กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน กระทรวงวิทย์ฯ ร่วม JAXA หนุนคนไทยทำการทดลองบนอวกาศ

กระทรวงวิทย์ฯ ร่วม JAXA หนุนคนไทยทำการทดลองบนอวกาศ

พิมพ์ PDF

(14 พฤษภาคม 2552) ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ Thailand Zero – Gravity Experiment ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) ประเทศญี่ปุ่น ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

 

 
 

 

 

            ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า วิทยาการด้านอวกาศและดาวเทียม นอกจากเป็นสิ่งที่นำความตื่นตาตื่นใจมาสู่สาธารณชนแล้ว ยังเป็นการเปิดโลกใหม่แห่งการค้นคว้าวิจัยให้กับหลายวงการ ทั้งด้านยารักษาโรคใหม่ๆ วัสดุชนิดใหม่ อัลลอย (Alloy) แปลกๆ ผลึกที่โตกว่าและบริสุทธิ์กว่าบนโลก รวมถึงการแปรเปลี่ยนยีน (Gene) ทำให้ได้พันธุ์พืชชนิดใหม่ เป็นต้น ดังนั้น ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ JAXA ในการส่งโครงการทดลองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมกิจกรรมทางอวกาศของ JAXA จึงเป็นเรื่องน่ายินดี โยการทดลองในอวกาศของ JAXA ครอบ คลุมตั้งแต่ การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยา ศาสตร์เกี่ยวกับสภาวะไร้น้ำหนัก ธรณีวิทยาและการสังเกตโลก วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต (Life Science) เทคโนโลยีอวกาศที่มีมนุษย์เข้าร่วม เป็นต้น ทั้งนี้ การวิจัยทดลองด้านต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ได้ทั้งข้อมูลและการปรับประยุกต์ใช้อันจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติต่อไป

            “การวิจัยร่วมกับ JAXA ใน สิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่โลก เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ทำให้เกิดการค้นพบสิ่งใหม่ นักวิจัย นักเรียน นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จะได้นำโครงการทดลองของตนไปทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนเที่ยวบินพาราโบลิก และร่วมส่งโครงงานวิจัยสำหรับส่งไปทดลองภายในยานอวกาศ คิโบ ของญี่ปุ่น นับเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมกับการวิจัย ทดลองทางอวกาศระดับสากล” ดร.คุณหญิงกัลยากล่าว

             ดร. สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี หัวหน้าโครงการการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชน นักวิจัย และประชาชนโดยผ่านความร่วมมือกับองค์กรอวกาศญี่ปุ่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โครงการ Thailand Zero – Gravity Experiment ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2549 มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักวิจัย นักเรียน และนักศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอวกาศ ของไทย ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย คือ

1.    Research Proposal for KIBO เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ร่วมส่งงานวิจัยขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติในส่วนของประเทศญี่ปุ่น คือ ยาน KIBO หรือ JEM (Japan Experiment Module) กลุ่มเป้าหมายคือ นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทั่วไป ขั้นต้น นักวิจัยต้องส่งข้อเสนอโครงการมาที่ สวทช. เพื่อให้คณะกรรมการ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก สวทช. และ JAXA ร่วมกัน คัดเลือก โดย สวทช. ให้การสนับสนุนงบประมาณและการพัฒนาโครงการ เมื่อการวิจัยบนพื้นโลกประสบความสำเร็จ จะส่งชุดวิจัยไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติต่อไป

      โครงการนี้ นับตั้งแต่เปิดรับสมัคร มีผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการเข้ามาเพียง 1 โครงการ คือ In-  vitro rice flowering under controlled environments in space ของ ดร.สุริยันตร์ ฉะอุ่ม และทีมวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาสภาวะแวดล้อมในสภาพอวกาศจำลองต่อการเจริญและพัฒนาของข้าวพันธุ์ไทยภายใต้ระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  ขณะนี้อยู่ในขั้นการศึกษาสภาวะปกติบนพื้นโลก

      สำหรับ อาจารย์ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป ยังสามารถส่งข้อเสนอโครงการเข้ามาเพื่อรับการพิจารณาได้ โดย สวทช. เปิดรับข้อเสนอโครงการตลอดทั้งปี  และมีการพิจารณา โครงการเพื่อสนับสนุนเงินทุนสำหรับงานวิจัยทุกๆเดือนมิถุนายนของทุกปี และสำหรับโครงการที่ทำการศึกษาวิจัยในสภาวะปกติบนพื้นโลกสำเร็จ สวทช. จะเสนอโครงการไปที่  JAXA ประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำการทดลองบนยานคิโบต่อไป


2.    The Student Zero – gravity Flight Experiment Contest เป็น โครงการทดลองในสภาวะไร้น้ำหนัก โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ทำการทดลองบนเครื่องบินที่ทำการบินแบบพาลาโบลา คือ โค้งขึ้น-ลงเป็นรูปคลื่น ทำให้เกิดสภาวะไร้น้ำหนักประมาณ 20 วินาที เพื่อทำการทดลอง และใช้กล้องวีดิโอบันทึกผลการทดลองที่เกิดขึ้นในสภาวะไร้น้ำหนัก กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือนักเรียนระดับมัธยมศึกษา    

      ทั้งนี้ ผลการคัดเลือกโครงการไปทดลองที่ประเทศญี่ปุ่นในปีที่ 1 – 3 ที่ผ่านมา ได้แก่

-          The First Student Zero – gravity Flight Experiment Contest (ปี 2549)

            ผลงานเรื่อง  Medical drug dispersion under microgravity โดย น.ส.อาภาภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และ น.ส.สรัลภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ จากโรงเรียนนานาชาติเซนต์จอห์น

-          The Second Student Zero - gravity Flight Experiment Contest (ปี 2550)

            ผลงานเรื่อง A study of water flow by heating under microgravity condition โดย นายธนภัทร ดีสุวรรณ นายวนรักษ์ ชัยมาโย จากมหาวิทยาลัยมหิดล นายสิทธิพงษ์ มะโนธรรม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายพิสิษฐ์ เกียรติกิตติกุล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

-          The Third Student Zero - gravity Flight Experiment Contest (ปี 2551)

            ผลงานเรื่อง Spaceflight results in reflective of body – wall muscle in paramyosin mutant of Caenorhabditis elegans โดย นายอติเทพ ไชยสิทธิ์ และ นายณัฐภาส พูลแย้ม จากมหาวิทยาลัยมหิดล

           ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถส่งข้อเสนอโครงการมาที่ สวทช. ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2552 เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมเพียง 1 โครงการ โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ขึ้นทำการทดลองบนเครื่องบินที่ทำการบินแบบพาลาโบ ลา ที่ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนธันวาคม 2552 ซึ่ง สวทช. จะสนับสนุนทุนในการพัฒนาชุดการทดลอง และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำการทดลองที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย


           สอบ ถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ฝ่ายสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1403 อีเมลล์ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน เว็บไซต์ www.nstda.or.th/jaxa-thailand

 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» แรงบันดาลใจ..เด็กไทยใช้วิทยุสื่อสารนักบินอวกาศ
» สทอภ. ร่วมกับ องค์การศึกษาวิจัยอวกาศแห่งชาติและฝรั่งเศส ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
» สวทช. เปิดรับสุดยอดไอเดียเยาวชนไทย ส่งให้มนุษย์อวกาศญี่ปุ่นทำการทดลองบนสถานีอวกาศ
» สดร. จับมือ สสวท. เปิดเวทีนำเสนอโครงงานดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ทั่วประเทศร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
» สทอภ. ชูนิทรรศการผลงานวิจัย ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ และ จัดประชุมวิชาการ GEOINFOTECH 2014
» ตามไปดู 6 เยาวชนไทยตะลุย “ค่ายอวกาศ” ที่เกาหลีใต้
» กระทรวงวิทย์ โดย GISTDA ร่วมกับ กคช. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป