นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สัมภาษณ์ในหัวข้อประเด็นเรื่อง “คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 15.00 น. ณ.ห้องประชุมรัฐมนตรี ชั้น 2 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเด็นที่ 1.
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานการจำลองสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมด้วย นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไฟศาส รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการบริหารการจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) และ ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ในฐานะกรรมการการบริหารการจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) โดยจะมีการจำลองสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งติดตามการบริหารการจัดการน้ำโดยประเมินจากการติดตั้งโทรมาตร และ CCTV ณ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คลองรังสิตประยูรศักดิ์ จ.ปทุมธานี
![]() |
![]() |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) และสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.) ได้จัดตั้งโครงการ คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติขึ้น โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของข้อมูล และระบบสารสนเทศที่พร้อมรองรับการตัดสินใจในการรับมือกับภัยพิบัติ และการเปลี่ยนปลงสภาพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที แนวทางการดำเนินงานในครั้งนี้ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) เป็นผู้รับผิดชอบในด้านการรับข้อมูลต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้ถ่ายทอดไปยังสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.) เป็นผู้ดูแลบริหารการจัดการทั้งหมด
ในการนี้ การถ่ายทอดข้อมูลสู่ประชาชน จะมีการจำลองเหตุการณ์สถานการณ์น้ำท่วมแต่ละจุด โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งจะทำให้ทราบถึงระดับความสูงและการไหลของน้ำได้ดี ในพื้นที่ที่ทำแล้วเสร็จคือ บริเวณภาคกลางตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในระยะยาวจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเผยแพร่ไปยังช่อง 94 ทางสถานีเคเบิ้ล TV Most Channel ซึ่งจะเปิดตัวในเดือน มีนาคม 2556 โดยนำเสนอข้อมูลน้ำ ข้อมูลการพยากรณ์อากาศ และข้อมูลการเกษตร ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) และสนับสนุนข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมชลประทาน ซึ่งดูแลความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมดโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) และสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.)
![]() |
ทั้งนี้ รายละเอียดข้อมูลสำหรับการดำเนินการ สามารถระบุพื้นที่ตำบลซึ่ง ปัจจุบันมี 510 จุด ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมจะมีการใช้สีต่างๆแบ่งความชุมชื่นหรือแห้งแล้ง และจะถูกส่งไปที่หน่วยงานป้องกันภัย การดำเนินการทั้งหมดนี้รัฐบาลหวังให้ประเทศไทย เป็นแม่แบบให้กับประเทศอาเซียนในอนาคตต่อไป
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) จะใช้ดาวเทียมตรวจพื้นที่ที่เกิดภัยแล้ง โดยจะส่งข้อมูลที่ได้ไปยังองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพ.) และส่งต่อไปสู่จังหวัด สำหรับเรื่องอื่นๆ ได้มีการจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม เช่น หมอกควัน โพลิเมอร์หุ้มน้ำที่ทำจากมันสำปะหลัง แต่ยังไม่มีการจดสิทธิบัตร
เขียนข่าวโดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ
เผยเแพร่ข่าว : นางสาวนีรนุช ตามศัักดิ์
ถ่ายภาพข่าว : นายพิริยะ เผ่าพงษา