ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยม ต้นแบบเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงาน ของสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านหนองแดงสามัคคี จำกัด อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยความร่วมมือของโครงการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สวทช. , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี รศ.ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (เครือข่าย iTAP), นายสมยศ เกตุแก้ว ประธานสหกรณ์ฯ, นาย บุญโชติ ร่มเย็น ผู้จัดการสหกรณ์ฯ กำนัน ผู้ใหญ่และประชาชนให้การต้อนรับ (เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2552)
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า โครงการพัฒนาการสร้างต้นแบบเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงาน เป็นโครงการที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถ เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ยางหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในโอกาสต่อไป ต้นแบบเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงานนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นใช้เวลาน้อยลง ปัจจุบันใช้เวลาและปริมาณของฟื้นน้อยลง 1 ใน 4 สามารถอบยางได้ 20-25 ตัน/ครั้ง ทำให้ลดต้นทุน ซึ่งต้นแบบนี้ยังสามารถที่จะพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและศักยภาพเพิ่มขึ้น แต่ในเบื้องต้นนี้ลดลงได้ร้อยละ 25 ทั้งด้านพลังงานและเวลา
ด้าน รศ.ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า โครงการพัฒนาต้นแบบเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงานของสหกรณ์กองทุนสวน ยางบ้านหนองแดงสามัคคี อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำต้นแบบเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงานตามหลัก ทางวิศวกรรม เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเตาสำหรับกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควัน และให้ข้อมูลและคำแนะนำในการใช้งานเตาต้นแบบที่ถูกต้องแก่ สกย. ที่ร่วมโครงการ ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างและการใช้งานเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัด พลังงานให้กับ สกย. อื่นต่อไป
รศ.ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล กล่าวอีกว่า ภาคใต้มีโรงอบรมยางแผ่นของสหกรณ์กองทุนสวนยางมากกว่า 700 สหกรณ์ อยู่ในนครศรีธรรมราชมากกว่า 100 โรง สงขลาประมาณ 100 โรง และตรังประมาณ 90 โรง ดังนั้น ผลจากความสำเร็จในการสร้างและทดลองใช้เตาต้นแบบที่ สกย.หนองแดงสามัคคี จะเป็นตัวอย่างอันดีที่จะนำไปขยายผลกับกลุ่มสหกรณ์อื่นในการปรับเปลี่ยนรูป แบบเตาอบยางแผ่นแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงานและเวลามากกว่า ทำให้ชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายน้ำยางหรือยางแผ่น อันจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกร รวมทั้งยังเสริมให้กลไกราคายางแผ่นรมควันในตลาดมีความแข็งแรงและมั่นคงอีก ด้วย
ข้อมูลต้นแบบเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงาน
ข้อดีของเตาอบยางแผ่นแบบประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับเตาแบบเดิม
1. มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนดีกว่า
2. การกระจายของลมร้อนในเตาสม่ำเสมอและดีกว่า
3. ประหยัดเชื้อเพลิง (ไม้ยาง)
4. รูปร่างทันสมัยและออกแบบตามหลักวิศวกรรม
5. มีการนำไอร้อนในห้องอบยางกลับมาใช้อุ่นอากาศที่เข้าสู่เตาเผา
6. มีความปลอดภัยสูงขึ้น
ผลที่ได้รับจากโครงการ
ประสิทธิภาพของเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงาน
1. ลดต้นทุนในส่วนของการรมยางได้มากกว่าร้อยละ 30
2. ประหยัดพลังงาน (ไม้ฟืน) ได้มากกว่าร้อยละ 35
3. ลดปริมาณการเสียของยางจากการรมลงได้เหลือไม่เกินร้อยละ 10
ความเป็นมาของโครงการ
- มิ.ย. 50 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ของการสนับสนุนการพัฒนา อุตสาหกรรมการแปรรูปน้ำยางพาราต่อทางโครงการ iTAP
- ส.ค. 50 จัดกิจกรรมให้ความรุ้ด้านน้ำยางโดย MTEC, iTAP และ สกย. มีการเข้าเยี่ยมโรงงานเตารมยางแผ่นรมควันเพื่อวิเคราะห์ปัญหา (iTAP, มจพ. และมวล.)
- ต.ค.50 จัดโครงการ "พากลุ่มเสาะหาเทคโนโลยีและเจรจาธุรกิจ" โดยพาตัวแทนของกลุ่มสมาชิต สกย. ไปดูงานเตาอบยางแผ่นรมควันที่ จ.ระยอง
- มี.ค. 51 ศึกษาและจัดทำแบบเตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงาน โดยได้รับงบประมาณจาก iTAP
- ต.ค. 51 ได้รับอนุมัติโครงการสร้างต้นแบบเตาอบยางแผ่นรมควันแบบลดต้นทุนจาก iTAP
- มี.ค. 52 ก่อสร้างเตาต้นแบบและติดตั้งทดแทนเตาแบบเก่าที่ สกย.หนองแดงสามัคคี อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
- พ.ค. 52 เริ่มทดสอบเตาต้นแบบประหยัดพลังงานที่ สกย.หนองแดงสามัคคี และศึกษาประสิทธิภาพของเตาแบบใหม่