ้น 28 ประเด็น ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์คือ 1) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง 2) การลดความเหลื่อมล้ำ การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 4) การบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้มอบหมาย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการดำเนินงานในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 1 คือการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้ไทยหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง ซึ่งในประเด็นที่ 8 คือ การวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 1) การขับเคลื่อนค่าใช้จ่ายด้าน R & D หรือ Research & Development (วิจัยเพื่อการพัฒนา) เป็นร้อยละ 1 ของ GDP  2) Talent Mobility การใช้ประโยชน์จากกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรม และการใช้ประโยชน์จากกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) การใช้ประโยชน์ Regional Science Park หรืออุทยานวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค


     กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการการบูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) ประเด็นการขับเคลื่อนค่าใช้จ่ายด้าน R & D เป็นร้อยละ 1 ของ GDP  Talent Mobility การใช้ประโยชน์จากกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการใช้ประโยชน์ Regional Science Park เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประกอบด้วย 5 กลุ่มงาน ดังนี้ 1) วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างงาน  2) วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างรายได้ 3) วิทยาศาสตร์เพื่ออนาคต 4) วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 5) วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างฐานความรู้ โดยแบ่งเป็น 47 แผนงาน ได้แก่ 1) แผนงานข้าว  2) แผนงานข้าวโพด 3) แผนงานปาล์ม 4) แผนงานพืชผัก (พริก มะเขือเทศ และกลุ่มแตง) 5) แผนงานมันสำปะหลัง  6) แผนงานไม้สัก 7) แผนงานยาง 8) แผนงานอ้อย 9) แผนงานลำไย 10) แผนงานกุ้ง  11) แผนงานไก่ 12) แผนงานโคนม 13) แผนงานหมู 14) แผนงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ด้วยเทคโนโลยีซอฟแวร์ และสารสนเทศดิจิทอล 15) แผนงานยกระดับ SME ไทย  ในการสร้างและทดสอบเครื่องจักรอัตโนมัติ เพื่ออุตสาหกรรมผลิต Hard Disk Drive  16) แผนงานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 17) แผนงานการขยายผลการผลิตพลังงานและผลิตภัณฑ์จากชีวมวล 18) แผนงานโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโน 19) แผนงานโครงการสร้างธุรกิจนวัตกรรมแก่ SMEs เพื่อการแข่งขันในระดับอาเซียน (ครัวไทยสู่ครัวโลก)
     20) แผนงานการยกระดับความสามารถผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เพื่อรักษาฐานการผลิตรถยนต์  21) แผนงานการยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อรองรับการผลิตชิ้นส่วนรถไฟและระบบราง 22) แผนงานการจัดตั้งเขตพื้นที่พัฒนานวัตกรรมบริการสุขภาพแนวใหม่ในประเทศไทย (Medicopolis) 23) แผนงานการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง 24) แผนงานห้องปฏิบัติการเพื่อการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า 25) แผนงานการเพิ่มมูลค่าและความปลอดภัยของอาหารแปรรูปไทยสู่ระดับสากล  26) แผนงานอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า 27) แผนงานการควบคุมการใช้สารรังสีเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อประชาชน 28) แผนงานความหลากหลายทางชีวภาพ: การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ 29) แผนงานการเพิ่มผลผลิตและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์ 30) แผนงานการวิจัยรังสีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย  31) แผนงานการจัดตั้งสถาบันศึกษานิวเคลียร์ชั้นสูงเพื่อแก้ไขการขาดแคลนบุคลากรนิวเคลียร์ 32) แผนงานการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสียหาย 33) แผนงานการพัฒนาระดับโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม และการเกษตร ในระดับนาโนด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตอน 34) แผนงานโครงการกำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมในระดับอาเซียนโดยใช้เทคโนโลยีด้านมาตรวิทยา
     35) แผนงานศูนย์ปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีนาโนเพื่อพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน  36) แผนงานการแปรรูปมันสำปะหลังด้วยนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพเพื่อทดแทนพลาสติกสังเคราะห์ 37) แผนงานศูนย์เครือข่ายเตือนภัยพิบัติโดยใช้เทคโนโลยีอวกาศ 38) แผนงานภูมิสารสนเทศกลางของประเทศเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ความมั่นคง และการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น 39) แผนงานขยายการผลิตสาหร่ายเป็นอุตสาหกรรมพลังงานและอาหาร 40) แผนงานพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความมั่นคงของประเทศ 41) แผนงานนวัตกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์จากงานวิจัยของประเทศไทย 42) แผนงานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับคนไทย 43) แผนงานนวัตกรรมการผลิตยา วัคซีน สารชีวภัณฑ์ทางการแพทย์ สมุนไพร และอาหารเสริมจากงานวิจัยของประเทศไทย 44) แผนงานการรวบรวมและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมชั้นสูง 45) โครงการเร่งด่วนเพื่อการแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ 46) การส่งเสริมการใช้ประโยชน์อุทยานวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาค 47) แผนงานโครงการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง
      ที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้นำผลงานวิจัยและพัฒนาไปช่วยบรรเทาภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยใหญ่ที่ผ่านมา และในปีนี้ ประเทศไทยเกิดภาวะแล้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในฐานะเป็นหนึ่งในกระทรวงหลักที่รับผิดชอบแก้ปัญหาภัยแล้ง ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการในการรับมือตลอดจนนำเทคโนโลยี สมัยใหม่เข้าไปช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ได้พัฒนาระบบคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ให้เป็นระบบกลางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ ทั้งข้อมูลแผนที่ ข้อมูลสถิติ ข้อมูลสถานการณ์น้ำปัจจุบัน ข้อมูลคาดการณ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขณะที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  (สทอภ.) จะใช้ข้อมูลจากดาวเทียมซึ่งถ่ายภาพครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย ซึ่งสามารถบอกถึงความแห้งแล้งของพื้นที่ต่างๆ ได้ พร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่แหล่งน้ำขนาดเล็กครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนและติดตามสถานการณ์น้ำจากผิวดินในช่วงฤดูกาลต่างๆ และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ได้ทำการวิจัยโพลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูง สามารถดูดซึมน้ำได้ถึง 300-400 เท่า เมื่อเทียบกับน้ำหนักแห้ง สามารถนำมาใช้ผสมดินเพื่อให้ความชุ่มชื้นกับพืชได้ และไม่ต้องให้น้ำกับพืชบ่อย โดยไม่เป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อมและไม่มีสารพิษตกค้าง
    นอกจากนี้ ในเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร ซึ่งมีปัญหาเรื่องแมลงวันผลไม้ สร้างปัญหาทำให้ขายผลไม้ไม่ได้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้นำเทคโนโลยี การควบคุมแมลงวันผลไม้แบบพื้นที่กว้างโดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมันผสมผสานร่วมกับวิธีการอื่น เป็นการบริหารจัดการควบคุมแมลงวันผลไม้อย่างเป็นระบบ  มีการจัดเก็บข้อมูล  เฝ้าระวังการระบาดของแมลงอย่างต่อเนื่อง และนำวิธีการควบคุมแมลงวันผลไม้หลายๆ วิธีมาใช้ผสมผสานก่อนที่แมลงจะระบาด เป็นการทำงานเชิงรุก  มุ่งเน้นการลดการใช้สารเคมี ทำให้เกษตรกรลดรายจ่ายในการซื้อสารเคมี และมีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากไม่ต้องสัมผัสกับสารเคมีอันตราย ซึ่งได้ผลดีในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และแพร่ ในส่วนนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีแผนที่จะขยายพื้นที่ต้นแบบเป็น 8 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ นครสวรรค์ จันทบุรี อุดรธานี นครนายก นครศรีธรรมราช และสมุทรสงคราม และขยายทั่วประเทศต่อไป โดยตั้งเป้าจะลดจำนวนและกำจัดแมลงวันทองให้หมดไปภายใน 2 ปี
     ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอ ได้มีการนำนาโนเทคโนโลยีไปพัฒนาต่อยอดและเพิ่มมูลค่าสิ่งทอ เพื่อทำให้มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้น นอกจากลดการยับของเนื้อผ้าและเพิ่มความนุ่มนวลแล้ว ยังมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำหรือไม่เปียกน้ำ ต้านแบคทีเรียทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็นอับ ทำให้ไม่ต้องซักบ่อย ในส่วนนี้ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) บูรณาการความร่วมมือเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีนาโน เพิ่มมูลค่าสินค้าใน ภาคอุตสาหกรรมและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อสร้างรายได้ ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยได้ถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีนาโนให้กับบุคลากรของ สอศ. ซึ่งวิทยาลัยที่มีศักยภาพและความพร้อม จะได้รับการผลักดันให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีนาโนเพื่อนำองค์ความรู้ลงสู่ภาคการปฏิบัติจริงโดยนำร่องการพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน พัฒนาองค์ความรู้เชิงลึกสู่การเรียนการสอน และในอนาคตจะต่อยอดเปิดเป็นสาขาวิชาชีพเฉพาะทางในสถาบันการอาชีวศึกษา รวมทั้งจะส่งเสริมให้มีการจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีนาโนที่สามารถประยุกต์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์แก่ชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วย ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงกันอย่างครบวงจร ทั้งยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา และยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับพื้นที่ ทั้งนี้รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์นาโน ซึ่งสามารถควบคุมการปล่อยธาตุอาหารให้กับพืชได้ตามเวลาที่กำหนด ทำให้ไม่เกิดการสูญเสียปุ๋ย เนื่องจากการละลายไปกับน้ำก่อนที่พืชจะต้องการใช้ธาตุอาหาร เป็นต้น
     นายวรวัจน์  เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า จะผลักดันแผนงานทั้ง 47 แผนงาน  เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะอีก 2 ปี จะเข้าสู่ AEC ประเทศไทยจะต้องเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้ให้ได้





ผู้เขียนข่าว : นายปราโมทย์  ป้องสุธาธาร
                 กลุ่มงานประชาสัมพันธ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โทร. 02 333 3728

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป