กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน สทน.เปิดประวัติศาสตร์ 50 ปี วิวัฒนาการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไทย สู่การพัฒนาในทศวรรษหน้า

สทน.เปิดประวัติศาสตร์ 50 ปี วิวัฒนาการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไทย สู่การพัฒนาในทศวรรษหน้า

พิมพ์ PDF

          สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดแถลงข่าว การจัดงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 12 โดยมี ดร.สิรินาฏ  เลาหโรจนพันธ์  รองผู้อำนวยการ สทน. และ รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และประธานกรรมการบริหาร สทน. ร่วมแถลงข่าวการจัดงานในครั้งนี้
         

           การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นการประชุมที่สำคัญของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไทย โดยจัดต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 12 ภายใต้ชื่องาน “กึ่งศตวรรษ  นิวเคลียร์ไทย กับอนาคต ในทศวรรษหน้า” Half century and   Upcoming Decades in Thailand” เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในงานศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีนิวเคลียร์ทุกสาขา ในการเพิ่มพูนความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยและการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ที่ตอบสนองต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ทุกคนในสังคม ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
 

          การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 12 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-7 กรกฎาคม 2553 ณ โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพฯ  โดย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด  และทรงร่วมบรรยายพิเศษให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้ภายในงานได้มีการจัดแสดงนิทรรศการ  การบรรยาย และการเสวนาจากเหล่าวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ  นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์จากนานาประเทศ อาทิ การบรรยายพิเศษจากสถาบันวิจัยพลังงานปรมาณูแห่งสาธารณรัฐเกาหลี หรือ KAERI และองค์การพลังงานปรมาณูแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ JAEA ในหัวข้อ Global Research Reactor utilizations การเสวนาในหัวข้อ แนวโน้มความต้องการการใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้มีการคัดเลือกบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ที่มีผลงานโดดเด่นประจำปี  เพื่อรับมอบโล่รางวัลเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ดีเด่น และนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ดาวรุ่ง รุ่นที่ 12 ซึ่งถือว่าเป็นบุคลากร และเป็นกำลังที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศในภายภาคหน้า
          รศ.ดร.วีระพงษ์  แพสุวรรณ  รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และประธานกรรมการบริหาร สทน. กล่าวว่า การจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 12 นี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและตระหนักถึงความสำคัญในบทบาทของเทคโนโลยีนิวเคลียร์กับการนำมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบันที่มากขึ้น  ซึ่งในยุคที่โลกมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอย่างนี้ เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพัฒนาให้ก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์ก็เป็นอีกเทคโนโลยีที่มีศักยภาพต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้อย่างมายมาก และจะยังพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด 
          ด้าน ดร.สิรินาฏ เลาหะโรจนพันธ์  รองผู้อำนวยการ สทน. กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 12 นี้ ซึ่งถือว่าเป็นงานประชุมที่สำคัญในแวดวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ  ในฐานะที่ สทน.เป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นของการแสวงหาความรู้  ความก้าวหน้าของการศึกษาวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่มากขึ้น การจัดการประชุมในครั้งนี้จะเป็นเวทีให้แก่นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ทั้งในและต่างประเทศ ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในงานวิจัย ซึ่งถือเป็นการเพิ่มพูนความรู้อีกทั้งเกิดการประสานงานระหว่างบุคลากรและหน่วยงานต่าง ๆ ในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไปในอนาคต
          สำหรับกิจกรรมภายในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 12 ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษโดย รองศาสตราจารย์ มลุลี  ตัณฑวิรุฬห์ นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ดีเด่น การบรรยายพิเศษโดย ดร.ดุลยพงศ์  วงศ์แสวง นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ดาวรุ่ง  การบรรยายพิเศษ เรื่องGlobal Research Reactor Utilizations โดย Dr.PARK Cheol สถาบัน Korea Atomic Energy Research Institute ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี  การบรรยายพิเศษ เรื่องGlobal Electron Beam Utilizations  โดย Dr.Tamada Masao สถาบันJapan Atomic Energy Agency ประเทศ ญี่ปุ่นสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น โดย Dr. Takatoshi Takemoto สถาบัน Kyoto  Technology ประเทศญี่ปุ่น การเสวนาหัวข้อ อุบัติภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น กับอนาคตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย
          ผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมสามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ www.nst12.com  หรือติดต่อที่ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) 16 ถ.วิภาวดีรังสิต  ลาดยาว จตุจักร  กรุงเทพฯ 10900  โทร: 02-596-7600 ต่อ 5316   โทรสาร: 02-579-8252 E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน  
 

 

ผู้เขียนข่าว : นายปราโมทย์  ป้องสุธาธาร กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ โทร. 0 2333 3700 ต่อ 3728

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» สทน.เชิญร่วมประชุมนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งสำคัญของไทย พบสุดยอดนวัตกรรมจากทั่วโลก
» ผู้แทนหน่วยกักกันพืชออสซี่ชื่นชมมาตฐาน ศูนย์ฉายรังสี สทน. พร้อมฉายรังสีผลไม้ส่งออกไปออสเตรเลีย
» วท.ยก NQI/MSTQ พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย
» ก.วิทย์ฯ เผยผลสำเร็จ นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เปิดรับผลไม้ฉายรังสีของไทยเข้าประเทศเป็นครั้งแรก
» รมว.วิทย์ฯ นำทีมเยี่ยมชม สทน.นครนายก เน้นเร่งแก้ปัญหาการขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์
» พิเชฐ ย้ำ ให้ สทน. เพิ่มกำลังการฉายรังสีในผลไม้ส่งออก ตามนโยบายท่านนายกรัฐมนตรี
» รมว.วท. เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “สมรภูมิไอเดีย เทคโนโลยีนิวเคลียร์ทั่วไทย”
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป