กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน สวทน. กระทรวงวิทย์ฯ จัดประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์

สวทน. กระทรวงวิทย์ฯ จัดประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์

พิมพ์ PDF

สู่การจัดทำนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมฉบับแรกของชาติ


ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับมอบหมายจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้เป็นประธานกล่าวเปิดงาน “การประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ ๙ และปาฐกถาพิเศษ “ประเทศไทยก้าวไกล ก้าวทัน ก้าวหน้า ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม”   รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของประชาชน  ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2554 จากปาฐกถาพิเศษนั้นสามารถสรุปสาระสำคัญดังนี้         
 


          สำนักงานพัฒนาคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดงานสำคัญระดับชาตินี้เพื่อนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ให้เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนยุทธศาสตร์กระทรวง ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า โดยมีวิสัยทัศน์มุ่งสู่  “นวัตกรรมสีเขียว เพื่อเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างสังคมที่มีคุณภาพ” ภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์
        ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดทำแผน วทน. ระดับชาติฉบับแรกที่ต้องระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมไทย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคชุมชน ภาคประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อที่กระทรวงฯ จะได้นำความคิดเห็นเหล่านั้นไปปรับปรุงแผน วทน. ให้สอดคล้องกับความต้องการของพี่น้องประชาชน  


         1. กรอบแนวความคิดในการจัดทำแผน วทน. ฉบับแรก ในส่วนนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึง วทน. ใน 3 มิติ คือ วทน เป็นเรื่องใกล้ตัวและเกี่ยวข้องกับทุกคน โดยเน้นที่การสร้างความตระหนักด้าน วทน. และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน      วทน. ใส่ใจกับปัญหาของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาของพี่น้องประชาชนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่อาศัยอยู่ในชนบทและประกอบอาชีพทางการเกษตร  มิติสุดท้ายคือ กลไกในการขับเคลื่อน วทน.  กระทรวงวิทย์ฯ ได้มีการดำเนินงานผ่านเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกับกระทรวงทบวงกรม กลุ่มภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และได้สนับสนุนการจัดตั้งอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อสวท.)  เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างกระทรวงวิทย์ฯ เข้ากับภูมิภาคและชุมชน เพื่อรับฟังปัญหาของประชาชน รวมทั้งนำ วทน. ไปใช้ประโยชน์ในชุมชน โดยในวันนี้มหาวิทยาลัยทั้ง 7 แห่ง(มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยกำแพงแสน) ใน 7 ภูมิภาคจะทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงผ่านระบบ  VDO Conference

         2. แผน วทน. ให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง แผนนี้ให้ความสำคัญกับ 3 สร้าง คือ การสร้างเศรษฐกิจ โดยการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้วย วทน. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีระดับไม่ต่ำกว่า 25 ของโลก (IMD) การสร้างสังคมให้มีภูมิคุ้มกัน สร้างสังคมรักษ์ธรรมชาติพิชิตโลกร้อน      และสุดท้าย คือ การสร้างคน โดยเฉพาะอย่างบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีอยู่ตลอดเวลา โดยกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนสนใจเรียนสายวิทย์  สร้างระบบการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ที่ดี พร้อมทั้งสร้างสายอาชีพด้านนี้ให้มีความมั่นคงและเป็นที่ยอมรับในสังคม

         3. การขับเคลื่อนแผนนี้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ควรทำอย่างไร  หัวใจอยู่ที่การวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคม  ในเรื่องนี้มี 3 ตัวเลขที่สำคัญ คือ การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนด้าน R&D ต่อ GDP จาก 0.20% เป็น 1% ใน 5 ปีข้างหน้าและขยับเป็น 2% ในอีก 10 ข้างหน้าเมื่อสิ้นสุดแผนนี้  ส่วนการเพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยนั้นมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจาก 6 คนต่อประชากร10,000  เป็น 15 คน ในอีก 5 ปี และท้ายที่สุดมีจำนวนนักวิจัย 25 คนต่อประชากร 10,000 คน ในอีก 10 ปีข้างหน้านี้  ส่วนตัวเลขสุดท้ายคือ การเพิ่มสัดส่วนการลงทุน R&D ของภาคเอกชนต่อภาครัฐให้สูงขึ้น จากเดิมที่ภาครัฐมีการทำวิจัยที่สูงกว่าภาคเอกชนให้กลายเป็นภาคเอกชนลงทุนกว่ารัฐ โดยให้เปลี่ยนจาก 60:40 เป็น 30: 70 ใน 5 ปีข้างหน้านี้

 

 

           ท้ายที่สุดนี้การรับฟังการชี้แจงและแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อร่างนโยบายและแผนระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม พ.ศ. 2555-2564 ในวันนี้จะทำให้แผนฉบับนี้เป็นแผนที่ท่านและประชาชนชาวไทยทุกคนร่วมเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง

 

 

เผยแพร่โดย : ชัชวาลย์ โบสุวรรณ

 
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป