กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน “คลองประสงค์” ตัวอย่างหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้นแบบอุตสาหกรรมข้าวชุมชนไร้ของเสีย

“คลองประสงค์” ตัวอย่างหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้นแบบอุตสาหกรรมข้าวชุมชนไร้ของเสีย

พิมพ์ PDF

(25 เมษายน 2552) ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำทีมผู้บริหารและสื่อมวลชน เปิดตัวหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พื้นที่แรก โดยเน้นต้นแบบอุตสาหกรรมข้าวชุมชนแบบไร้ของเสีย ณ บ้านเกาะกลาง ต.คลองประสงค์ อ.เมือง จ.กระบี่ มั่นใจเห็นผลภายใน 6 เดือน

 

 

 

 

 

 

 

 

             ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เปิดเผยว่า “กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริม/กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทุกระดับ โดยตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ดังนั้น การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาศักยภาพให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตน เองได้โดยน้อมนำกระแสพระดำริและพระราชดำรัสแนวเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้การพัฒนาชุมชนสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืนได้  ทั้งนี้ โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ต้นแบบอุตสาหกรรมข้าวชุมชนแบบไร้ของเสีย นี้ได้นำเทคโนโลยีส่วนหนึ่งที่เป็นผลงานจากโครงการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตด้วยวิศวกรรมย้อนรอย หรือที่เรียกว่า Reverse Engineering ของสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ

             สำหรับเหตุผลที่เลือกดำเนินการที่ ต.คลองประสงค์ อ.เมือง จ.กระบี่ ให้เป็นหนึ่งในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น  ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า “หมู่ บ้านดังกล่าวมีความเข้มแข็งมาก ชุมชนมีความเป็นหนึ่งเดียว โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ลักษณะพื้นที่คล้ายเกาะมีน้ำล้อมรอบเกือบทุกด้าน   มีทั้งหาดทรายและหาดเลน  ทั้ง ยังมีแผ่นดินซึ่งเหมาะกับการทำเกษตร โดยเฉพาะการทำนา ดังนั้น อาชีพของคนในพื้นที่จึงผสมผสานระหว่างการทำประมงชายฝั่งและการเกษตร คนในชุมชนมีความพร้อมและยินดีเข้าร่วมโครงการ  ทั้งนี้ เรามีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นหมู่บ้านที่มีเกษตรกรปลูกข้าวจำนวน 50 รายขึ้นไป และแต่ละรายต้องมีพื้นที่ปลูกข้าวไม่น้อยกว่า 10 ไร่ และรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการน้ำที่ดี ต ลอดจนหมู่บ้านสามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการ  มั่นใจว่าโครงการนี้สำเร็จแน่นอนภายใน 6 เดือน และจะเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป”

             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวอีกว่า  กระบวนการผลิตข้าวแบบไร้ของเสียอย่างครบวงจรนั้น จะใช้เทคโนโลยีตั้งแต่ การเพิ่มผลผลิต (ใช้จุลินทรีย์สลายตอซัง ทำให้เกิดปุ๋ย ปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีขึ้น) การลดต้นทุนการผลิต (แปร รูปข้าวและผลิตภัณ์จากข้าว) รวมถึงการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งจากกระบวนการสีข้าว เช่น รำข้าว ฟางข้าว แกลบฯลฯ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีการเก็บรักษาข้าวให้มีคุณภาพด้วยไซโลพลาสติก  ระบบ โรงสีข้าวชุมชนขนาดเล็ก เครื่องหีบน้ำมันรำ เรื่องอัดก้อนเศษวัสดุ รวมทั้งเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงแข็งจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นต้น ทั้งนี้ จะมีหน่วยงานร่วมดำเนินการประกอบด้วย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เช่น สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สสนก.  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกระบี่  ศูนย์ วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกระบี่ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จ.กระบี่ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง

            ทั้งนี้ นายกิตติ  พรหม ภัทร นายก อบต.คลองประสงค์ ได้นำชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นไทยมุสลิม ต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และคณะ ด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง โดยนายกิตติกล่าวว่า “ชาวตำบลคลองประสงค์รู้สึกยินดี และภูมิใจอย่างยิ่งที่มีบุคคลระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เดินทางมาเยี่ยมในพื้นที่ และถือเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ลงมาในหมู่บ้านดังกล่าว อีกทั้งท่านไม่ได้ลงมามือเปล่าแต่ยังนำความรู้ และเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาหมู่บ้านของเราอีกด้วย”

             ด้าน ขอบเขตการดำเนินงานต่างๆ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในพื้นที่ดังกล่าว หลังคัดเลือกพื้นที่แล้ว ประกอบด้วยกิจกรรม ได้แก่ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวแบบไร้ของเสีย เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ดข้าวพันธุ์ดี การปลูก การเก็บเกี่ยว การลดต้นทุน เทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว การจัดการของเสีย  หลังจากนั้น จัดหาเครื่องจักรที่พัฒนาสร้างภายใต้โครงการวิศวกรรมย้อนรอยใช้ในกระบวนการผลิต อาทิ ไซโลเก็บข้าว  ระบบโรงสีขนาดเล็กสำหรับชุมชน  เครื่องเกี่ยวข้าวอัตโนมัติ เครื่องผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ เครื่องสกัดน้ำมันรำข้าว เครื่องบรรจุหีบห่อ   โดยฝึกอบรมให้สมาชิกชุมชนสามารถใช้และบำรุงรักษาเครื่องจักร ฝึกอบรมการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนพร้อมเป็นที่ปรึกษา  จน สุดท้ายคือการประเมินสรุปผลโครงการโดยแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าภายหลังนำ วิทยาศาสตร์ฯ เข้าไปในชุมชนแล้วเกิดประโยชน์อะไรขึ้นบ้างโดยเฉพาะการสร้างงาน สร้างเงิน และคุณภาพชีวิต  ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป