กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน โครงการพัฒนาต้นแบบโรงไฟฟ้าชุมชนพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์แบบยั่งยืน สำหรับประเทศไทย

โครงการพัฒนาต้นแบบโรงไฟฟ้าชุมชนพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์แบบยั่งยืน สำหรับประเทศไทย

พิมพ์ PDF

 

     วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2555) เวลา 09.30 น. รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ  ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอบหมายให้ นายสมชาย เทียมบุญประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เป็นผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการแถลงข่าวการจัดสัมมนาเรื่อง “แนวทางการศึกษาและพัฒนาระบบโครงการพัฒนาต้นแบบโรงไฟฟ้าชุมชนพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์แบบยั่งยืนสำหรับประเทศไทย” จัดโดยคณะธรรมมาการพลังงาน วุฒิสภา ได้ร่วมกับ กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงอุตสาหกรรม ณ ห้องรับรอง 1 - 2 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2

     นายสมชาย เทียมบุญประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เทคโนโลยีของพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์นี้มีอยู่จริงและเกิดขึ้นแล้วในยุโรป ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก นักวิจัยไทยสามารถทำขึ้นได้เองเพื่อให้เหมาะสำหรับประเทศไทย แต่อาจต้องนำเข้าเทคโนโลยีบางส่วนมาเสริมเท่านั้น กระทวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเลิกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จะช่วยดูแลเรื่องของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมการทำงาน เทคโนโลยีนี้มีความเป็นไปได้สูง เพราะต้นทุนต่ำกว่าของต่างประเทศ ในทางทฤษฎีแสงอาทิตย์ที่เหมาะจะใช้ในการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ราวๆ 6 - 8 ชั่วโมง เพราะมีความเข้มข้นของแสงสูงที่สุด แต่ในทางปฏิบัติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะทำให้เทคโนโลยีนี้สามารถดำเนินการผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
     

         

     วัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ เพื่อค้นคว้าแนวทางการศึกษาและพัฒนาโครงการต้นแบบ โรงไฟฟ้าชุมชนพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์แบบยั่งยืนสำหรับประเทศไทย ที่สามารถปรับแต่งให้ใช้ได้ในสภาพคุณลักษณะทางภูมิอากาศสำหรับทุกๆ ภาคของประเทศไทย และสามารถผลิตขึ้นมาได้เองภายในประเทศ อย่างน้อยร้อยละ 70-80 ของทั้งระบบ อันจะเป็นการส่งเสริมสร้างงานอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นในประเทศ ผลักดันให้มีติดตั้งใช้งานได้จริง รวมถึงมีออกแบบระบบการผลิตไฟฟ้าให้เกิดการผสมผสานเข้ากับวัตถุดิบด้าน พลังงานและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเข้าสู่การให้บริการท้องถิ่นได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชม. โดยไม่มีการขอรับเงินส่วนเพิ่มราคาซื้อไฟฟ้า (Adder) หรือ Feed-in-Tarrif (FiT) ใดๆ

 

        

     สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยการใช้เทคโนโลยีที่สามารถจะออกแบบขึ้นมาได้ เองมาผสมผสานกับการคัดเลือกสรรนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ที่จะนำมาใช้เฉพาะที่สามารถปรับแต่งและผลิตขึ้นมาได้เองภายในประเทศ

     อย่างไรก็ตาม การจัดสัมมนาครั้งนี้ จัดเป็นภารกิจหนึ่งของ คณะกรรมาธิการพลังงานวุฒสภา เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นข้อเสนอแนะ และเป็นการจุดประกายของความร่วมมือระหว่างกันของหลายๆ หน่วยงานด้านพลังงานในอนาคต ที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานของประเทศ

 

เขียนข่าวโดย  :  นางสาวศิริลัษณ์  สิกขะบูรณะ และนางสาวนีรนุช  ตามศักดิ์

ภาพข่าวโดย  :  นายรัฐพล  หงสไกร

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» ปส. จัดเสวนาเตรียมความพร้อมรองรับ พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติสู่การบังคับใช้
» ปส. ผนึกกำลัง INENS คุมเข้ม เสริมศักยภาพความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
» สนช. ผ่านวาระ ๓ ร่าง พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. .... ๑๔๔ ต่อ ๑ งดออกเสียง ๕ เตรียมประกาศใช้เป็นกฎหมาย
» วว.เชิญชวนเยาวชนส่งผลงานเข้าประกวดโครงการโรงเรียนต้นแบบนวัตกรรมสีเขียว
» กระทรวงวิทย์ฯ ชูพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จจัดการน้ำชุมชน จังหวัดเชียงราย
» เปิดยิ่งใหญ่ เซต้า 2016 ประกาศความพร้อมไทย สู่ศูนย์กลางพลังงานยั่งยืนในเอเชีย
» สานพลังประชารัฐ ขับเคลื่อนและยกระดับมาตรฐานการศึกษา
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป