กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทยEnglish
หน้าหลัก ข่าวสารหน่วยงาน โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับโครงการพระราชดำริบ้านปางตอง

โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับโครงการพระราชดำริบ้านปางตอง

พิมพ์ PDF

ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล

          แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมแห่งสหภาพเมียรมาร์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนมีพื้นที่ราบน้อย   การคมนาคมไม่สะดวก ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย มีอาชีพทำไร่เลื่อนลอย การเลี้ยงสัตว์ หาของป่า รับจ้างขนยาเสพติด เสบียงอาหารและยุทธปัจจัยตามบริเวณแนวชายแดน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยราษฎรและความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศ จึงได้มีพระราชดำริให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการและพัฒนาอาชีพเพื่อพัฒนาและ ส่งเสริมให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2522   เป็นต้นมา โครงการพัฒนาตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงได้ตั้งขึ้นและดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์คือ
          1. เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่โครงการให้ดีขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม
          2. เพื่ออนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ อันได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ และสัตว์ป่า ให้อุดมสมบูรณ์ตลอดไป
          3. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้เกิดตามแนวชายแดน
          ทั้งนี้ได้จัดตั้งเป็นศูนย์ย่อยตามภารกิจและลักษณะงาน พื้นที่ดำเนินงาน ออกเป็น  7  ศูนย์ คือ
          1. ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดำริ
          2. ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตอง ตามพระราชดำริ
          3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาในสอย ตามพระราชดำริ
          4. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาห้วยมะเขือส้ม ตามพระราชดำริ
          5. ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอนในพระบรมราชินูปถัมภ์
          6. ศูนย์บริการและพัฒนาห้วยโป่ง
          7. ศูนย์ศิลปาชีพบ้านห้วยเดื่อ
          ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตอง ตามพระราชดำริ อำเภอหมอกจำแป๋ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาสูงมีพื้นที่ทำการเกษตรน้อย ประชาชนใช้พื้นที่ตามไหล่เขาทำการเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ เป็นชาวไทยใหญ่ และชาวไทยใหญ่ที่ราบที่ขึ้นไปอาศัยอยู่ มีจำนวนทั้งสิ้น 25 หลังคาเรือน เป็นชาย 41 คน หญิง 44 คน รวม 85 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานในศูนย์
 



รูปที่ 1 ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตอง ตามพระราชดำริ


          โรงเรียนร่มเกล้าปางตอง เป็นโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้น อนุบาล 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนจำนวน 299 คน นอกจากงานด้านการเรียนการสอนแล้ว ทางโรงเรียนได้ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ศาสนา พลังงาน
       

รูปที่ 2 กิจกรรมของโรงเรียนร่มเกล้าปางตอง


          จากการสำรวจพื้นที่ วันที่ 23 กรกฎาคม 2553 ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสอบถาม และสำรวจสภาพทั่วไปในพื้นที่โครงการฯ โดยเน้นที่โรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของชุมชน และมีเยาวชนเข้ามารับการศึกษา โดยพบว่า โรงเรียนมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านการเกษตร และการเลี้ยงสัตว์  และมีการประกอบอาหารกลางวันรับประทานในโรงเรียน ซึ่งต้องซื้อเชื้อเพลิง ดังนั้นจึงควรสนับสนุนงานของโรงเรียน

 

รูปที่ 3 การเยี่ยมชมสถานที่ และลักษณะของเตาหุงต้มของโรงเรียน


          ดังนั้นโครงการนี้จึงมุ่งนำพลังงานทดแทนที่มีในโรงเรียนมาใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานของโรงเรียน สร้างองค์ความรู้ทางด้านพลังงานทดแทนให้กับคณะครู อาจารย์ บุคลากร และนักเรียนในโรงเรียน รวมถึงประชาชนทั่วไปที่อยู่รอบโรงเรียน และที่อยู่ในพื้นที่โครงการฯ
          จากองค์ประกอบ และกิจกรรมต่างๆ สามารถดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของโรงเรียนมีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานของโรงเรียนลง
          ดังนั้นแนวการดำเนินงานหลักของโครงการจึงประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
          1. พัฒนา สนับสนุน เทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่มีความเหมาะสมกับโรงเรียน ทั้งด้านแหล่งพลังงาน และการนำไปใช้ประโยชน์ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
          - เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (การทำน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์)
          - เทคโนโลยีการสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวล  
          2. ปรับปรุงระบบพลังงานเดิมที่มีของโรงเรียน
          - พบว่าโรงเรียนมีระบบเตาประกอบอาหาร  ดังนั้นในส่วนนี้จึงจะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระบบเดิมให้สามารถใช้งานได้ตามปรกติ โดยใช้ เทคโนโลยี พลังงานชีวมวล สำหรับการประกอบอาหารของโรงเรียน (เทคโนโลยีเตาชีวมวล) 
 


รูปที่ 4
เทคโนโลยีพลังงานชีวมวล สำหรับการประกอบอาหารของโรงเรียน (เทคโนโลยีเตาชีวมวล) 

 

 
          รูปที่ 5 ระบบสกัดน้ำมันหอมระเหย    รูปที่ 6 การทำน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบประหยัด
 

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล และการสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยใช้พลังงานชีวมวล
          2. เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงในการประกอบอาหารของโรงเรียน
          3. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการพัฒนาพลังงานทดแทน ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน โรงเรียน และสามารถใช้งานได้จริงเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

 

กิจกรรมและแผนการดำเนินงาน     
          กิจกรรมที่ 1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์แบบประหยัด
          กิจกรรมที่ 2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้เตาแก๊สชีวมวลสำหรับครัวเรือน
          กิจกรรมที่ 3. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันหอมระเหย

 

ผลการดำเนินงานปี 2553
          กิจกรรมที่ 1 การประเมินศักยภาพทางด้านพลังงานของโรงเรียน
          จากการสำรวจพื้นที่เบื้องตนพบว่าโรงเรียนเปิดดำเนินการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีจำนวนนักเรียน 210  คน ซึ่งแบ่งเป็นนักเรียนที่มาอยู่ประจำจำนวน 155  คน และที่มาเรียนแบบไปเช้าเย็นกลับ 55 คน การผลิตอาหารสาหรับบริโภคนั้นทางโรงเรียนจะใช้วิธีการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารกลางวันส่วนของข้าวนั้นจะใช้วิธีการซื้อข้าวเปลือกแล้วนำมาสีเองเพื่อให้ได้ทั้งแกลบและรำข้าวซึ่งรำข้าวนั้นจะใช้เป็นอาหารของปลาและหมู และยังมีการใช้มูลสัตว์ในการผลิตก๊าซชีวภาพอีกด้วย

 

รูปที่ 7 โรงเรียนร่มเกล้าบ้านปางตอง

 

 

รูปที่ 8  การใช้ชีวมวลในการหุงข้าวของนักเรียน

 




รูปที่ 9  การเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารกลางวัน (ศักยภาพด้านแก๊สชีวภาพ)

 

 

  

 

    
รูปที่ 10  ศักยภาพเชื้อเพลิงชีวมวลภายในโรงเรียน  (วันละประมาณ 2 ถัง  (150 ลิตร))

 

          กิจกรรมที่ 2 การประชุมชี้แจงโครงการเบื้องต้นและสาธิตการใช้เตาแก๊สชีวมวล
          โครงการได้เข้าไปประชุมชี้แจงโครงการเบื้องต้นแก่คณะครูและนักเรียน รวมทั้งการนำเตาแก๊สชีวมวลเชื้อเพลิงแกลบไปสาธิตและอบรมการใช้งานเบื้องต้นให้กับนักเรียน

 

รูปที่ 11 การสาธิตและอบรมการใช้เตาแก๊สชีวมวลเชื้อเพลิงแกลบ
 

สรุปผลการดำเนินงาน
          การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยสำหรับโครงการพระราชดำริบ้านปางตองอยู่ในขั้นการจัดกิจกรรม ในเบื้องตนได้เข้าไปจัดกิจกรรมแล้ว 2 กิจกรรมคือการสำรวจและประเมินศักยภาพด้านพลังงานโรงเรียน และการอบรมการใช้เตาแก๊สชีวมวลเชื้อเพลิงแกลบกับนักเรียน ซึ่งนักเรียนและครูมีความสนใจกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ โดยโรงเรียนจะมีการจัดเป็นชมรม
ด้านพลังงานและจัดหน่วยเรียนรู้ด้านพลังงานในหลักสูตรของนักเรียน  สำหรับกิจกรรมอื่น ๆ โครงการจะได้รับดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปี 2553  ในปี 2554 โครงการพระราชดำริบ้านปางตองเสนอแนะใหม่การขยายผลการดำเนินงานไปในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโครงการพระราชดำริ 2 โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองเขียวและโรงเรียนเสรีวิทยา

 

งบประมาณ
          วงเงินงบประมาณ จำนวน 740,107 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน
          1. โรงเรียนร่มเกล้าปางตอง ตำบลหมอกจำแป๋ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
          2. ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตอง ตามพระราชดำริ ตำบลหมอกจำแป๋ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ระยะเวลาดำเนินงาน
        ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
          1. ต้นแบบการใช้เตาแก๊สชีวมวลระดับ โรงเรียน/หมู่บ้าน เพื่อลดการใช้ฟืนและแก๊ส LPG ในการประกอบอาหาร  
          2. แนวทางการลดปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาในที่โล่งแจ้ง ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นแก๊สชีวมวลทดแทน LPG ในครัวเรือน
          3. ได้ระบบกลั้นน้ำมันหอมระเหยโดยใช้พลังงานชีวมวล

 

หน่วยงานรับผิดชอบ
          หน่วยงานดำเนินงาน    ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
          หน่วยงานสนับสนุน      สำนักงานพลังงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน
                                       วิทยาลัยการอาชีพแม่ฮ่องสอน
                                       ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
                                       ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน

          หน่วยงานสนับสนุนงบประมาณ   กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

ผู้รับผิดชอบ
          1. นายคณิต  ถิรวณิชย์  นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับชำนาญการพิเศษ
          สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
          โทรศัพท์ 02 333 3919
          โทรสาร 03 333 3931
          e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
          2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ  ดุษฎี
          ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
          มหาวิทยาลัยแม่โจ้
          โทรศัพท์ / โทรสาร  053 878 333

 

หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  ถ.พระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
  โทร. 0 2 333 3700 Call Center 1313
  โทรสาร 0 2 333 3833
  เว็บไซต์ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับโครงการพระราชดำริบ้านปางตอง

 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
» โครงการจัดทำแผนที่ออนไลน์ระบบนิเวศและเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่า ชายเลนและชายฝั่ง บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
» โครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศพระราชกรณียกิจผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
» โครงการการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น
» โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี่
» โครงการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
» โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน่วยงานในสังกัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป