กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน รมว.วท.ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการป้องกันปัญหาอุทกภัยพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

รมว.วท.ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการป้องกันปัญหาอุทกภัยพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

พิมพ์ PDF

 

 

     ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน ในพื้นที่ปิดล้อมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (คลองพระยาบันลือ จ.ปทุมธานี คลองพระพิมล จ.นนทบุรี คลองทวีวัฒนา จ.นครปฐม คลองมหาชัย จ.สมุทรสาคร) เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2555

 

 

     ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วท. กล่าวว่า ท่านนายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้ผมออกมาตรวจพื้นที่แล้วกลับไปรายงานเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรีเพราะว่าท่านเป็นหวงอยากให้มีการเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญ ซึ่งก็ไม่รู้จะเกิดหรือเปล่าก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ เราจึงต้องอยู่รอดให้ได้ ต้องไม่เสียหายเท่าเดิม ประชาชนต้องเดือดร้อนน้อยกว่าเดิม มี 11 ข้อที่ต้องปฏิบัติ เรื่องแรกก็คือ

 

 

     1. หาลู่ทางเพิ่มปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนโดยการระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยให้ได้ ถามว่าได้เท่าไหร่ ขั้นต่ำต้องให้ได้เพิ่มขึ้นอีก 100 ปัจจุบันมันได้ 300 คือ 10 %ของแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้นเอง เราจะเพิ่มให้ได้ขั้นต่ำ100 ขึ้นไป ซึ่งจะได้แค่ไหนยังไม่รู้.
     2. เราจะต้องหาทางเพิ่มการระบายน้ำออกจากทุ่ง 2-3 ทุ่ง โดยออกไปสู่แม่น้ำท่าจีนก็ดี แม่น้ำเจ้าพระยาก็ดีให้ได้โดยกระบวนการทางด้านระบบสูบและระบบดัน ระบบสูบเวลานี้ดูเหมือนทั้งปริมาณเชื่อมและความสามารถดับเบิ้ลของช่วงน้ำท่วมปีที่แล้ว คล้ายๆ อย่างนั้นนะตัวเลข ซึ่งก็ต้องดูต่อไปว่าพอหรือยังซึ่งก็ต้องไปคำนวณ ส่วนระบบดันน้ำถือว่าต้องเพิ่มเป็นร้อยๆเปอร์เซ็นต์ เพราะจากของเดิมแทบจะไม่มีเลย ต่อไปจะมีอย่างค่อนข้างจะถาวร
     3. จะต้องให้มีการขุดลอก การเก็บวัชพืช เพื่อให้น้ำไหลสะดวกมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกคลอง บนความร่วมมือของทั้งกรม จังหวัด ตลอดจนพื้นที่ต้องเก็บข้อมูลตลอดเวลา ต้องมีงบประมาณอย่างต่อเนื่องให้ได้
     4. หาทางน้ำผ่านคลองทวีวัฒนาให้ดีกว่าเดิม เพราะรู้อยู่ว่าถ้าทำอย่างนั้นไม่ได้คือ บีบประตูน้ำ น้ำก็ยิ่งท่วมใหญ่ ปล่อยมาเต็มที่ก็ทะลักทวีวัฒนาท่วม 2 ข้างคลองทวีวัฒนาไม่ว่าทางอื่นทางใดเสียหายทั้งนั้นต้องคิดให้ออกว่าต้องทำยังไง

 

 

     5. เพิ่มประสิทธิภาพของแม่น้ำท่าจีนจะต้องทำเรื่องคลองลัดของแม่น้ำท่าจีนเท่าที่จะทำได้ จากง่ายไปหายาก ตรงนี้เตรียมงบประมาณไว้แล้วผมจะผลักดันให้เกิดการศึกษาครั้งสุดท้ายคือ การศึกษามีอยู่แล้วแต่คราวนี้ต้องเอาออกมาใช้และต้องมีการเจรจาเกิดขึ้น
     6. ต้องเพิ่มคลองหรือระบบอะไรก็ตามทีคือ มีการระบายนำออกจะเพิ่มคลองใหม่หรือขยายคลองเดิมไม่รู้ทางหนึ่งทางใด ที่รู้ขณะนี้คลองทางเหนือ - ใต้มันมีน้อยเกินไป เราเลยต้องมาพึ่งคลองทวีวัฒนาอย่างเดียวดังที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้
     7. จะต้องแก้ปัญหาการเชื่อมต่อการทำงานระหว่างกรมชลประทานและจังหวัดข้างเคียงให้สำนึกให้ได้
     8. การใช้ประโยชน์จากคลองมหาชัยที่ไม่เต็มที่ ฉะนั้น เราต้องใช้คลองมหาชัยให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้

 

 

     9. ก็เช่นเดียวกับข้อที่ 8 ต้องใช้คลองภาษีเจริญให้มากกว่านี้ ปีที่แล้วขุดคลองในพื้นที่ซึ่งมีสโลบน้อยไม่เกิดประโยชน์ ต้องขยายเท่าที่จะขยายได้ยกให้สูงเท่าที่ทำได้
     10. จากเงินกู้ 3 แสนล้าน มีวิธีการใช้อยู่ 8 วิธี ซึ่งเท่าที่ผ่านมาผู้ใช้ยังไม่ค่อยเข้าใจทำโครงการเข้าไปก็เละ ผมอ่านแทบจะไม่รู้เรื่องก็จะทำไกด์ไลน์ออกมาให้เสร็จ
     11. ต้องไปศึกษาการใช้ เดล์ต้า ที่จริงเขาเรียกแหลม ศึกษาให้รู้จักใช้มีประโยชน์ หากไม่รู้จักใช้มีโทษทันที ชาติบ้านอื่นเขารู้จักใช้ แต่เราต้องศึกษาเพราะเป็นความรู้ใหม่ซึ่งประเทศไทยไม่ค่อยเก่งในเรื่องนี้

 

 

 

เขียนข่าว : นางสาวสิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ

ถ่ายภาพ  : นายรัฐพล หงสไกร

 

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป