กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน กระทรวงวิทย์ฯ ประกาศความสำเร็จวิศวกรรมย้อนรอยเครื่องจักรต้นแบบ

กระทรวงวิทย์ฯ ประกาศความสำเร็จวิศวกรรมย้อนรอยเครื่องจักรต้นแบบ

พิมพ์ PDF

“ระบบจ่ายคอนกรีตชนิดแขนพับสำหรับงานก่อสร้าง”


     นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดความสำเร็จวิศวกรรมย้อนรอยเครื่องจักรต้นแบบ “ระบบจ่ายคอนกรีตชนิดแขนพับสำหรับงานก่อสร้าง” สามารถจ่ายคอนกรีตเข้าไปภายในตัวอาคารเพื่อก่อสร้าง ปริมาณ 5 ลบ.เมตร ใช้เวลาเพียง 10 นาที ราคาถูกกว่านำเข้าถึงร้อยละ 40 ลดต้นทุนการผลิต แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ลดระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่  โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท คอนสโกเอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด ณ บริษัท คอนสโกฯ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซ.41 เขตประเวศ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2556
    นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เปิดเผยว่า จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทย ทำให้มีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และอื่นๆ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการนำเข้าเครื่องจักรมาใช้ในการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ตามปริมาณการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะเครื่องจ่ายคอนกรีตชนิดแขนพับสำหรับงานก่อสร้าง ที่มีความต้องการมากถึง 20 เครื่องต่อปี (ข้อมูลปี 2554)  ซึ่งการพัฒนาเครื่องดังกล่าวได้ภายในประเทศจะลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศไปได้กว่าร้อยละ 40 (ราคานำเข้า 5-6 ล้านบาท ผลิตได้ภายในประเทศจำหน่ายในราคาประมาณ 3-4 ล้านบาท) และยังเป็นการเพิ่มผลิตภาพของอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทย ลดต้นทุนการผลิต ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากฝุ่นควันในการก่อสร้าง พัฒนาศักยภาพบุคคลากรไทยในการพัฒนาและสร้างเครื่องจักร รองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบที่ดีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม และ GDP ของประเทศ


    ด้วยเหตุนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงให้การสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท คอนสโกเอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด ดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบระบบจ่ายคอนกรีตชนิดแขนพับสำหรับงานก่อสร้าง ภายใต้โครงการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักรในกระบวนการผลิตเพื่อลดการนำเข้าด้วยวิศวกรรมย้อนรอยและพัฒนาเทคโนโลยีของไทย โดยมีรัศมีการทำงานของแขนกลประมาณ 28 เมตร เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศไทย มีราคาถูก และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ 
     ด้าน รศ.ดร.ธัญญะ เกียรติวัฒน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากการขยายตัวในภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้มีการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและภาคเอกชนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ระบบสาธารณูปโภคและอื่น ๆ ทำให้มีความต้องการเครื่องจักรในการก่อสร้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครื่องจ่ายคอนกรีตชนิดแขนพับสำหรับงานก่อสร้าง เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีความต้องการใช้ประมาณ  20 เครื่องต่อปี ซึ่งล้วนแต่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น ส่วนมากเป็นการนำเข้าจากประเทศจีน และเป็นแบบที่ใช้งานแล้ว จึงทำให้ไม่ปลอดภัยในการนำมาใช้ในประเทศไทย ดังนั้นทางบริษัท คอนสโกเอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาเพื่อลดการนำเข้าเครื่องดังกล่าว  โดยสามารถผลิตได้ภายในประเทศ ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการวิจัยและพัฒนาเครื่องจ่ายคอนกรีตชนิดแขนพับสำหรับงานก่อสร้างดังกล่าว สามารถจ่ายคอนกรีตเข้าไปในงานก่อสร้างได้ถึง 5 ลูกบาศก์เมตรต่อ 10 นาที ประหยัดแรงงานคน รวดเร็ว และที่สำคัญมีประสิทธิผลก่อให้เกิดการทำงานได้เป็นอย่างสูง ขนาดกระทัดรัด สวยงาม เหมาะสมกับการทำงานเป็นอย่างยิ่ง สามารถผลิต และใช้วัสดุภายในประเทศทั้งสิ้น



ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่
     นายสมบัติ  สมศักดิ์     นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
     สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
     สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     โทร. 0 2333 3956  โทรสาร 0 2333 3931
     e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป