กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน ครบรอบ 5 ปี สทน. เปิดโครงการ "5 ปี 5 กิจกรรมทำดี" เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุครบ 84 พรรษา

ครบรอบ 5 ปี สทน. เปิดโครงการ "5 ปี 5 กิจกรรมทำดี" เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุครบ 84 พรรษา

พิมพ์ PDF

 

           ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ "5 ปี 5 กิจกรรมทำดี" เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. เพื่อเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุครบ 84 พรรษา ณ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) องครักษ์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2554

 

 

           ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ตลอด 5 ปีของ สทน.ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการแพทย์และในโอกาสที่ สทน.มีอายุครบครึ่งทศวรรษในปี 2554 ซึ่งเป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา สทน.จึงจัดทำโครงการ 5 ปี 5 กิจกรรมทำดีขึ้น เพื่อเป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและร่วมทำประโยชน์ ทำความดีสู่สังคม

 

 

          รมว.วท.กล่าวต่อว่า ในช่วงปลายเดือนมิ.ย.นี้ คาดว่าศูนย์ผลิตเภสัชรังสีแห่งใหม่ของ สทน.จะก่อสร้างแล้วเสร็จซึ่งจะทำให้สามารถผลิตเภสัชรังสีชนิดใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและมาตรฐานได้เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการผู้ป่วยที่รอรับการรักษาอยู่ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่มีรายได้น้อยจะได้สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยใช้เภสัชรังสีได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้ สทน. ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยทางรังสี และการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติงานของ สทน. ด้วย

 

 

โครงการ 5 ปี 5 กิจกรรมทำดี ประกอบด้วย

          1. จัดทำเครื่องตรวจวัดปริมาณสารกัมมันตรังสี จำนวน 84 เครื่อง เพื่อมอบแก่โรงพยาบาลขนาดเล็กใน จ.นครนายกและใกล้เคียง

          2. จัดทำสื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโนยีนิวเคลียร์เพื่อมอบแก่สถานศึกษา

          3. ทำแผ่นประคบร้อนเพื่อมอบให้แก่สถานพยาบาลขนาดเล็ก

          4. มอบพันธุ์ไม้สวยงามให้แก่ชุมชนองครักษ์และใกล้เคียง

          5. ทำเสื้อจำหน่ายเพื่อช่วยผู้ประสบภัยสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น  

 

 

สอบถามราบละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

          สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

          โทร. 037 392 901 - 6 โทรสาร 037 392 913

          หรือ http://www.tint.or.th

 

 

ภาพและข่าวโดย  :  นางสาวศิริลักษณ์  สิกขะบูรณะ

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทร. 0 2333 3732

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» สทน.เชิญร่วมประชุมนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งสำคัญของไทย พบสุดยอดนวัตกรรมจากทั่วโลก
» ผู้แทนหน่วยกักกันพืชออสซี่ชื่นชมมาตฐาน ศูนย์ฉายรังสี สทน. พร้อมฉายรังสีผลไม้ส่งออกไปออสเตรเลีย
» วท.ยก NQI/MSTQ พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย
» กระทรวงวิทย์ฯ ครบ 36 ปี “พิเชฐ” ชูธงใช้ วทน.เชื่อม 20 กระทรวงให้เดินไปด้วยกันในทุกมิติ
» ขอเชิญเจ้าหน้าที่ วท. เข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2558
» ก.วิทย์ฯ เผยผลสำเร็จ นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เปิดรับผลไม้ฉายรังสีของไทยเข้าประเทศเป็นครั้งแรก
» รมว.วิทย์ฯ นำทีมเยี่ยมชม สทน.นครนายก เน้นเร่งแก้ปัญหาการขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป