กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน โครงการการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น

โครงการการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น

พิมพ์ PDF

ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล

          เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จเยือนเซิร์น (CERN:The European Organization for Nuclear Research) ในวันที่ 16 มนาคม 2552 นั้นได้มีการลงนามในเอกสารแสดงเจตจำนงที่จะมีความร่วมมือกัน (Expression of Interest  (EOI)) ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (Synchrotron Light Research Institute, SLRI) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยกับเซิร์น  (Institutes of CMS Collaboration at the European Organization for Nuclear Research (CERN)) สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้เพื่อสนองแนวพระราชดำริที่ทรงมีพระประสงค์ที่จะ เสริมสร้างความรวมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทยกับ เซิร์น ในการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพด้านฟิสิกส์ให้แก่ เด็ก เยาวชน ครู และนักวิจัยไทย

          ในการวางแผนการดำเนินงานตามเอกสารแสดงเจตจำนง (EOI)  ดังกล่าว ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ และ รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ซึ่งได้ร่วมตามเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในครั้งนั้น ได้หารือร่วมกันและเสนอให้มีการ ประชุมกับผู้ที่เกี่ยวของและ/หรือผู้ที่เคยทำงานสนองพระราชดำริในเรื่องที่ใกล้เคียงกันนี้ โดยมีการประชุม 3 ครั้ง (เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552,วันที่ 6 สิงหาคม 2552 และวันที่ 2 กันยายน 2552 ตามลำดับ) ที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะให้เริ่มดำเนินการ ภายในปี 2010 (พ.ศ. 2553) โดยเริ่มจากการส่งนักศึกษาไปเข้าร่วมใน CERN ‘s Summer Student Programme และส่งครูสอน ฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรม Physics High School Teacher  Programme ก่อน เพราะน่าจะทำได้เร็ว เนื่องจาก การดำเนินงานมีส่วนคล้ายคลึงกับโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี่  (DESY)  ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถดำเนินการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากสิ่งที่เคยทำมาได้     ในเบื้องตน ที่ประชุมได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดหา งบประมาณเพอมาสนับสนุนการดำเนินงานตาม EOI ดังกล่าว (โดยรวมประมาณ 1.2 ล้านบาทถ้วน) ว่าควรจะเป็นความร่วมมือ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนฟิสิกส์ ในสัดสวนที่ เท่ากัน ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ ,สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน),สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

          ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานฯ อันประกอบด้วยผู้แทนจากสถาบันต่าง ๆ จึงได้รวมกันจัดทำโครงการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนของเซิร์นขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ของไทยได้มี โอกาสเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถด้านฟิสิกส์  ซึ่งประเทศไทยเองยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้หรือจบมา ในสาขานี้โดยตรงอีกมาก ดังนั้น การส่งนักศึกษาและครูไทยไปเขาร่วมโครงการดังกล่าวน่าจะเป็นแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมการ พัฒนาบุคลากรสาขานี้ทั้งด้านปรมาณูและคุณภาพสาหรับอนาคตด้วย 
 

วัตถุประสงค์ของโครงการ
          1. Summer Student Programme สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ในสาขาฟิสิกส์
                    1.1 เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเขาฝึกอบรมความรู้ทางด้าน ฟิสิกส์ในรูปแบบของสหวิทยาการ ผสมผสานกับบรรยากาศของวัฒนธรรมที่หลากหลายของนักศึกษาที่เข้า่ร่วมโครงการ และยังได้มีโอกาสเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลก
                    1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเขาร่วมทำงานกับนักวิจัยฟิสิกส์ระดับโลกจากสถาบันเครือข่ายของเซิร์น ซึ่งถือเป็นองค์กรชั้นนำของโลกในด้านฟิสิกส์อนุภาค (Particle Physics)  และฟิสิกส์เครื่องเร่งอนุภาค ( Accelerator Physics) 
                    1.3 เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าเรียนวิชาที่เปิดสอนเป็นพิเศษสำหรับภาคฤดูร้อนและทำงานวิจัยร่วมกับนักฟิสิกส์ชั้นนำของโลก
          2. Physics High School Teacher Programme สำหรับครูสอนวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษา
                    2.1 เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์   ในระดับมัธยมศึกษา
                    2.2 เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างครูในระดับนานาชาติ
                    2.3 เพื่อเปิดโลกทัศนของครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ไปสู่งานวิจัยระดับโลก
                    2.4 เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างเซิร์นและหน่วยงานวิจัยของไทยที่เกี่ยวของหรือทีมงานวิจัยที่สอดคล้องกับของเซิร์น ในระยะต่อไป

 

เป้าหมาย
          1.  คัดเลือกนักศึกษาระดับปริญญาตรี  และบัณฑิตศึกษา ที่มีคุณสมบติเหมาะสม จำนวน 2 คน
          2.  คัดเลือกครูสอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาที่มีคุณสมบติเหมาะสม จำนวน 2 คน
ในการคัดเลือก คณะกรรมการจะคัดเลือกนักศึกษาและครูที่มีศักยภาพ คุณสมบติและจำนวนที่เหมาะสมก่อน  จากนั้นจึง นำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงคัดเลือกนักศึกษา 2 คนและครู 2 คน ที่จะ เป็นตัวแทนของประเทศไทยไปเขาร่วมโปรแกรมของเซิร์นต่อไป

 

การดำเนินการ

          สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จึงได้ร่วมกับ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดทำโครงการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น โดยคัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ที่มีศักยภาพและคุณสมบัติเหมาะสมในชั้นต้น แล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงคัดเลือกนักศึกษา 2 คน และครูสอนฟิสิกส์ 2 คน ในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งในปี 2553 นี้นับเป็นเป็นปีแรกที่มีตัวแทนนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ ที่จะได้เข้าร่วมกิจกรรม ณ เซิร์น ได้แก่

 

• โครงการครูสอนฟิสิกส์  ภาคฤดูร้อนเซิร์น เข้าร่วมโปรแกรม ณ เซิร์น ระหว่างวันที่ 4-24 กรกฎาคม 2553
 

  

1. น.ส.พิมพร  ผาพรม  จากโรงเรียน ท่าคันโทวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์

  “การได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการครูฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์นครั้งนี้  นับเป็นโอกาสสำคัญยิ่งที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวิจัยสาขาฟิสิกส์ในองค์กรระดับโลก  อีกทั้งยังมีการเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ร่วมกับเพื่อนครูจากทั่วโลก  อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ข้าพเจ้าเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นกำลังใจและแรงบันดาลใจที่ดีแก่ครูฟิสิกส์ทั่วประเทศ  ให้เกิดความมุ่งมั่นและกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองและพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป”
 

 

   2. น.ส.สุพัตรา  ทองเนื้อห้า  จากโรงเรียน ทุ่งสง  จ.นครศรีธรรมราช

   
"การได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการครูสอนฟิสิกส์ ภาคฤดูร้อนเซิร์น ในครั้งนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชทานโอกาสให้ครูฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาได้มีโอกาสศึกษาดูงาน ณ สถานบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก CERN ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างครูในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ของครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ไปสู่งานวิจัยระดับโลก  ข้าพเจ้าจะเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยต่อไปในอนาคต"
 

 

•    โครงการนักศึกษา  ภาคฤดูร้อนเซิร์น เข้าร่วมโปรแกรม ณ เซิร์น ระหว่างวันที่  29 มิถุนายน – 20 สิงหาคม 2553

     1. นายฐาปกรณ์  ภู่ลำพงษ์  ปริญญาตรีปีที่ 4 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (เกรดเฉลี่ย 3.94 )

  “ข้าพเจ้ารู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับข้าพเจ้า โดยการเข้าร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์นซึ่งนับเป็นสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีความก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่ง จะเป็นการเพิ่มศักยภาพและประสบการณ์อันมีค่าให้กับข้าพเจ้า ซึ่งทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับจากโครงการนี้จะเป็นหนึ่งก้าวที่สำคัญของเป้าหมายในการพัฒนาประเทศไทยในด้านวิทยาศาสตร์ของข้าพเจ้าต่อไป”
 

 

   2. นายอภิมุข  วัชรางกูร ปริญญาตรีปีที่ 4 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เกรดเฉลี่ย 3.65 )

  "ดีใจมากที่ได้รับคัดเลือกไปเซิร์น เพราะเซิร์นเป็นสถาบันที่ทำงานวิจัยในด้านที่ข้าพเจ้าสนใจมากอยู่แล้ว ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้ วิชาการทางด้านฟิสิกส์พลังงานสูง และเรียนรู้วิธิการทำงานของนักฟิสิกส์ระดับแนวหน้าของโลก ซึ่งจะเป็นความรู้สำหรับการพัฒนาแนวทางการจัยในสาขานี้ของประเทศไทยได้"
     

 สิ่งที่นักศึกษาและครูฟิสิกส์ไทยจะได้รับ
          1. ได้เข้าศึกษาดูงาน และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)  จ.นครราชสีมา และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงก่อนการเดินทางไปร่วมกิจกรรม ณ เซิร์น
          2. ได้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการวิจัยกับเซิร์น ณ ประเทศสมาพันธรัฐสวิส (ประมาณ 8 สัปดาห์สำหรับโปรแกรมนักศึกษาภาคฤดูร้อน และ 3  สัปดาห์สำหรับโปรแกรมครูสอนฟิสิกส์ )
          3. ได้รับสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบินไป – กลับ, ค่าที่พัก , ค่าประกันชีวิต และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพในช่วงเข้าร่วมกิจกรรม  ซึ่งเป็นการสนับสนุนโดย  4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


ข้อผูกพัน
          ผู้ได้รับคัดเลือกจะต้องส่งรายงานการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1 เล่ม และนำเสนอผลการเข้าร่วมกิจกรรมต่อคณะกรรมการหลังการเดินทางกลับมาแล้ว


คุณสมบัติของผู้สมัครโครงการนักศึกษา ภาคฤดูร้อนเซิร์น
          1. สัญชาติไทย
          2. เป็นนิสิต/นักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปริญญาตรีปีที่ 4 หรือบัณฑิตศึกษาปีที่ 1 ที่ศึกษาอยู่ในประเทศไทย
          3. อายุไม่เกิน 25 ปี ในวันที่ปิดรับสมัคร
          4. ศึกษาอยู่ในสาขาวิชาฟิสิกส์
          5. ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดีมาก (สามารถสื่อสารในการพูด ฟัง อ่าน เขียนได้เป็นอย่างดี)
          6. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ


คุณสมบัติของผู้สมัครโครงการครูสอนฟิสิกส์ ภาคฤดูร้อนเซิร์น
          1. สัญชาติไทย
          2. เป็นครูที่สอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านฟิสิกส์พลังงานสูง (High-energy physics) มาก่อน) และสอนอยู่ในประเทศไทย
          3. ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดีมาก (สามารถสื่อสารในการพูด ฟัง อ่าน เขียนได้เป็นอย่างดี)
          4. มีทักษะพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ (สามารถใช้อินเทอร์เน็ต,  รับ-ส่ง e-mail,  และค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ได้)
          5. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ
          6. ผู้สมัครต้องสมัครผ่าน e-mail
          7. มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อประกอบการพิจารณา โดยจะรับผล TOEFL, IELTS, และ CU-TEP และคณะกรรมการจะมีการสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษด้วย


ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมของโครงการ
 
          3 ปี ระหว่างเดือนมีนาคม 2552 ถึง กรกฎาคม 2555

 
 
   


คณะกรรมการโครงการฯ
          ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์(องค์การมหาชน) และจากสถาบันต่างๆ โดยมีภาระหน้าที่ในการวางหลักการการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครทุน ดำเนินการประกาศ รับสมัคร และคัดเลือก ผู้สมัครจากผู้รับทุน และนำรายชื่อที่เหมาะสม ขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้าย ตลอดจนการติดตามและประเมินผลโครงการ

          1.  นายไพรัช  ธัชยพงษ์    ประธานกรรมการ
          2.  คุณหญิงสุมณฑา  พรหมบุญ    กรรมการ
          3.  นางจงอร  พีรานนท์    กรรมการ
          4.  นายถิรพัฒน์  วิลัยทอง    กรรมการ
          5.  นายวีระพงษ์  แพสุวรรณ     กรรมการ
          6.  นายบุญรักษา   สุนทรธรรม    กรรมการ
          7.  นางสาวมรกต  ตันติเจริญ    กรรมการ
          8.  นางชฎามาศ  ธุวะเศรษฐกุล    กรรมการ
          9.  นายสุทัศน์  ยกส้าน    กรรมการ
          10.นายประยูร  ส่งสิริฤทธิกุล    กรรมการ
          11.นายบุรินทร์  อัศวพิภพ    กรรมการ
          12.นายปิยวุฒิ  ศรีชัยกุล    กรรมการ
          13.ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน)    กรรมการ
          14.นางสาวศศิพันธุ์  ไตรทาน    กรรมการและเลขานุการ
          15.นางสาวมยุรี  วัฒนกุลจรัส    กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
 

พื้นที่ดำเนินการ

 

 

งบประมาณ
          จำนวน  1,200,000 บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาทถ้วน) โดยสถาบันวิจัยแสงซนโครตรอน (องค์การมหาชน) ในฐานะผู้ ลงนามในเอกสารแสดงเจตจำนง (EOI) กับเซิร์น  เป็นฝ่ายเลขานุการของโครงการฯ จะขอเงินสนับสนุนจากองค์กรเครือข่ายรวม 4 องค์กรในสัดส่วนเท่ากัน ดังนี้
          สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยแห่งชาติ (สวทช.)          300,000 บาท
          สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)               300,000 บาท
          ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านฟิสิกส์ (ศฟ.)                                      300,000 บาท
          สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)  (สซ.)                   300,000 บาท

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
           1. นักศึกษา นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ไทยในสาขาฟิสิกส์ได้มีโอกาสเรียนรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่  ๆ  จาก ประสบการณ์ของนักวิจัย และ/หรือนักวิทยาศาสตร์ของเซิร์น 
          2. ผู้แทนประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการ  ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาถ่ายทอดและจุดประกายให้กับบุคคลใน สังคม เช่น  เด็กและเยาวชน ครูอาจารย์ และนักวิจัย เป็นตน
          3. เกิดความร่วมมือพันธมิตรในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ของนักศึกษาไทย และครูรุ่น ใหม่  ระหว่างหน่วยงานเครือข่ายในประเทศกับองค์กรระดับโลก

 

แนวทางการนำผลงานไปใช้ประโยชน์

          เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยสาขาฟิสิกส์ในประเทศไทย  นักศึกษาและครูมีพัฒนาการที่สามารถต่อยอดงานในสาขาฟิสิกส์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคตของไทย นอกจากนี้ ยังเป็นการขยายโอกาสในการแข่งขันบนเวทีโลกได้อีกด้วย
 

ผู้รับผิดชอบ

          นางสาวศศิพันธุ์  ไตรทาน
          โทรศัพท์    044-217-040  ต่อ 1111
          สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)    กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

หน่วยงานรับผิดชอบ : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
  111 อาคารสุรพัฒน์ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  ถ.มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
  โทรศัพท์ 0 4421 7040
  โทรสาร 0 4421 7047
  (หน่วยประสานงานกรุงเทพมหานคร) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  เลขที่ 75/47 ถ.พระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
  โทรศัพท์ 0 2354 3954
  โทรสาร 0 2354 3955
  เว็บไซต์ http://www.slri.or.th

 


 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» โครงการจัดทำแผนที่ออนไลน์ระบบนิเวศและเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่า ชายเลนและชายฝั่ง บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
» โครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศพระราชกรณียกิจผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
» โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี่
» โครงการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป