นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การบูรณาการแผนปฏิบัติการสำหรับยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) ดังกล่าว พร้อมทั้งปาฐกถาเรื่อง “แนวทางการดำเนินงานบูรณาการงานภายใต้ประเด็นการวิจัยและพัฒนาของยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy)” เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับยุทธศาสตร์ประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง และผลักดันให้งบประมาณ ด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้เป็น 1% ของ GDP ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2556
![]() |
|
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 ให้เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันให้งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้เป็น 1% ของ GDP หรือประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการใช้วิทยา- ศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นวิถีชีวิตของคนไทย และเตรียมพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างมั่นคงต่อไป
ผมได้ให้นโยบายและแนวทางกับท่านผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ว่าเราจะเป็นหน่วยงานหลักที่จะประสานกับทุกหน่วยงาน เพื่อให้งานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปผสมผสานกับงานด้านเศรษฐกิจทั้งหมด ทำใน ลักษณะ Project base โดยในหนึ่งแผนงานจะต้องมีทุกกระทรวง ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมในการขับเคลื่อน กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะทำหน้าที่ประสานงาน ซึ่งผมได้สร้างกลไกให้มี Mister ในแต่ละแผนงานที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนตามแนวทาง 5 กลุ่มงาน โดยจัดการตั้งแต่กระบวน การต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ คือตั้งแต่วัตถุดิบ/ออกแบบ ผลิต/แปรรูป และส่งให้ถึงตลาดให้ได้เห็นมูลค่าเพิ่ม (value chain) ของแต่ละแผนงานที่ประเทศไทย มีความเชี่ยวชาญและความพร้อมที่จะรับการสนับสนุนและผลักดัน และได้ให้นโยบายและกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ดำเนินการนำร่องแล้วทั้ง ๕ กลุ่ม และ ๔๗ แผนงาน อาทิ 1. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างงาน จะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก เช่น เทคโนโลยีการเกษตร การผลิตพันธุ์พืช การเพาะปลูก เป็นต้น โดยจะมีแผนงาน เช่น แผนงานข้าว แผนงานยาง แผนงานข้าวโพด และแผนงานปาล์ม เป็นต้น รวม ๑๓ แผนงาน
2. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างรายได้ จะเน้นที่การสร้างรายได้หรือเพิ่มมูลค่า เช่น แผนงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ด้วยเทคโนโลยีซอฟแวร์ และสารสนเทศดิจตอล แผนงานยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อรองรับการผลิตชิ้นส่วนรถไฟและระบบราง รวม ๑๓ แผนงาน 3. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างชีวิต เกี่ยวกับสุขภาพของคน เพื่อตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุในอนาคต เช่น แผนงานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับคนไทย แผนงานนวัตกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์จากงานวิจัยของประเทศไทย รวม ๔ แผนงาน 4. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างอนาคต คือการพัฒนาไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี
![]() |
![]() |
ในอนาคต เช่น แผนงานภูมิสารสนเทศกลางของประเทศเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ความมั่นคง และการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น อาทิ แผนงานความหลากหลายทางชีวภาพ : การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ แผนงานขยายการผลิตสาหร่ายเป็นอุตสาหกรรมพลังงานและอาหาร รวม ๑๔ แผนงาน 5. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างฐานความรู้มี ๑ แผนงานคือ แผนงานการรวบรวมและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมชั้นสูง โดยจะรวมกับการดำเนินตามนโยบาย Talent Mobility และการใช้ประโยชน์จากกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ และนโยบายการใช้ประโยชน์ Regional Science Parks เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ผมได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยา- ศาสตร์ฯ ไปดำเนินการตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายในการพัฒนาจังหวัดให้เป็น “เมืองวิทยาศาสตร์” โดยให้กระทรวงต่างๆ ลงไปช่วยขับเคลื่อน โดยจัดประชุมเรื่อง “เทคโนโลยีสู่อาเซียนในกลุ่มล้านนาตะวันออก” ที่จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ ๓-๕ มกราคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา เพื่อขับเคลื่อนนำร่อง ผลการประชุมได้ข้อสรุปว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะผลักดันและดำเนินโครงการร่วมกันกับจังหวัดแพร่ รวม ๒๔ โครงการ ซึ่งได้บรรจุในแผนงานตามยุทธศาสตร์ทั้ง ๕ แล้ว และจังหวัดแพร่เลือกบรรจุ ๙ โครงการเป็นโครงการ Flagship ในแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดด้วย อาทิ โครงการ Teak Valley เป็นการพัฒนาไม้จากป่าปลูกของ ออป. ด้วยการใช้เทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นการออกแบบดีไซด์ เพื่อไปสู่ตลาดเป้าหมายตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค โครงการ Smarter Space เป็นการจัดทำแผนที่ที่ดิน โดยจะใช้เทคโนโลยีระบบ GIS มาช่วยในการตรวจสอบพื้นที่ป่า โฉนดที่ดิน และแผนที่ ๓ มิติ โดยจัดทำทั้งจังหวัด และผลักดันให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป เป็นต้น
ด้าน ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้ “ยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy)” และมอบหมายกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเพิ่มขีดความสามารถเพื่อหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลางในประเด็นที่ ๘ การวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย
๑) ขับเคลื่อนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นร้อยละ ๑ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ๒) การส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรม การใช้ประโยชน์จากกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ๓) การใช้ประโยชน์จากอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จะเป็นการบูรณาการและเติมเต็มห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) และแผนธุรกิจรายแผนงาน ๔๗ แผนงาน (Project based) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ทุกภาคส่วนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ครอบคลุมทุกพื้นที่ของจังหวัด โดยในระดับจังหวัดได้ดำเนินการนำร่องที่จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ ๔-๕ มกราคม ที่ผ่านมา ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการภายใต้ “ยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy)” : ประเด็นที่ ๘ การวิจัยและพัฒนา ให้เป็นหลักสำคัญในการผลักดันงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไปถึง 1% ของ GDP และให้เป็นการสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ต่อไป
ผู้เขียนข่าว : นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
โทร. 0-2333-3700 ต่อ 3728 โทรสาร 02-333-3833 E-Mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ถ่ายภาพโดย : นายพิริยะ เผ่าพงษา, นายรัฐพล หงสไกร
เผยแพร่โดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ